มะกอกโคก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มะกอกโคก
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
เคลด: แอสเทอริด
อันดับ: กะเพรา
วงศ์: วงศ์มะลิ
เผ่าย่อย: Schreberinae
สกุล: Schrebera
ชื่อทวินาม
Schrebera swietenioides
Roxb.

มะกอกโคก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Shrebera swieteniodes) มีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น โยนีปีศาจ หีผี มะกอกดอน สำโรง มะกักป่า มะกอกเผือก เป็นต้น

มะกอกโคก เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ สูงประมาณ 10 – 15 เมตร เป็นพืชถิ่นเดียว พบตามภูเขาไฟเก่า เช่นแถบเขากระโดง เขาอังคาร เขาพนมรุ้งซึ่งเคยเป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทนานแล้ว

ใบ ประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ปลายคี่ เรียงตรงข้าม ช่อใบยาว ใบย่อย 2 – 3 คู่ เรียงตรงข้ามรูปไข่ รูปใบหอก หรือรูปขอบขนาน แกมรูปรี ปลายแหลม โคนสอบเรียวปลายแคบไปตามก้าน ขอบเรียบ ด้านบนเกลี้ยงหรือมีขนประปราย ด้านล่างมีขนนุ่ม

ดอก ดอกเล็กออกเป็นช่อกระจะที่ปลายกิ่ง

ผลของมะกอกโคกเป็นรูปไข่กลับ เปลือกแข็ง แตกเป็นสองซีกเมื่อแห้ง เมล็ดมีปีก ผลที่แก่จัดจะแตกเป็น 2 ซีก มองเห็นเมล็ดข้างในได้ตามชื่อที่เรียกกัน หากนำไปกดบนดินทราย จะยิ่งดูแปลกคล้ายอวัยวะเพศหญิงมาก[1]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]