มุฮัมมัด อิบน์ อับดุลวะฮ์ฮาบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มุฮัมมัด อิบน์ อับดุลวะฮ์ฮาบ
محمد بن عبد الوهاب
อักษรวิจิตรอิสลามของมุฮัมมัด อิบน์ อับดุลวะฮ์ฮาบ
ส่วนบุคคล
เกิดค.ศ. 1703 (ฮ.ศ. 1115)
มรณภาพ22 มิถุนายน ค.ศ. 1792 (ฮ.ศ. 1206, 88-89 ปี)
ศาสนาอิสลาม
บุตร
รายการ
  • อะลี (คนแรก)
  • ฮะซัน
  • ฮุซัยน์
  • อิบรอฮีม
  • อับดุลลอฮ์
  • อะลี (คนที่สอง)
  • ฟาฏิมะฮ์
  • อับดุลอะซีซ
นิกายซุนนี
สำนักคิดฮันบะลี[1][2][3][4]
ลัทธิอะษะรียะฮ์[5]
ความสนใจหลักอะกีดะฮ์ (เทววิทยาอิสลาม)
แนวคิดโดดเด่นวะฮ์ฮาบีย์[1][2][6][7][8]
พิวริตันของซะละฟี[1][2][9][10][11]
ต่อต้านลัทธิศูฟี[1][2][8][9][10][11]
ผลงานโดดเด่นกิตาบุตเตาฮีด (อาหรับ: كتاب التوحيد; "หนังสือการให้เอกภาพต่ออัลลอฮ์")[2][12][13]
อุศูลุษษะลาษะฮ์ (รากฐานสามประการ)
เกาวาอิด อัลอัรบะอ์ (กฏสี่ประการ)
นะวากิฎุลอสลาม (สิ่งที่ทำให้เสียอิสลาม)
กัชฟุชชุบฮาต (ไขข้อคลุเครือ)
ตำแหน่งชั้นสูง
แม่แบบ:Infobox Arabic name

มุฮัมมัด อิบน์ อับดุลวะฮ์ฮาบ (อาหรับ: محمد بن عبد الوهاب; ค.ศ. 1703 – 22 มิถุนายน ค.ศ. 1792) เป็นผู้นำทางศาสนา[2] นักวิชาการอิสลาม และนักเทววิทยา[1][3][14] จากแคว้นนัจด์ทางตอนกลางของอาระเบีย ถูกอ้างเป็นผู้ก่อตั้งหลักคำสอนและกลุ่มเคลื่อนไหวที่รู้จักกันในชื่อว่า วะฮาบีย์[1][3][8][15][16][17][18][19] ท่านเกิดในครอบครัวกอฎี[3] อิบน์ อับดุลวะฮ์ฮาบได้ศึกษาในเรื่องฟิกฮ์ของมัซฮับฮัมบะลี ซึ่งเป็นสำนักที่แพร่หลายในบริเวณที่เขาอาศัยอยู่[3] ถึงแม้ว่าท่านรู้เกี่ยวกับธรรมเนียมพื้นฐานของซุนนี อิบน์ อับดุลวะฮ์ฮาบต่อต้านธรรมเนียมหลายอย่างของกลุ่มบิดอะฮ์ (อุตริกรรมทางศาสนา) เช่น การเยี่ยมและเคารพต่อสุสานคนดี[3][8] ซึ่งท่านรู้สึกว่าเป็นนวัตกรรมทางศาสนาของพวกนอกรีตหรือแม้แต่การบูชารูปปั้น[3][8][20] ถึงแม้ว่าคำสอนของท่านถูกปฏิเสธและต่อต้านโดยนักวิชาการสำคัญของซุนนีบางท่านในเวลานั้นก็ตาม[1][3][20] ซึ่งรวมไปถึงพ่อของเขาและพี่ชายของท่าน[1][3][20] อิบน์ อับดุลวะฮ์ฮาบ ได้บันทึกข้อตกลงทางการเมืองและศาสนากับมุฮัมมัด อิบน์ ซะอูดเพื่อช่วยพระองค์ก่อตั้งเอมิเรตแห่งดิรอียะฮ์ รัฐซาอุดีแรก[21] และเริ่มก่อตั้งพันธมิตรทางราชวงศ์และแบ่งปันอำนาจระหว่างครอบครัวของพระองค์ที่ดำเนินการปกครองต่อในราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย[2][22] อาลุชชัยค์ ผู้นำครอบครัวทางศาสนาของซาอุดีอาระเบีย เป็นลูกหลานของอิบน์ อับดุลวะฮ์ฮาบ[2] และเป็นผู้นำ อุละมาอ์ ในรัฐซาอุดี[23] ที่ครอบคลุมสถาบันทางศาสนาของรัฐด้วย[24]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 Brown 2009, p. 245.
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 Haykel 2013, pp. 231–232.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 3.8 Laoust, H. (2012) [1993]. "Ibn ʿAbd al-Wahhāb". ใน Bearman, P. J.; Bianquis, Th.; Bosworth, C. E.; van Donzel, E. J.; Heinrichs, W. P. (บ.ก.). Encyclopaedia of Islam (2nd ed.). Leiden: Brill Publishers. doi:10.1163/1573-3912_islam_SIM_3033. ISBN 978-90-04-16121-4.
  4. "Ibn Abd al-Wahhab, Muhammad - Oxford Islamic Studies Online". www.oxfordislamicstudies.com. Oxford University Press. 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 July 2020. สืบค้นเมื่อ 15 July 2020.
  5. Halverson 2010, p. 48.
  6. Khatab 2011, pp. 57–58, 62–63.
  7. Silverstein 2010, pp. 112–113.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 Ágoston & Masters 2009, p. 260.
  9. 9.0 9.1 Khatab 2011, pp. 62–65.
  10. 10.0 10.1 Delong-Bas 2004, pp. 56–65.
  11. 11.0 11.1 Van Bruinessen, Martin (2009). "Sufism, 'popular' Islam and the Encounter with Modernity". ใน Masud, Muhammad Khalid; Salvatore, Armando; Van Bruinessen, Martin (บ.ก.). Islam and Modernity: Key Issues and Debate. Edinburgh: Edinburgh University Press. pp. 125–157. ISBN 978-0-7486-3792-8.
  12. Khatab 2011, pp. 65–67.
  13. Saeed 2013, pp. 29–30.
  14. Delong-Bas 2004, pp. 41–42.
  15. Moosa 2015, p. 97.
  16. White 2017, pp. 252–253.
  17. Hubbard, Ben (10 July 2016). "A Saudi Morals Enforcer Called for a More Liberal Islam. Then the Death Threats Began". The New York Times. New York. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 December 2016. สืบค้นเมื่อ 10 June 2020.
  18. Michael Sells, Professor of History and Literature of Islam and Comparative Literature at the Divinity School of the University of Chicago (22 December 2016). "Wahhabist Ideology: What It Is And Why It's A Problem". The Huffington Post. New York. สืบค้นเมื่อ 10 June 2020.
  19. Asad, Talal (3 February 2003). Formations of the Secular: Christianity, Islam, Modernity. Stanford University Press. p. 222. ISBN 9780804747684. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 June 2020. สืบค้นเมื่อ 5 September 2017.
  20. 20.0 20.1 20.2 Khatab 2011, pp. 56–76.
  21. Hourani 1992: 257–258
  22. Nawaf E. Obaid (September 1999). "The Power of Saudi Arabia's Islamic Leaders". Middle East Quarterly. VI (3): 51–58. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 August 2011. สืบค้นเมื่อ 23 June 2011.
  23. Abir 1987: 4, 5, 7
  24. Metz 1992

สารานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]