ยาโกบึส แฮ็นรีกึส วันต์โฮฟฟ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยาโกบึส แฮ็นรีกึส วันต์โฮฟฟ์
ภาพถ่ายของวันต์โฮฟฟ์เมื่อ ค.ศ. 1904 โดย Nicola Perscheid
เกิด30 สิงหาคม ค.ศ. 1852
รอตเทอร์ดาม ประเทศเนเธอร์แลนด์
เสียชีวิต1 มีนาคม ค.ศ. 1911 (อายุ 58 ปี)
Steglitz ใกล้กรุงเบอร์ลิน เยอรมนี
สัญชาติดัตช์
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยโปลีเทคนิคเดลฟท์
มหาวิทยาลัยไลเดิน
มหาวิทยาลัยบ็อน
มหาวิทยาลัยปารีส
มหาวิทยาลัยยูเทรกต์
มีชื่อเสียงจากผู้ค้นพบสเตอริโอเคมี
ผู้ค้นพบเคมีเชิงฟิสิกส์
ผู้ค้นพบแนวคิดความคล้ายคลึงทางเคมี
ผู้คาดการณ์โครงสร้างสี่หน้าของอะตอมคาร์บอน (คาร์บอนที่ไม่สมมาตร)
ผู้คาดการณ์การมีอยู่ของ chiral allenes
ไอโซเมอร์
จลนพลศาสตร์เคมี
อุณหพลศาสตร์เคมี
สมดุลเคมี
ความดันออสโมซิส
van 't Hoff factor
van 't Hoff equation
Le Bel–Van 't Hoff rule
รางวัลเหรียญเดวี (ค.ศ. 1893)
ForMemRS (ค.ศ. 1897)
รางวัลโนเบลสาขาเคมี
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาเคมีเชิงฟิสิกส์
เคมีอินทรีย์
เคมีเชิงทฤษฎี
สถาบันที่ทำงานมหาวิทยาลัยยูเทรกต์สาขาสัตวแพทยศาสตร์
มหาวิยาลัยอัมสเตอร์ดัม
มหาวิทยาลัยฮุมบ็อลท์แห่งเบอร์ลิน
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอกEduard Mulder[1]
ลูกศิษย์ในระดับปริญญาเอกErnst Cohen
ลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียงอื่น ๆFrederick G. Donnan

ยาโกบึส แฮ็นรีกึส วันต์โฮฟฟ์ (อังกฤษ: Jacobus Henricus "Henry" van 't Hoff, Jr., 30 สิงหาคม ค.ศ. 1852 - 1 มีนาคม ค.ศ. 1911) เป็นนักเคมีทางกายภาพชาวดัตช์ที่ได้รับรางวัลโนเบลในสาขาเคมีเป็นคนแรก[2][3][4] วันต์โฮฟฟ์เป็นที่รู้จักเนื่องจากการค้นพบทฤษฎีในจลนพลศาสตร์เคมี สมดุลเคมี ความดันออสโมซิส ความคล้ายคลึงทางเคมี อุณหพลศาสตร์เคมีและสเตอริโอเคมี นอกจากนี้แล้วใน ค.ศ. 1874 วันต์โฮฟฟ์ได้คิดค้นทฤษฎีโครงสร้างสี่หน้าของอะตอมคาร์บอน และวางรากฐานการศึกษาโครงสร้างสามมิติของอะตอม ต่อจากนั้นใน ค.ศ. 1875 วันต์โฮฟฟ์ได้พบเจอโครงสร้างของ allenes (โมเลกุลที่มีคาร์บอนเป็นพันธะคู่) camulenes (ไฮโดรคาร์บอนที่มีพันธะคู่สามคู่ขึ้นไป) และ axial chirality[5][6][7][8]

ประวัติ[แก้]

ยาโกบึส แฮ็นรีกึส วันต์โฮฟฟ์ เกิดในเมืองรอตเทอร์ดาม ณ ประเทศเนเธอร์แลนด์เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 1852 ยาโกบึสเป็นลูกคนที่สามจากเจ็ดของนายแพทย์เฮนรี่คัส วันต์โฮฟฟ์และ อาลิด้า วันต์โฮฟฟ์[9] ในวัยเยาว์ ยาโกบึสมีความสนใจในด้านวิทยศาสตร์และธรรมชาติ และเข้าร่วมทัศนศึกษาพฤกษศาสตร์บ่อยครั้ง เมื่อยาโกบึสได้เริ่มเข้าเรียน ยาโกบึสได้แสดงความสนใจในการเรียนบทกวีและปรัชญา

ใน ค.ศ. 1869 ยาโกบึสศึกษาในมหาวิทยาลัยโปลีเทคนิค ณ เมืองเดลฟท์ และได้รับประกาศนียบัตรเทคโนโลยีเคมีใน ค.ศ. 1871[10][11][12] หลังจากนั้นยาโกบึสได้ทำงานในโรงงานน้ำตาลและค้นพบว่าอาชีพที่ยาโกบึสทำนั้นน่าเบื่อ ยาโกบึสจึงได้ตัดสินใจที่จะไปศึกษาในกรุงบอนน์ และการทำงานกับ A.F. Kekulé จากฤดูใบไม้ร่วงใน ค.ศ. 1872-73 ต่อมายาโกบึสได้ไปศึกษาต่อที่กรุงปารีสกับ A Wurtz ใน ค.ศ. 1873-74 ยาโกบึสกลับไปฮอลแลนด์ใน ค.ศ. 1874 เพื่อที่จะไปศึกษาต่อในเมืองยูเทรกต์ ในปีเดียวกันยาโกบึสได้รับปริญญาเอกภายใต้ชื่อ Eduard Mulder[13]

ใน ค.ศ. 1878 ยาโกบึสแต่งงานกับ Johanna Francina Mees มีบุตรสาวสองคนชื่อว่า Johanna Francina และ Aleida Jacoba และบุตรชายสองคนชื่อว่า Jacobus Henricus van 't Hoff III และ Govert Jacob ยาโกบึสเสียชีวิตลงเมื่ออายุ 58 ปีในวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 1911 โดยมีสาเหตุการเสียชีวิตคือวัณโรค

หน้าที่การงาน[แก้]

วันต์โฮฟฟ์ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1900

วันต์โฮฟฟ์เป็นที่รู้จักจากความรู้ในด้านเคมีอินทรีย์ ใน พ.ศ. 1874 วันต์โฮฟฟ์ได้ตั้งสมมุติฐานไว้ว่า พันธะเคมีระหว่างคาร์บอนและอะตอมรอบข้างจะมุ่งตรงไปยังมุมของปิรามิดฐานสามเหลี่ยมที่ไม่สมมาตร[14][15] ซึ่งโครงสร้างสามมิตินี้เป็นโครงสร้างพื้นฐานของโมเลกุลไอโซเมอร์ที่พบเจอทั่วไปในธรรมชาติ วันต์โฮฟฟ์ได้กล่าวชื่นชมถึงนักเคมีชาวฝรั่งเศส Joseph Achille Le Bel ซึ่งได้ตีพิมพ์วารสารที่มีแนวคิดเดียวกันกับของวันต์โฮฟฟ์เป็นภาษาฝรั่งเศส

สามเดือนก่อนที่วันต์โฮฟฟ์จะได้ส่งวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก (เรื่อง ผลงานเพื่อความรู้เกี่ยวกับกรด cyanoacetic และกรด malonic) วันต์โฮฟฟ์ตีพิมพ์ทฤษฎีโครงสร้างพันธะเคมีของอะตอมคาร์บอนเป็นภาษาดัตช์ในรูปแบบจุลสารเป็นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1874 โดยจุลสารนี้ประกอบไปด้วยข้อความสิบสองหน้าและไดอะแกรมหนึ่งหน้า วันต์โฮฟฟ์ได้ตีพิมพ์ทฤษฎีนี้เป็นอีกครั้งในปีต่อมาเป็นภาษาฝรั่งเศสที่มีหัวเรื่องว่า La chimie dans l'espace (Chemistry in Space) ถึงกระนั้น วันต์โฮฟฟ์และ Le Bel ยังเป็นนักเคมีที่มีอายุน้อย ซึ่งทำให้ทฤษฎีโครงสร้างพันธะเคมีนี้ถูกเพิกเฉยโดยวงการวงการวิทยาศาสตร์และถูกวิพากษ์อย่างเชือดเฉือนโดยนักเคมีชื่อดัง Hermann Kolbe[16] ผู้ได้กล่าวไว้ว่า:

"เป็นที่ปรากฏชัดว่าศาตราจารย์วันต์โฮฟฟ์แห่งวิทยาลัยสัตวแพทย์ยูเทรกต์ ไม่มีความชอบที่จะทำการศึกษาวิจัยในทางเคมีให้ถูกต้องแม่นยำ เขาคิดว่ามันง่ายกว่าที่จะขี่เพกาซัส (ยืมจากวิทยาลัยสัตวแพทย์ที่ วันต์โฮฟฟ์สอน) และประกาศอย่างที่เขากล่าวไว้ใน La chimie dans l’espace บนทางไปสู่ยอดเขาพาร์แนสซัสทางเคมี ว่าเขาเห็นอะตอมจัดเรียงอยู่ในห้วงอวกาศ"

จนกระทั่งใน ค.ศ. 1877 เมื่อทฤษฎีนี้ได้ถูกตีพิมพ์อีกรอบเป็นภาษาเยอรมัน วงการวิทยาศาสตร์ให้ความสนใจกับทฤษฎีนี้มากขึ้น และประมาณ ค.ศ. 1880 บุคคลในวงการนักเคมีสำคัญเช่น Johannes Wislicenus และ Viktor Meyer ได้สนับสนุนทฤษฎีนี้ ใน ค.ศ. 1905 ทฤษฎีโครงสร้างพันธะเคมีของวันต์โฮฟฟ์เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางโดยนักวิทยาศาสตร์นานาชาติ[16]

ใน ค.ศ. 1884 วันต์โฮฟฟ์ตีพิมพ์งานวิจัยเรื่องจลนพลศาสตร์เคมีซึ่งมีชื่อว่า Études de Dynamique chimique (การศึกษาเกี่ยวกับกลไกของปฏิกิริยาเคมี) ซึ่งในรายงานนี้วันต์โฮฟฟ์ได้เขียนถึงวิธีใหม่ในการกำหนดอันดับของปฏิกิริยาโดยใช้กราฟิกและใช้กฎของอุณหพลศาสตร์ในสมดุลเคมี นอกจากนี้แล้ว วันต์โฮฟฟ์ได้แนะนำแนวคิดในปัจจุบันของความคล้ายคลึงทางเคมี ใน ค.ศ. 1886 วันต์โฮฟฟ์แสดงให้เห็นถึงความคล้ายคลึงกันของพฤติกรรมของสารละลายเจือจางและก๊าซ ใน ค.ศ. 1887 วันต์โฮฟฟ์และนักเคมีชาวเยอรมัน Wilhelm Ostwald ได้ก่อตั้งนิตยสารเชิงวิทยาศาสตร์ชื่อว่า Zeitschrift für Physikalische Chemie (วารสารเคมีฟิสิกส์) วันต์โฮฟฟ์ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีการแยกตัวของอิเล็กโทรไลต์ที่คิดค้นโดยสวานเต อาร์เรเนียส และให้หลักฐานเพื่อยืนยันการใช้งานของสมการอาร์เรเนียสใน ค.ศ. 1889 วันต์โฮฟฟ์ได้รับงานเป็นศาสตราจารย์ที่สถาบันวิทยาศาสตร์ปรัสเซียน ณ กรุงเบอร์ลินใน ค.ศ. 1896 การศึกษาเกี่ยวกับการตกตะกอนของเกลือที่วันต์โฮฟฟ์ ณ Staßfurt ถือว่าเป็นส่วนร่วมที่สำคัญในอุตสาหกรรมเคมีของปรัสเซีย

วันต์โฮฟฟ์ได้รับงานเป็นวิทยากรด้านเคมีและฟิสิกส์ที่ที่วิทยาลัยสัตวแพทย์ในเมืองยูเทรกต์ หลังจากนั้นแล้ว วันต์โฮฟฟ์จึงได้รับงานเป็นศาสตราจารย์ด้านเคมีวิทยา แร่วิทยา และธรณีวิทยาที่มหาวิทยาลัยอัมสเตอร์ดัมในระยะเวลา 18 ปีก่อนที่วันต์โฮฟฟ์ได้เป็นหัวหน้าแผนกวิชาเคมี ใน ค.ศ. 1896 วันต์โฮฟฟ์ได้ยอมรับคำเชิญไปยังกรุงเบอร์ลินเพื่อเป็นศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์และสมาชิกของสถาบันวิทยาศาสตร์ปรัสเซียน โดยเหตุผลหลักสำหรับการตัดสินใจนี้เป็นเพราะว่าในสถาบันวิทยาศาสตร์ปรัสเซียน วันต์โฮฟฟ์ต้องให้การบรรยายเนื้อหาเรียนให้แก่นักศึกษาเพียงแค่หนึ่งชั่วโมงต่อสัปดาห์ซึ่งแตกต่างกับตอนที่ วันต์โฮฟฟ์ได้ทำงานอยู่ในมหาวิทยาลัยอัมสเตอร์ดัมซึ่งให้ภาระแก่ วันต์โฮฟฟ์เป็นอย่างมาก เช่น การบรรยาเนื้อหาเรียนพื้นฐานที่น่าเบื่อและประเมินผลนักศึกษาเป็นจำนวนมากซึ่งรวมถึงนักศึกษาแพทย์ เพราะเหตุเหล่านี้ทำให้วันต์โฮฟฟ์ไม่มีเวลาในการทำงานวิจัยเป็นของตัวเอง ใน ค.ศ. 1901 วันต์โฮฟฟ์ได้รับรางวัลโนเบลในสาขาเคมีเป็นครั้งแรก โดยงานที่ทำให้วันต์โฮฟฟ์ได้รับรางวัลคือการคิดค้นกฎของความดันออสโมซิสในสารละลาย และกฎของอัตราและกลไกการเกิดปฏิกิริยา วันต์โฮฟฟ์ทำงานอยู่ ณ กรุงเบอร์ลินจนถึงวันสิ้นชีวิต[16]

เกียรติคุณและรางวัล[แก้]

ใน ค.ศ. 1885 วันต์โฮฟฟ์ได้เป็นสมาชิกของสถาบันการศึกษาวิทยศาตร์ของประเทศเนเธอร์แลนด์[17] นอกจากนี้แล้ว วันต์โฮฟฟ์ยังได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและมหาวิทยาลัยเยล (ค.ศ. 1901) มหาวิทยาลัยวิกตอเรีย มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ (ค.ศ. 1903) และมหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์ก (ค.ศ. 1908) วันต์โฮฟฟ์ได้รับรางวัลเหรียญเดวี (เช่นเดียวกับ Joseph Achille Le Bel) และได้ถูกแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกต่างประเทศของราชสมาคมแห่งลอนดอน (ForMemRS) วันต์โฮฟฟ์ได้รับรางวัลเหรียญเฮ็ล์มฮ็อลทซ์จากสถาบันวิทยาศาสตร์ปรัสเซียน (ค.ศ. 1911) และได้รับตำแหน่ง Chevalier de la Légion d'honneur (ค.ศ. 1894) และ Senator der Kaiser-Wilhelm-Gesellschaft (ค.ศ. 1911) วันต์โฮฟฟ์กลายเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของสมาคมเคมีอังกฤษ ราชบัณฑิตยสถานเนเธอร์แลนด์แห่งศิลปะและวิทยาศาสตร์ (ค.ศ. 1892) สมาคมเคมีอเมริกัน (ค.ศ. 1898) และสถาบันวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศส (ค.ศ. 1905) นอกเหนือจากนี้แล้ววันต์โฮฟฟ์เป็นบุคคลแรกที่ได้รับรางวัลโนเบลในสาขาเคมี ทฤษฎีและกฎที่ใช้ชื่อของวันต์โฮฟฟ์ได้แก่

  1. van 't Hoff factor
  2. van 't Hoff equation
  3. Le Bel–Van 't Hoff rule

อ้างอิง[แก้]

  1. Ramberg, Peter J. (2017). Chemical Structure, Spatial Arrangement: The Early History of Stereochemistry, 1874–1914. Routledge. ISBN 9781351952453.
  2.  Chisholm, Hugh, บ.ก. (1911). "van't Hoff, Jacobus Hendricus" . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์.
  3. Nobel Lecture Osmotic Pressure and Chemical Equilibrium from Nobelprize.org website
  4. Karl Grandin, ed. "Jacobus Henricus van 't Hoff Biography". Les Prix Nobel. The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 15 August 2008. {{cite web}}: |author= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  5. La Chemie dans l'Espace, Bazendijk: Rotterdam, 1875
  6. Meijer, E. W. (2001). "Jacobus Henricus van 't Hoff; Hundred Years of Impact on Stereochemistry in the Netherlands". Angewandte Chemie International Edition. 40 (20): 3783–3789. doi:10.1002/1521-3773(20011015)40:20<3783::AID-ANIE3783>3.0.CO;2-J. PMID 11668534.
  7. Spek, Trienke M. van der (2006). "Selling a Theory: The Role of Molecular Models in J. H. van 't Hoff's Stereochemistry Theory". Annals of Science. 63 (2): 157. doi:10.1080/00033790500480816.
  8. Kreuzfeld, HJ; Hateley, MJ. (1999). "125 years of enantiomers: back to the roots Jacobus Henricus van 't Hoff 1852–1911". Enantiomer. 4 (6): 491–6. PMID 10672458.
  9. Biography on Nobel prize website. Nobelprize.org (1 March 1911). Retrieved on 2011-08-12.
  10. H.A.M., Snelders (1993). De geschiedenis van de scheikunde in Nederland. Deel 1: Van alchemie tot chemie en chemische industrie rond 1900. Delftse Universitaire Pers.
  11. Cordfunke, E. H. P. (2001). Een romantisch geleerde: Jacobus Henricus van 't Hoff (1852–1911). Vossiuspers UvA.
  12. Cohen, E. (1899). Jacobus Henricus van't Hoff. Verlag von Wilhelm Engelmann.
  13. Entry in Digital Album Promotorum เก็บถาวร 2011-07-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน of Utrecht University
  14. *Van 't Hoff (3 September 1874) Voorstel tot Uitbreiding der Tegenwoordige in de Scheikunde gebruikte Structuurformules in de Ruimte, benevens een daarmee samenhangende Opmerking omtrent het Verband tusschen Optisch Actief Vermogen en chemische Constitutie van Organische Verbindingen (Proposal for the Extension of Current Chemical Structural Formulas into Space, together with Related Observation on the Connection between Optically Active Power and the Chemical Constitution of Organic Compounds) [pamphlet published by the author]. Available in English at: ChemTeam.
  15. Planar Methane – Periodic Table of Videos. YouTube. Retrieved on 30 December 2015.
  16. 16.0 16.1 16.2 Nagendrappa, G. (2007). "Jacobus Henricus van 't Hoff: A Short Biographical Sketch". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  17. "Jacobus Hendrik van 't Hoff (1852–1911)". Royal Netherlands Academy of Arts and Sciences. สืบค้นเมื่อ 17 July 2015.