มะม่วงกวน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มะม่วงกวน

มะม่วงกวน, ส้มแผ่น หรือ ส้มลิ้ม เป็นขนมชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นแผ่นบาง ๆ ค่อนข้างใส สีออกเหลืองหรือน้ำตาลอมเหลือง มีความเหนียวพอสมควร ทำเป็นรูปวงกลม ดอกไม้ หรือ ม้วนเป็นเกลียว เป็นต้น การทำมะม่วงกวนถือเป็นหนึ่งในวิธีการถนอมอาหารที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ หลักการถนอมอาหารโดยการกวนนั้นมีหลักดังนี้คือ นำเอาผลไม้ที่สุกแล้วมาเคี่ยวผสมรวมกับน้ำตาล โดยอาศัยความร้อนเป็นหลัก ซึ่งในการทำมะม่วงกวนนั้น ถือเป็นการกวนแบบแห้งที่ต้องใช้น้ำตาลในอัตราส่วนมาก ๆ นั่นเอง รสชาติของมะม่วงกวน โดยส่วนใหญ่มักมีรสหวาน หวานอมเปรี้ยว หรือเปรี้ยวจัด โดยเคล็ดลับในการทำมะม่วงกวนให้น่ากิน คือการเลือกมะม่วงที่ไม่สุกจนเกินไป และแนะนำให้ใช้มะม่วงแก้วซึ่งเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายมากที่สุดในท้องตลาด หรือสามารถนำเอามะม่วงหลาย ๆ ชนิดมาผสมรวมกันก็ได้ ในความเป็นจริง วิธีการทำมะม่วงกวนนั้นถือว่าไม่มีหลักเกณฑ์หรืออัตราส่วนของส่วนผสมที่แน่นอนตายตัว ขึ้นอยู่กับการประยุกต์ดัดแปลงของแต่ละคนเพื่อให้ได้มะม่วงกวนในรสชาติตามที่ต้องการ

ประโยชน์[แก้]

  1. เป็นการถนอมอาหาร ทำให้สามารถเก็บเนื้อมะม่วงไว้กินได้นานขึ้น
  2. ได้กินมะม่วงในรูปแบบ สี กลิ่น รสชาติที่ต่างไปจากการกินมะม่วงทั่วไป
  3. เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์และสร้างรายได้เสริมให้กับผู้ผลิต
  4. กินแล้วอิ่ม
  5. กินแล้วชุ่มคอ

แหล่งผลิตชื่อดัง[แก้]

ตัวอย่างเช่น มะม่วงกวนสูตรแปดริ้วของจังหวัดฉะเชิงเทรา หรือมะม่วงกวนหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลของอำเภอหัวหิน เป็นต้น

อ้างอิง[แก้]

หนังสือวิธีการถนอมอาหาร โดย ยุวดี ชื่นจิตร, หน้า 45, สำนักพิมพ์ลายน้ำ