ยาฝังคุมกำเนิด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชุดติดตั้งสำหรับ Implanon ตัวอย่างของยาฝังคุมกำเนิดแบบฝังใต้ผิวหนัง

ยาฝังคุมกำเนิด (อังกฤษ: contraceptive implant) เป็นอุปกรณ์ปลูกฝังทางการแพทย์ใช้เพื่อคุมกำเนิด อาจทำโดยการปล่อยฮอร์โมนเพื่อยับยั้งการตกไข่หรือการพัฒนาของตัวอสุจิ, การใช้ทองแดงเป็นสารฆ่าเชื้ออสุจิในมดลูก, หรืออาจใช้วิธีกีดขวางโดยไม่ใช้ฮอร์โมน ยาฝังคุมกำเนิดถูกออกแบบเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์โดยไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ในประเทศไทย พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 ให้ผู้มีอายุระหว่าง 10 ถึง 20 ปี เข้ารับการฝังยาคุมกำเนิดชนิดฝังใต้ผิวหนังได้ฟรีในโรงพยาบาลรัฐทั่วประเทศ[1]

สำหรับผู้หญิง[แก้]

การฝังยาคุมกำเนิดบนแขนของผู้หญิง
การถอดยาฝังคุมกำเนิดออกจากแขนของผู้หญิง

ชนิดฝังใต้ผิวหนัง[แก้]

ยาคุมกำเนิดชนิดฝังใต้ผิวหนังทำงานโดยใช้ฮอร์โมน มีประสิทธิผลสูง และได้รับการรับรองในกว่า 60 ประเทศ ผู้หญิงนับล้านคนทั่วโลกใช้วิธีคุมกำเนิดนี้ ส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของท่ออ่อนขนาดเล็ก ความยาวประมาณ 40 มม. และใช้โดยการให้แพทย์ฝังใต้ผิวหนัง (มักฝังบนส่วนต้นแขน) หลังติดตั้งจะช่วยป้องกันการตั้งครรภ์โดยการปล่อยฮอร์โมนที่หยุดไม่ให้รังไข่ปล่อยเซลล์ไข่และยังทำให้มูกช่องคลอดข้นขึ้น รูปแบบที่ได้รับความนิยมสูงสุด ได้แก่ แบบหลอดเดียว (single-rod etonogestrel implant) และแบบสองหลอด (two-rod levonorgestrel implant)[2]

ยี่ห้อต่าง ๆ ได้แก่:

  • Norplant และ Jadelle (Norplant II)
  • Implanon/Nexplanon
  • Sino-implant (II) ภายใต้ชื่อ Zarin, Femplant และ Trust

ประโยชน์ของยาฝังคุมกำเนิดแบบนี้ได้แก่ ประจำเดือนน้อยลง, ลดอาการก่อนมีประจำเดือน, ให้ผลเป็นเวลานาน (สูงสุดสามปี), ปลอดภัยสำหรับผู้ให้นมบุตรและผู้สูบบุหรี่, และ สะดวกเนื่องจากไม่ต้องดูแลหรือใช้ทุกวัน ในบางกรณีอาจส่งผลเสีย เช่น มีอาการประจำเดือนมาไม่ปกติใน 6 ถึง 12 เดือนแรก ไม่บ่อยนักอาจมีผลกระทบ เช่น ทำให้ไม่อยากอาหาร, ซึมเศร้า, อารมณ์แปลปรวน, ระดับฮอร์โมนไม่ปกติ, เจ็บหน้าอก, น้ำหนักขึ้น, มึนหัว, มีอาการคล้ายคนท้อง, หรือ มีภาวะง่วงงุน[3]

ห่วงอนามัยคุมกำเนิด[แก้]

ห่วงอนามัยคุมกำเนิด (IUD) เป็นอุปกรณ์คุมกำเนิดขนาดเล็ก มักมีรูปร่างคล้ายตัว T ใช้โดยการใส่เข้าไปในมดลูกเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ มีหลายชนิดทั้งที่เคลือบทองแดง, เคลือบฮอร์โมน, และแบบไม่เคลือบสาร โดยเป็นวิธีคุมกำเนิดระยะยาวที่ย้อนกลับได้ซึ่งให้ประสิทธิผลสูงสุด[4] อัตราการล้มเหลวของห่วงอนามัยเคลือบทองแดงอยู่ที่ราว 0.8% ส่วนแบบเคลือบฮอร์โมนมีอัตราการล้มเหลวเพียง 0.2% ในการใช้ปีแรก[5] นอกจากนี้ยังเป็นวิธีคุมกำเนิดที่ให้ความพอใจสูงสุดกับผู้ใช้[6] ใน พ.ศ. 2554 ห่วงอนามัยคุมกำเนิดเป็นวิธีคุมกำเนิดแบบย้อนกลับได้ที่ถูกใช้มากที่สุดทั่วโลก[7] นอกจากนี้ห่วงอนามัยคุมกำเนิดยังมักเป็นวิธีคุมกำเนิดที่ถูกที่สุดสำหรับผู้หญิง[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. "วัยรุ่นต้องรู้! รพ.รัฐ รับฝังยาคุมกำเนิดฟรี ป้องกันท้องก่อนวัยอันควร". 20-06-2017. สืบค้นเมื่อ 07-01-2018. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= และ |date= (help)
  2. French, V.A.; Darney, P.D. (2015). "Chapter 9: Implantable Contraception". ใน Shoupe, D.; Mishell Jr., D.R. (บ.ก.). The Handbook of Contraception: A Guide for Practical Management (2nd ed.). Humana Press. pp. 139–164. ISBN 9783319201856. สืบค้นเมื่อ 17 March 2016.
  3. "Birth Control Methods - Implant". Bedsider.org. National Campaign to Prevent Teen and Unplanned Pregnancy. February 2016. สืบค้นเมื่อ 17 March 2016.
  4. Winner, B; Peipert, JF; Zhao, Q; Buckel, C; Madden, T; Allsworth, JE; Secura, GM. (2012). "Effectiveness of Long-Acting Reversible Contraception". New England Journal of Medicine. 366 (21): 1998–2007. doi:10.1056/NEJMoa1110855. PMID 22621627.
  5. Hanson, S.J.; Burke, A.E. (2012). Hurt, K.J. (บ.ก.). The Johns Hopkins Manual of Gynecology and Obstetrics (4th ed.). Philadelphia: Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins. p. 232. ISBN 978-1-60547-433-5. สืบค้นเมื่อ 17 March 2016.
  6. Committee on Adolescent Health Care Long-Acting Reversible Contraception Working Group, The American College of Obstetricians and, Gynecologists (October 2012). "Committee opinion no. 539: adolescents and long-acting reversible contraception: implants and intrauterine devices". Obstetrics and gynecology. 120 (4): 983–8. doi:10.1097/AOG.0b013e3182723b7d. PMID 22996129.
  7. U.N. Department of Economic and Social Affairs, Population Division (December 2013). "Trends in Contraceptive Methods Used Worldwide" (PDF). United Nations. สืบค้นเมื่อ 17 March 2016.
  8. Duke, J.; Barhan, S. (2007). "Chapter 27: Modern Concepts in Intrauterine Devices". ใน Falcone, T.; Hurd, W. (บ.ก.). Clinical Reproductive Medicine and Surgery. Elsevier Health Sciences. pp. 405–416. ISBN 9780323076593. สืบค้นเมื่อ 12 March 2016.