มาโฮเหม็ด (บทละคร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มาโฮเหม็ด
หน้าปกหนังสือรุ่นปีค.ศ.1753
เขียนโดยวอลแตร์
ตัวละครมาโฮเหม็ด ผู้ก่อตั้งศาสนาอิสลาม
โซปีร์ ผู้นำเมืองมักกะฮ์
โอมาร์ แม่ทัพของมาโฮเหม็ด
เซด ลูกชายของโซปีร์ ถูกลักพาตัวและกดขี่โดยมาโฮเหม็ด
ปัลมิรา ลูกสาวของโซปีร์ ถูกลักพาตัวและกดขี่โดยมาโฮเหม็ด
ฟาโนร์ สมาชิกรัฐสภาประจำเมืองมักกะฮ์
เผ่าในมักกะฮ์
ผู้ติดตามของมาโฮเหม็ด
Date premiered25 เมษายน ค.ศ.1741
Place premieredลีล, ประเทศฝรั่งเศส
ภาษาต้นฉบับฝรั่งเศส
เรื่องของคลั่งศาสนา
ประเภทโศกนาฏกรรม

เลอฟานาทิสเมอ, อูมาโฮเหม็ดเลอโปรเฟต (ฝรั่งเศส: Le fanatisme, ou Mahomet le Prophète หมายถึง "ความบ้าคลั่ง, หรือ ศาสดามาโฮเหม็ด") เป็นหนังสือห้าบท แนวโศกนาฏกรรม เขียนโดยวอลแตร์ในปีค.ศ.1736 และมีการแสดงครั้งแรกในเมืองลีลเมื่อวันที่ 25 เมษายน ค.ศ.1741

บทละครเรื่องนี้ อยู่ในแนวคลั่งศาสนา โดยกล่าวถึงมุฮัมหมัดว่าเป็นฆาตกรหมู่[1] โวลแตร์ได้กล่าวถึงบทนี้ว่า "ตรงข้ามกับผู้ก่อตั้งศาสนาปลอมและนิกายอันป่าเถื่อน".[2]

แรงบันดาลใจ[แก้]

บทละครนี้ได้มุ่งตรงไปที่การโจมตีความมีคุณธรรมของศาสดามุฮัมหมัด. โอมาร์เป็นที่รู้กันในประวัติศาสตร์ โดยเป็นเคาะลีฟะฮ์คนที่สอง; ส่วนเซดและปัลมิรานั้นคือซัยด์ อิบน์ ฮาริษะฮ์ กับซัยนับ บินต์ ญะฮัช บุตรบุญธรรมและภรรยาของมุฮัมหมัด

ปีแยร์ มิลซาบอกว่า "น่าจะเป็นการถือทิฐิของชาวคริสต์โรมันคาทอลิก"[3] โดยอ้างถึงประโยคของโวลแตร์ในหนังสือว่า: "ฉันพยายามแสดงว่าความบ้าคลั่งที่นำโดยคนหลอกลวง สามารถทำให้ใจที่อ่อนไหวหลงเชื่อได้"[4] และมีอ้างอิงว่า เรื่องนี้มีแรงบันดาลใจจากฌาคส์ คลิเมนต์ บาทหลวงที่สังหารพระเจ้าอ็องรีที่ 3 แห่งฝรั่งเศสในปีค.ศ.1589[5] อย่างไรก็ตาม ปีแยร์ มิลซา บอกว่าเขาไม่ได้ใช้อิสลามเป็นแก่นเรื่อง แล้วสรุปว่าผู้เขียนได้แรงบันดาลใจจาก "การถือทิฐิและก่ออาชญากรรมของชาวคริสต์ที่ได้กล่าวนามของพระคริสต์"[6]

การตอบรับ[แก้]

จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ได้วิจารณ์หนังสือเล่มนี้ว่าทำให้เขาดูเหมือนทรราชมากกว่า "ชายผู้ยิ่งใหญ่"[7]

ในปี 2005 โรงละครที่แสดงเรื่องนี้ที่แซ็ง-เฌอนิส-ปุย, จังหวัดแอ็ง, ประเทศฝรั่งเศสถูกสั่งให้ยกเลิกการแสดงและมีผู้ประท้วงอยู่ด้านนอกงานแสดง[8] แต่นายกรัฐมนตรียังคงให้มีการแสดงนี้ต่อไปด้วยเหตุผลว่า "เสรีภาพทางการพูดคือจุดที่ทำให้ยุโรปยั่งยืน"[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. Voltaire, Mahomet the Prophet or Fanaticism: A Tragedy in Five Acts, trans. Robert L. Myers, ( New York: Frederick Ungar, 1964).
  2. Voltaire Letter to Benedict XIV written in Paris on August 17, 1745 AD: "Your holiness will pardon the liberty taken by one of the lowest of the faithful, though a zealous admirer of virtue, of submitting to the head of the true religion this performance, written in opposition to the founder of a false and barbarous sect. To whom could I with more propriety inscribe a satire on the cruelty and errors of a false prophet, than to the vicar and representative of a God of truth and mercy? Your holiness will therefore give me leave to lay at your feet both the piece and the author of it, and humbly to request your protection of the one, and your benediction upon the other; in hopes of which, with the profoundest reverence, I kiss your sacred feet."
  3. [Pierre Milza, Voltaire p.638, Librairie Académique Perrin, 2007
  4. Voltaire, Lettres inédites de Voltaire, Didier, 1856, t.1, Lettre à M. César De Missy, 1er septembre 1743, p.450
  5. Voltaire, Lettres inédites de Voltaire, Didier, 1856, t.1, Lettre à M. César De Missy, 1 septembre 1742, p.450
  6. Pierre Milza, Voltaire p.638, Librairie Académique Perrin, 2007
  7. Memoirs of the Life, Exile, and Conversations of the Emperor Napoleon, volume 2, Emmanuel-Auguste-Dieudonné comte de Las Cases, Redfield, 1855, p.94
  8. 8.0 8.1 Pittsburgh Post-Gazette: "Muslims ask French to cancel 1741 play by Voltaire", 06 March 2006

เว็บไซต์[แก้]