คิงส์คอลเลจลอนดอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ราชวิทยาลัยแห่งลอนดอน)
คิงส์คอลเลจลอนดอน
King's College London
ตราประจำมหาวิทยาลัย
คติพจน์Sancte et Sapienter
คติพจน์อังกฤษ
With Holiness and Wisdom
(ด้วยความศักดิ์สิทธิ์และปัญญา)
ประเภทมหาวิทยาลัยวิจัยของรัฐ
สถาปนา1829; 195 ปีที่แล้ว (1829)
สังกัดการศึกษาUniversity of London
Russell Group (กลุ่มรัสเซล)
Golden Triangle
อธิการบดีพระราชกุมารี
(ในฐานะอธิการบดีของมหาวิทยาลัยลอนดอน)
อาจารย์ใหญ่เอ็ดเวิร์ด เบิร์น
ที่ตั้ง,
วิทยาเขตในเขตเมืองรวมทั้งสิ้น 5 แห่ง ได้แก่
  • สแตรนด์
  • วอเตอร์ลู
  • กายส์
  • เซนต์โทมัส
  • เดนมาร์กฮิลล์
สี
           
Blue & King's red[1]
มาสคอต
Reggie the Lion
เว็บไซต์www.kcl.ac.uk
Olive spiral atop green pinstripes over white
ตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
ตราสัญลักษณ์ดั้งเดิมของวิทยาลัยใช้ในปี ค.ศ. 1829-1985

คิงส์คอลเลจลอนดอน (อังกฤษ: King's College London; King's; KCL) เป็นหนึ่งในวิทยาลัยในสังกัดของ มหาวิทยาลัยลอนดอน โดยจัดเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยของรัฐ ตั้งอยู่ ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร และเป็นหนึ่งในสถาบันอุดมศึกษาที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศอังกฤษ[2] ก่อตั้งโดยตราตั้ง (Royal Charter) ในปี ค.ศ. 1829 ภายใต้พระบรมราชูปถัมภ์ของ สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 4 และ ดยุกที่ 1 แห่งเวลลิงตัน ภายหลังในปี ค.ศ. 1836 ได้เป็นหนึ่งในสองวิทยาลัยร่วมก่อตั้งมหาวิทยาลัยลอนดอน (University of London) และเข้าร่วมเป็นวิทยาลัยในสังกัด พร้อมกับยูนิเวอร์ซิตี คอลเลจ ลอนดอน (UCL)

ในปี ค.ศ. 2022 QS World University Rankings จัดอันดับวิทยาลัยไว้ที่ 35 ของโลก และที่ 7 ของสหราชอาณาจักร[3]

ปัจจุบัน อธิการบดีของคิงส์คอลเลจลอนดอน คือ เจ้าฟ้าหญิงแอนน์ พระวรราชกุมารี (The Princess Royal) พระราชธิดาในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 กล่าวคือ พระองค์ทรงมีฐานะเป็นอธิการบดีของมหาวิทยาลัยลอนดอน (Chancellor of the University of London) โดยมีศาสตราจารย์ เอ็ดเวิร์ด เบิร์น (Edward Byrne) ดำรงตำแหน่งเป็นอธิการบดีและอาจารย์ใหญ่ (President and Principal) ตั้งแต่เดือนกันยายน ค.ศ. 2014 เป็นต้นมา[4]

ประวัติ[แก้]

คิงส์คอลเลจลอนดอน ก่อตั้งอย่างเป็นทางการโดยตราตั้ง (Royal Charter) เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1829 โดยสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 4 (King George IV) และดยุคแห่งเวลลิงตัน (the Duke of Wellington) [5] กล่าวได้ว่า คิงส์คอลเลจลอนดอนเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความเก่าแก่มากที่สุดเป็นลำดับที่ 4 ของประเทศอังกฤษ[6] King's ถือเป็นหนึ่งในสองวิทยาลัย - อีกหนึ่งคือ มหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน (UCL) ที่ร่วมกันก่อตั้งและสถาปนามหาวิทยาลัยลอนดอนในวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1836[7]

การก่อตั้ง[แก้]

King's College London ถือกำเนิดขึ้นจากความขัดแย้งทางอุดมการณ์ทางศาสนา โดยในปี ค.ศ. 1826 University College London (UCL) ได้ถูกก่อตั้งขึ้นให้เป็นวิทยาลัยฆราวาส กล่าวคือเป็นสถานศึกษาที่จัดตั้งขึ้นโดยไม่นำเรื่องศาสนามาเกี่ยวข้อง King's College จึงถูกจัดตั้งขึ้นเป็นเป็นการตอบโต้เชิงอุดมการณ์ ในปี ค.ศ. 1829 ได้รับพระบรมราชานุญาตจากสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 4 ให้ใช้ชื่อ King's College, London เป็นวิทยาลัยระดับอุดมศึกษาที่ให้ความรู้ในทางโลกแต่ยึดมั่นในหลักศีลธรรมและศาสนาเป็นสำคัญ โดยถือว่าเป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งที่สองของลอนดอน [8]

ในช่วงแรกเริ่ม King's ได้ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนได้แก่ แผนกนักศึกษา (Senior Department) ซึ่งสอนเนื้อหาระดับอุดมศึกษา, และแผนกนักเรียน (Junior Department) ซึ่งภายหลังยกระดับเป็น King's College School, Wimbledon ซึ่งปัจจุบันแยกเป็นอิสระจากวิทยาลัยแล้ว[9]แต่ยังคงมีกรรมการบริหารของโรงเรียนบางส่วนอยู่ที่เป็นศิษย์เก่าของวิทยาลัย และปัจจุบันมีการตั้งโรงเรียนสาขาในประเทศไทย (King’s College International School Bangkok) [10]

ในส่วนของการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษาในช่วงแรกของการก่อตั้งนั้นแบ่งออกเป็นสามหลักสูตรอันได้แก่

  • หลักสูตรศึกษาทั่วไป ได้แก่ ภาษาโบราณ, คณิตศาสตร์, วรรณกรรม, และประวัติศาสตร์
  • หลักสูตรการแพทย์
  • กลุ่มหลักสูตรสหวิทยาการ อันได้แก่ กฎหมาย เศรษฐศาสตร์และการเมือง และภาษาสมัยใหม่[8]

ก่อตั้งและเข้าร่วมสังกัดมหาวิทยาลัยลอนดอน (University of London)[แก้]

ครุยวิทยฐานะใหม่ของวิทยาลัย ออกแบบโดยวิเวียน เวสต์วูด (สีเหลือง : คณะสังคมศาสตร์ และนโยบายสาธารณะ)

ภายหลังเมื่อมีการร่วมสถาปนามหาวิทยาลัยลอนดอนกับทาง มหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน (UCL) และเข้าเป็นวิทยาลัยในสังกัด ในปี 1836 จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น King's College, University of London[11] และในปี ค.ศ. 1980 ทางวิทยาลัยได้รับสถานะเป็นวิทยาลัยอิสระ ในสังกัดมหาวิทยาลัยลอนดอน กล่าวคือมีอิสระจากทางมหาวิทยาลัยส่วนกลางมากขึ้น แต่ยังมอบปริญญาในนามมหาวิทยาลัยลอนดอนอยู่ สุดท้ายในปี 2006 ทางวิทยาลัยได้รับมอบอำนาจเต็มจากมหาวิทยาลัยลอนดอนในการออกใบปริญญาในนามของวิทยาลัยเอง โดยนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในวิทยาลัยในเดือนสิงหาคม 2007 สามารถเลือกได้ว่าจะให้มีการออกปริญญาให้ในนาม University of London หรือ King's College London ซึ่งหลังปี 2008 เป็นต้นมาการออกใบปริญญาทั้งหมดจะกระทำการในนาม King's College London แต่อย่างไรก็ตามยังมีการระบุว่า King's College London เป็นวิทยาลัยในสังกัด University of London อยู่ท้ายใบปริญญา[12] นอกจากนี้ในปีเดียวกันยังมีการเปลี่ยนการใช้ครุยวิทยฐานะจากรูปแบบมาตรฐานของมหาวิทยัลลอนดอน มาสู่ครุยวิทยฐานะแบบเฉพาะของทางวิทยาลัย ซึ่งถูกออกแบบขึ้นใหม่ทั้งหมดโดย วิเวียน เวสต์วูด[13]

การควบรวมกับวิทยาลัยอื่น[แก้]

Reggie the Lion มาสคอตของมหาวิทยาลัย ตั้งแต่ ค.ศ. 1923

King's ได้ดำเนินการรวมวิทยาลัยทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์หลายแห่งในกรุงลอนดอนเข้าด้วยกัน โดยวิทยาลัยที่ถูกควบรวมบางแห่งก็เคยเป็นส่วนหนึ่งของวิทยาลัยที่แยกตัวออกไป ได้แก่ Queen Elizabeth College (ค.ศ. 1985) Chelsea College of Science and Technology (ค.ศ. 1985) the Institute of Psychiatry (ค.ศ. 1997) และ the United Medical and Dental Schools of Guy's (ค.ศ. 1998) and St Thomas' Hospitals (ค.ศ. 1998) และ Florence Nightingale School of Nursing and Midwifery (ค.ศ. 1998) [14] กล่าวได้ว่า คิงส์คอลเลจลอนดอนเป็นศูนย์กลางการเรียนการสอนและการวิจัยด้านการแพทย์ที่ใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรป[15] นอกเหนือจากความโดดเด่นด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์แล้ว King's ยังได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาชั้นนำของโลกที่มีผลงานการค้นคว้าและการวิจัยที่ได้รับการยอมรับมาอย่างต่อเนื่องในอีกหลายสาขาวิชา เช่น มนุษยศาสตร์ กฎหมาย การระหว่างประเทศ และสังคมศาสตร์[16]

การศึกษา[แก้]

คณะ[แก้]

ปัจจุบัน (ค.ศ. 2017) การการเรียนการสอนและการวิจัยของมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการและแบ่งการจัดการออกเป็นจำนวน 9 คณะ (academic faculties) ได้แก่

    • คณะศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (Faculty of Arts and Humanities)
    • สถาบันทันตกรรม (Dental Institute)
    • คณะชีววิทยาศาสตร์และแพทยศาสตร์ (Faculty of Life Sciences and Medicine)
    • สถาบันจิตเวช จิตวิทยา และประสาทวิทยาศาสตร์ (Institute of Psychiatry, Psychology and Neuroscience)
    • สำนักวิชากฎหมายดิ๊กสัน พูน (The Dickson Poon School of Law)
    • คณะวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและคณิตศาสตร์ (Faculty of Natural and Mathematical Sciences)
    • คณะพยาบาลศาสตร์และการผดุงครรภ์ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale Faculty of Nursing and Midwifery)
    • คณะสังคมศาสตร์และนโยบายสาธารณะ (Faculty of Social Science and Public Policy)
    • สำนักวิชาธุรกิจคิงส์ (King's Business School)

โดยจำนวน 9 คณะดังกล่าวนี้ ได้ถูกแบ่งย่อยออกเป็นสำนักวิชา (schools) ภาควิชา (departments) ศูนย์และแผนกวิจัย (centres and research divisions) อีกเป็นจำนวนมาก[17]

วิทยาเขต[แก้]

มหาวิทยาลัยมีพื้นที่ตั้งอยู่ในกรุงลอนดอนจำนวนถึง 5 วิทยาเขต โดยวิทยาเขตแห่งแรกและเป็นวิทยาเขตหลักคือ Strand Campus ซึ่งตั้งอยู่ในศูนย์กลางของกรุงลอนดอน (Central London) อีก 3 วิทยาเขต ได้แก่ Guy's Campus, St Thomas' Campus และ Waterloo Campus ตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเทมส์ (Thames-side campuses) และอีกหนึ่งวิทยาเขตคือ Denmark Hill Campus ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของลอนดอน (South London) [18]

อาคาร King's Building วิทยาเขต Strand
อาคาร Bush House วิทยาเขต Strand อดีตที่ทำการสำนักข่าว BBC
หอสมุด Maughan Library อดีตที่ทำการสำนักงานสถิติแห่งชาติ สหราชอาณาจักร

บุคลากร[แก้]

ปัจจุบัน คิงส์คอลเลจลอนดอน มีบุคลากรประมาณ 7,000 คน และมีนักศึกษามากกว่า 26,500 คน ในจำนวนนี้เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีประมาณ 10,400 คน โดยมาจาก 150 ประเทศทั่วโลก[19] ศิษย์เก่าที่จบการศึกษาจากวิทยาลัยแห่งนี้ได้รับการยอมรับในหลากหลายสาขาวิชาชีพ เช่น ด้านการเมือง การปกครอง การทหาร กฎหมาย การระหว่างประเทศ การเงิน การแพทย์ การศึกษา สื่อมวลชน ดนตรี วรรณกรรม ศาสนา ตลอดจนภาคธุรกิจ[20] จนถึงปัจจุบัน บุคลากรและศิษย์เก่าจากคิงส์คอลเลจลอนดอนได้รับรางวัลโนเบลแล้ว จำนวน 12 คน[21]

อันดับและมาตรฐานของมหาวิทยาลัย[แก้]

ในปี ค.ศ. 2022 QS World University Rankings ของบริษัทคอกโครัลลีไซมอนส์ (Quacquarelli Symonds) จัดอันดับวิทยาลัยไว้ที่ 35 ของโลก และที่ 7 ของสหราชอาณาจักร[3] โดยสาขาที่มีความโดดเด่นอย่างยิ่งใน 20 อันดับแรกของโลก[22] ได้แก่

สายสังคมศาสตร์[แก้]

Philosophy อันดับ 9

History อันดับ 12

Classic and Ancient History อันดับ 12

Politics อันดับ 13

Law and Legal Studies อันดับ 15

English Language and Literature อันดับ 16

สายวิทยาศาสตร์[แก้]

Nursing อันดับ 2

Dentistry อันดับ 9

Life Science and Medicine อันดับ 14

Anatomy and Physiology อันดับ 16

Medicine อันดับ 16

Pharmacy อันดับ 17

คิงส์คอลเลจลอนดอน จัดเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำของสหราชอาณาจักรและมีชื่อเสียงในระดับโลก ในปัจจุบัน (ค.ศ. 2017) King's ได้ถูกจัดอันดับโดยคอกโครัลลีไซมอนส์ ให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับที่ 21 ของโลก อันดับที่ 6 ในสหราชอาณาจักร และอันดับที่ 8 ของทวีปยุโรป[23] นอกจากนี้ คิงส์คอลเลจลอนดอน ยังได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกกับองค์กรการศึกษาหลายแห่ง เช่น the Association of Commonwealth Universities, the European University Association, the Russell Group และ the Goldern Triangle ซึ่งเป็นการรวมตัวของมหาวิทยาลัยชั้นนำ 6 แห่งจากเมือง Cambridge, Oxford และ London อันได้แก่ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด, มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์, อิมพิเรียลคอลเลจลอนดอน, คิงส์คอลเลจลอนดอน, วิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน และ มหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน[24][25]

บุคคลสำคัญ[แก้]

ศิษย์เก่าชาวไทยที่มีชื่อเสียง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Branding Essentials" (PDF). Branding Essentials November 2018. สืบค้นเมื่อ 24 March 2019.[ลิงก์เสีย]
  2. https://russellgroup.ac.uk/about/our-universities/kings-college-london/
  3. 3.0 3.1 "Top Universities in the UK 2022". Top Universities (ภาษาอังกฤษ).
  4. The Principal เก็บถาวร 2013-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - King's College London สืบค้นเมื่อ 24.12.2015
  5. History of King's - King's College London สืบค้นเมื่อ 24.12.2015
  6. King's Facts at a glance เก็บถาวร 2016-01-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - King's College London สืบค้นเมื่อ 24.12.2015
  7. A brief history - the foundation of the university, 1836 เก็บถาวร 2014-02-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - University of London สืบค้นเมื่อ 24.12.2015
  8. 8.0 8.1 J S Cockburn; H P F King; K G T McDonnell (1969). The University of London: The Constituent Colleges. A History of the County of Middlesex. Victoria County History. pp. 345–359 – via British History Online. https://www.british-history.ac.uk/vch/middx/vol1/pp345-359#h3-0005
  9. "King's College School". www.kcs.org.uk (ภาษาอังกฤษ).
  10. "King's College School". www.kcs.org.uk (ภาษาอังกฤษ).
  11. Freedman, Lawrence (1982). "The War of the Falkland Islands, 1982". Foreign Affairs. 61 (1): 196–210. doi:10.2307/20041358. ISSN 0015-7120. (The author stated that he is the professor at "King's College, University of London")
  12. "Wayback Machine: Certificate FAQs" (PDF). web.archive.org. King's College London. 2013-09-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-09-03. สืบค้นเมื่อ 2023-04-19.
  13. London, King's College. "Remembering Dame Vivienne Westwood". King's College London (ภาษาอังกฤษ).
  14. History of King's - timeline - King's College London สืบค้นเมื่อ 24.12.2015
  15. About เก็บถาวร 2010-10-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - King's Health Partner สืบค้นเมื่อ 24.12.2015
  16. King's Facts at a glance เก็บถาวร 2016-01-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - King's College London สืบค้นเมื่อ 24.12.2015
  17. Academic faculties at King's - King's College London สืบค้นเมื่อ 14.04.2017
  18. Our campuses เก็บถาวร 2015-11-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - King's College London สืบค้นเมื่อ 24.12.2015
  19. King's Facts at a glance เก็บถาวร 2016-01-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - King's College London สืบค้นเมื่อ 24.12.2015
  20. Fellows of King's - King's College London สืบค้นเมื่อ 24.12.2015
  21. King's Nobel Laureates - King's College London สืบค้นเมื่อ 24.12.2015
  22. "King's College London". Top Universities (ภาษาอังกฤษ).
  23. QS World University Rankings 2016/17 สืบค้นเมื่อ 14.04.2017
  24. Golden opportunities - Nature สืบค้นเมื่อ 24.12.2015
  25. Savage, Michael (2015). Social class in the 21st century. [London]: Penguin. pp. p. 167. ISBN 978-0-241-00422-7. OCLC 928843792. Higher education researchers often talk about a 'Golden Triangle' of universities. The 'triangle' describes an imaginary three-sided shape with corners in Oxford, Cambridge and London. The exact composition of the London 'corner' can vary, but typically it includes the London School of Economics, King's College London, University College London and Imperial College London. {{cite book}}: |pages= has extra text (help)
  26. Jumsai, Sumet. 2004. "Prince Prisdang and the Proposal for the First Siamese Constitution, 1885" Journal of the Siam Society Vol. 92 2004. 107. https://thesiamsociety.org/wp-content/uploads/2004/03/JSS_092_0g_SumetJumsai_PrincePrisdangAndProposalForConstitut.pdf
  27. ปฤษฎางค์, พระองค์เจ้า. 2472. ประวัติย่อนายพันเอกพิเศษ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ แต่ประสูติ พ.ศ. 2392 ถึง 2472. กรุงเทพฯ. 10-12. https://www.car.chula.ac.th/display7.php?bib=b2209972 . http://eresource.car.chula.ac.th/chula-ebooks/redirect.php?name=clra56_0058
  28. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2499. ประวัติกระทรวงเกษตร. พิมพ์แจกเป็นที่ระลึกในวันเปิดที่ทำการใหม่ วันที่ 1 เมษายน 2500. โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม. ประเทศไทย. http://archives.psd.ku.ac.th/kuout/p042.html เก็บถาวร 2023-04-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  29. คำโพธิ์ทอง. รวินทร์. 2565. "ทวี บุณยเกตุ กับ ปรีดี พนมยงค์​ ในการรักษาเอกราชและประชาธิปไตยสมบูรณ์". อ้างอิงจาก อนุสรณ์พิมพ์เป็นบรรณาการในงานพระราชทานเพลิงศพ นายทวี บุณยเกตุ. พ.ศ. 2515. สถาบันปรีดี พนมยงค์. https://pridi.or.th/th/content/2022/11/1311
  30. https://era.ed.ac.uk/bitstream/handle/1842/7790/Pongsapan2013.pdf?sequence=2&isAllowed=n. 208
  31. "Sophon Ratanakorn", Wikipedia (ภาษาอังกฤษ), 2022-04-17, สืบค้นเมื่อ 2023-09-07
  32. ผู้แทนหน้าใหม่ : ‘โฟล์ก-อัคร ทองใจสด’ ส.ส.เพชรบูรณ์ พปชร. ตั้งเป้าดัน ‘เกษตรดิจิทัล’, มติชน (ออนไลน์)https://www.matichon.co.th/politics/news_4010790 3 มิถุนายน 2566