ภูมิศาสตร์เอเชีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอเชีย
Asia
พื้นที่44,579,000 ตร.กม.
(อันดับที่ 1)
ประชากร4,164,252,000 คน
(อันดับที่ 1)
ความหนาแน่น87 คน/ตร.กม.
(อันดับที่ 1)
เดมะนิมชาวเอเชีย (Asian)
ประเทศ48 ประเทศ
ดินแดน
จำนวนรัฐที่ไม่ใช่สมาชิก UN
ภาษาดูที่ ภาษาในทวีปเอเชีย
เขตเวลาUTC+2 ถึง UTC+12
โดเมนระดับบนสุด.asia
แผนที่ภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชียในปี 1730 ของ Johan Christoph Homann โดยแบ่งภูมิภาคเอเชียเป็นสีต่างๆ
ภาพรวมของทวีปเอเชีย
ภาพทวีปเอเชีย

ภูมิศาสตร์เอเชีย (อังกฤษ: Geography of Asia) คือลักษณะภูมิศาสตร์ต่างๆของทวีปเอเชียซึ่งเป็น 1 ใน 7 ทวีปของโลก ทวีปเอเชียเป็นทวีปที่ใหญ่ที่สุดในโลกมีขนาด 44,579,000 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 8.7 ของผิวโลก (ร้อยละ 30 ของส่วนที่เป็นพื้นดิน) และมีประชากรราว 3,900 ล้านคน หรือร้อยละ 60 ของประชากรมนุษย์ปัจจุบัน[1]

ลักษณะทางภูมิศาสตร์[แก้]

เขตแดน[แก้]

เขตแดนของเอเชียนั้นจะขึ้นอยู่ว่าการแบ่งเขตนั้นยึดตามหลักภูมิศาสตร์หรือยึดตามหลักอื่นๆเช่นถ้ายึดตามหลักวัฒนธรรมเอเชียตะวันตกและเอเชียกลางก็จะมีความคล้ายคลึงกับทวีปยุโรปมากกว่า หรือยกตัวอย่างในตะวันออกกลางที่มีประเทศอียิปต์รวมอยู่ด้วยนั้นก็จะไม่นับประเทศอียิปต์เข้ามารวมกับทวีปเอเชียถึงแม้จะเป็นประเทศตะวันออกกลางเหมือกันกับประเทศตะวันออกกลางอื่นๆอย่างประเทศอิรัก,ประเทศซาอุดีอาระเบียเป็นต้น

อาณาเขตที่ใช้ในการแบ่งทวีปเอเชียกับทวีปแอฟริกาคือคลองสุเอซและทะเลแดง ส่วนการแบ่งเขตทวีปยุโรปกับทวีปเอเชียคือทางตะวันตกเฉียงเหนือนั้นจะใช้เทือกเขายูรัลในประเทศรัสเซียในการแบ่งเขต ส่วนในตะวันตกนั้นยังไม่มีการกำหนดอย่างแน่ชัดแต่ส่วนมากจะใช้แม่น้ำยูรัล,แม่น้ำเอ็มบา,ทะเลดำและทะเลแคสเปียนในการแบ่งเขต โดยจุดสิ้นสุดของทวีปเอเชียคือช่องแคบบอสพอรัสในประเทศตุรกี และส่วนที่แยกทวีปเอเชียออกจากทวีปอเมริกาเหนือคือช่องแคบเบริง

ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเอเชียคือคาบสมุทรมลายู (เป็นจุดสิ้นสุดของเอเชียแผ่นดินใหญ่) และมีหมู่เกาะของประเทศอินโดนีเซียเป็นจุดสิ้นสุดอาณาเขตของทวีปเอเชียซึ่งรวมเกาะเล็กเกาะน้อยที่เป็นหมู่เกาะร้างของประเทศอินโดนีเซียด้วยแต่สำหรับเกาะนิวกินีนั้นถือว่าเป็นเกาะของทวีปออสเตรเลีย ถึงแม้ทวีปออสเตรเลียจะอยู่ใกล้กับทวีปเอเชียมากแต่ก็ถือว่าเป็นอีกทวีปนึงเนื่องจากทั้งสองทวีปนี้อยู่บนเปลือกโลกคนละแผ่นกัน[2]ส่วนหมู่เกาะของประเทศญี่ปุ่นที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปออสเตรเลียนั้นก็ถือว่าเป็นหมู่เกาะของโอเชียเนีย

ขนาดโดยรวม[แก้]

ขนาดของทวีปเอเชียที่มีการประเมินพื้นที่ด้วยเส้นขอบจินตนาการของสำนักข่าวเดอะนิวยอร์กไทมส์ได้ตีข่าวว่าทวีปเอเชียมีขนาด43,608,000ตารางกิโลเมตรหรือ16,837,000 ตารางไมล์[3] ส่วนChambers World Gazetteer ได้บอกว่ามีขนาด 44,000,000 km2 (17,000,000 sq mi),[4] และ Concise Columbia Encyclopedia ได้บอกว่ามีขนาด 44,390,000 km2 (17,140,000 sq mi).[5] ส่วน The 2011 Pearson's บอกว่ามีขนาด 44,030,000 km2 (17,000,000 sq mi).[6]แต่วิธีการหาค่าตัวเลขเฉลี่ยเหล่านี้ของสำนักข่าวและหนังสือพิมพ์พวกนี้นั้นกลับไม่มีการออกมาเปิดเผย

พื้นที่ทั้งหมดของทวีปเอเชียนั้นอยู่ภายในรูปสี่เหลี่ยมของเส้นพิกัดภูมิศาสตร์โดยมีพิกัดดังนี้[7]

เหนือสุดของเอเชียคือแหลมเชลยูสกิน พิกัดคือ 77° เหนือ 105°ตะวันออก

ใต้สุดของเอเชียอยู่ที่ แหลมมลายู พิกัดคือ 1° เหนือ 104°ตะวันออก

ตะวันออกสุดของเอเชียคือ แหลมเดจเนฟ พิกัดคือ 65° เหนือ 169° ตะวันตก

ตะวันตกสุดของเอเชียคือ แหลมบาบา พิกัดคือ 39°เหนิอ 26°ตะวันออก

ระยะทางคือกว้างประมาณ 8,560 กิโลเมตร (5,320 ไมล์) และยาว 9,600 กิโลเมตร (6,000 ไมล์) ตามหลัก Chambers , หรือ 8,700 กิโลเมตร (5,400 ไมล์) ยาว 9,700 กิโลเมตร (6,000 ไมล์) ตามหลัก Pearson's

  • หมายเหตุ พื้นที่และอาณาเขตทั้งหมดนี้เป็นพิกัดของเอเชียแผ่นดินใหญ่ (ไม่รวมหมู่เกาะและประเทศอินโดนีเซีย)

ประเทศอินโดนีเซียนั้นมีหมู่เกาะนับพันเกาะทำให้ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงใต้มากมายซึ่งลักษณะทางภูมิประเทศที่ใหล้กับทวีปออสเตรเลียเช่นนี้ทำให้มีคำถามมากมายว่าพื้นที่ของก้นสมุทรนั้นเป็นของทวีปเอเชียหรือทวีปออสเตรเลีย ทำให้ชายแดนออสเตรเลี-อินโดนีเซียยังอยู่ระหว่างการพิจารรา ปัจจุบันสนธิสัญญา พ.ศ. 2540 ยังไม่ได้ให้สัตยาบันจากทั้งสองฝ่าย และยังทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับสิทธิการประมงในน่านน้ำและสิทธิในแร่ในก้นทะเลอีกด้วย

มุมมองต่อเอเชีย[แก้]

มุมมองทางภูมิศาสตร์หรือแบบดั้งเดิม[แก้]

ชาวยุโรปในยุคกลางถือว่าเอเชียเป็นทวีปที่อยู่ในโลกเก่าซึ่งทวีปโลกเก่านั้นมีสามทวีปคือ ทวีปเอเชีย, ทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกาแนวความคิดของชาวยุโรปต่อทวีปเอเชียคือเป็นแหล่งที่มีวัฒนธรรมที่แปลกประหลาดเป็นแหล่งเครืองเทศและสมุนไพร่ เมื่อก่อนนั้นนักภูมิศาสตร์ยุคคลาสสิกนั้นคิดว่าทวีปนั้นมีความหมายว่าทั้ง3นั้นเป็นทวีปเดี่ยวกันซึ่งมีการเขียนลงแผนที่เล่มและสือสิ่งพิมพ์มากมาย ซึ่งได่มีการตีพิมพ์ลงนิตยสาร National Geographic และCIA World Factbook รวมไปถึง ดิกชันนารีของMerriam-Webster ด้วย

ต้นกำเนิด[แก้]

ชายฝั่งทะเลของตุรกีซึ่งถือเป็นชายฝั่งของเอเชียดั้งเดิมที่สามารถเห็นได้บนชายหาดของเกาะโรดส์
แผนที่ของเฮอรอโดทัสเป็นแผนที่โบราณของโลก (Oikumene) ในประมาณ พ.ศ. 90 หรือ 450 ปีก่อนคริสตกาล

ระบบสามทวีปเป็นแนวคิดที่สร้างขึ้นในสมัยกรีซโบรานซึ่งเป็นยุคของการขยายอาณานิคมและการค้าทั่วไปในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและการเขียนเรื่องราวที่มีกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งการเขียนบันทึกเรื่องราวนั้นเป็นเรื่องสำคัญของนักภูมิศาสตร์ซึ่งต่อมาการเขียนเกี่ยวกับภูมิศาสตร์นั้นภูกห้ามเนื่องจากเหยุผลเพื่อป้องการแบ่งแยกดินแดนในสมันก่อนนั้นกรีกจะไม่ตอนรับคนจากทวีปเอเชียซักเท่าไหร่และเรียกคนที่มาจากเอเชียว่า "mainland ēpeiros" และกรีกก็มีดินแดนบนทวีปแอฟริกาตรงที่เป็นประเทศลิเบียในปัจจุบันซึ่งในสมัยนั้นจะเรียกว่าเกาะ"nēsoi" ส่วนเอเชียจะเรียกว่า"ēpeiros" เพราะยังไม่มีคำนิยามในคำว่า"ทวีป"[8] รากศัพท์ของคำว่า "ēpeir" มาจากกลุ่มภาษาอินโด - ยูโรเปียน ซึ่งมีความหมายเดียวกันกับภาษาอังกฤษว่า "over" หรือแปลเป็นไทยว่า "มา" และความหมายของคำว่า "mainland ēpeiros" ซึ่งเป็นคำเรียกคนจากเอเชียนั้นแปลว่า"มาจากแผ่นดินใหญ่"[9] และคำว่า"ēpeiros"ในภาษาอาร์เมเนียนั้นหมายถึง "ชายฝั่ง" ส่วนในภาษาลาติน มันแปลเป็น "ทวีปดินแดน"

เรือส่วนใหญ่ในยุคโบราณนั้นไม่ได้ท่องออกไปในมหาสมุทรแต่จะแล่นไปแค่ชายฝั่งในบริเวณนั้นจึงทำให้มันเป็นเรื่องที่ไม่แปลกถ้าคนสมัยนั้นจะเรียกชายฝั่งบริเวณใกล้เคียงนั้นว่าทวีป จนกระทั่งเฮอรอโดทัสได้เริ่มสร้างแผ่นที่ในยุคโบราณขึ้นโดยมีการเรียกทวีปเอเชียว่า "bluffs" และ "shores" และมีการวาดแผนที่ซึ่งพอเป็นที่รู้จักโดยเริ่มจากเมือง Phasis ของอาณาจักร Colchis ซึ่งเป็นประเทศจอร์เจียในปัจจุบัน แล้วค่อยๆไล่ไปตามทะเลดำและก็ไล่ไปจนถึงอานาโตเลียไปถึงฟินิเชียและไปถึงทะเลPhoenicia (คือทะเลแดงร่วมกับอ่าวเปอร์เซียและมหาสมุทรอินเดีย) ไปจนถึงอินเดีย (ซึ่งในสมัยนั้นอินเดียยังเป็นดินแดนที่ยังไม่มีคนรู้จัก)[10]

มุมมองธรณีวิทยา[แก้]

แผนที่แสดงแผ่นเปลือกโลก
  สีเขียว แผ่นยูเรเซีย
  สีแดง แผ่นอินเดีย
  สีเหลือง แผ่นอาหรับ

จากการศึกษาทางธรณีวิทยาเกี่ยวกับแผ่นเปลือกโลกนั้นทำให้พบว่าอนุทวีปอินเดียนั้นถือว่าเป็นทวีปเนื่องจากอยู่ในแผ่นเปลือกโลกอินเดียซึ่งได้มาชนกับแผ่นยูเรเซียจนรวมกันกลายเป็นทวีปเอเชียโดยการชนในครั่งนี้ทำให้เกิดเทือกเขาหิมาลัยขึ้น[11]

ถ้าตามความหมายของแผ่นทวีปนั้นจะถือว่าทวีปยุโรปนั้นเป็นคาบสมุทรของทวีปเอเชียเนืองจากทั้งสองทวีปนี้อยู่ในแผ่นยูเรเซียและทวีปยุโรปก็ถูกทะเลล้อมทั้ง3ด้านซึ่งถือว่าเป็นคาบสมุทรทำให้เรียกยุโรปว่าเป็นคาบสมุทรที่ใหญ่ที่สุดของเอเชีย

ในการแบ่งทวีปนั้นถ้าแบ่งตามแผ่นเปลือกโลกนั้นยุโรปจะถือว่าเป็นทวีปเดียวกันกับทวีปเอเชียแต่อินเดียและอาหรับจะกลายเป็นทวีปใหม่เนืองจากอยู่กันคนละแผ่นเปลือกกับทวีปเอเชีย

มุมมองภูมิภาค[แก้]

นักภูมิศาสตร์หลายคนคิดว่าควรแบ่งทวีปเอเชียและทวีปยุโรปออกจากันด้วยสาเหตุทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม และนั้นจึงทำให้มีการแยกเอเชียออกเป็บภูมิภาคต่างๆโดยใช้หลักเกณฑ์ทางภูมิศาสตร์,วัฒนธรรม,และวิถีการดำเนินชีวิตในการแบ่งเพื่อจะได้สามารถวิเคาระห์ได้อย่างระเอียดไปตามภูมิภาคนั้นๆได้ดีขึ้น

มุมมองของชาติพันธุ์[แก้]

ในภาษายุโรปคำว่า "เอเชีย" โดยทั่วไปหมายถึงมรดกทางชาติพันธุ์มากกว่าพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ในภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน "เอเชีย" มักหมายถึงชาวเอเชียตะวันออกในขณะที่ภาษาอังกฤษแบบอังกฤษเอเชียมักหมายถึงชาวเอเชียใต้

เอเชียแปซิฟิกโดยทั่วไปหมายถึงการรวมกันของเอเชียตะวันออกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และหมู่เกาะ]ในมหาสมุทรแปซิฟิกหรือโอเชียเนีย ทวีปเอเชียจะประกอบด้วยแผ่นยูเรเซีย,อนุทวีปอินเดีย,คาบสมุทรอาหรับรวมทั้งแผ่นอเมริกาเหนือในเขตไซบีเรียอีกด้วย

ภูมิภาค[แก้]

ตั่งแต่ศควรรษที่18 ทวีปเอเชียได้แบ่งออกเป็นหลายภูมิภาคโดยการแบ่งภูมิภาคพวกนี้ยังไม่มีการกำหนดที่แน่ชัด

เอเชียมีภูมิภาคต่างๆดังนี้:

เอเชียกลาง
ประกอบไปด้วยประเทศต่างๆดังนี้
  1. ธงของประเทศอุซเบกิสถาน อุซเบกิสถาน
  2. ธงของประเทศเติร์กเมนิสถาน เติร์กเมนิสถาน
  3. ธงของประเทศทาจิกิสถาน ทาจิกิสถาน
  4. ธงของประเทศคีร์กีซสถาน คีร์กีซสถาน
  5. ธงของประเทศคาซัคสถาน คาซัคสถาน
เอเชียตะวันออก
ประกอบไปด้วยประเทศต่างๆดังนี้[12]
  1. ธงของประเทศจีน จีน ยกเว้น มณฑลชิงไห่, เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ และเขตปกครองตนเองทิเบต ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อาจจัดให้อยู่ในเขตภูมิภาคเอเชียกลาง
  2. ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
  3. ธงของประเทศเกาหลีเหนือ เกาหลีเหนือ
  4. ธงของประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้
  5. ธงของสาธารณรัฐจีน ไต้หวัน
  6. ธงของประเทศมองโกเลีย มองโกเลีย
เอเชียใต้
ประกอบไปด้วยประเทศต่างๆดังนี้[13]
  1. ธงของประเทศอัฟกานิสถาน อัฟกานิสถาน
  2. ธงของประเทศบังกลาเทศ บังกลาเทศ
  3. ธงของประเทศภูฏาน ภูฏาน
  4. ธงของประเทศอินเดีย อินเดีย
  5. ธงของประเทศมัลดีฟส์ มัลดีฟส์
  6. ธงของประเทศเนปาล เนปาล
  7. ธงของประเทศปากีสถาน ปากีสถาน
  8. ธงของประเทศศรีลังกา ศรีลังกา
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประกอบไปด้วยประเทศต่างๆดังนี้;[14]
  1.  ไทย
  2. ธงของประเทศบรูไนดารุสซาลาม บรูไน
  3. ธงของประเทศกัมพูชา กัมพูชา
  4. ธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย
  5. ธงของประเทศลาว ลาว
  6. ธงของประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย
  7.  พม่า
  8. ธงของประเทศฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
  9.  สิงคโปร์
  10.  ติมอร์-เลสเต
  11. ธงของประเทศเวียดนาม เวียดนาม
เอเชียตะวันตก (หรือ ตะวันออกกลาง หรือ ตะวันออกกลาง +ประเทศอียิปต์)
ประกอบไปด้วยประเทศต่างๆดังนี้;[15]
  1. ธงของประเทศอาร์มีเนีย อาร์มีเนีย
  2. ธงของประเทศอาเซอร์ไบจาน อาเซอร์ไบจาน
  3. ธงของประเทศบาห์เรน บาห์เรน
  4. ธงของประเทศจอร์เจีย จอร์เจีย
  5. ธงของประเทศอิหร่าน อิหร่าน
  6. ธงของประเทศอิรัก อิรัก
  7. ธงของประเทศอิสราเอล อิสราเอล
  8. ธงของประเทศจอร์แดน จอร์แดน
  9. ธงของประเทศคูเวต คูเวต
  10. ธงของประเทศเลบานอน เลบานอน
  11. ธงของประเทศโอมาน โอมาน
  12. ธงของประเทศกาตาร์ กาตาร์
  13. ธงของประเทศซาอุดีอาระเบีย ซาอุดีอาระเบีย
  14. ธงของประเทศซีเรีย ซีเรีย
  15. ธงของประเทศตุรกี ตุรกี
  16. ธงของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
  17. ธงของประเทศเยเมน เยเมน
  18. ฉนวนกาซา

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเอเชีย[แก้]

จากการสำรวจในปี 2010ได้มีการวิเคราะห์ความเสี่ยงระดับโลกระบุว่ามี 16 ประเทศที่มีความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมาก โดตใช้หลักจากสถิติการเปลียนแปลงทาวภูมิอากาศในช่วงปีที่ผ่านมาและดัชนีชี้วัดทางสังคมเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมจำนวน 42 ตัวซึ่งทำให้พบว่าในอีก30ปีข้างหน้าประเทศในแถบบังกลาเทศ,อินเดีย,เวียดนาม,ไทย,ปากีสถานและศรีลังกาอยู่ใน 16 ประเทศที่มีความเสี่ยงสูง โดยยกตัวอย่างเช่นในเขตร้อนชื้นของอินเดียที่มีสภาพภูมิอากาศกึ่งแห้งแล้งอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 0.4 ° C ระหว่าง 1901 และ 2003

การศึกษาในปี 2013 จากสถาบันวิจัยพืชระหว่างประเทศสำหรับเขตร้อนกึ่งแห้งแล้ง (ICRISAT) ได้ระบุว่าการทำเกษตรของประเทศในเอเชียก็มีส่วนในการเปลี่ยนแปลงในสภาพภูมิอากาศของโลก จึงได้มีข้อเสนอแนะคือการปรับปรุงการใช้ข้อมูลสภาพภูมิอากาศในการวางแผนท้องถิ่นและการเสริมสร้างความเข้มแข็งของบริการเช่นให้คำปรึกษาด้านการเกษตรเพื่อให้เกิดการกระจายความหลากหลายรายได้ของครัวเรือนในชนบทและเป็นแรงจูงใจให้กับเกษตรกรในการดำเนินการตามมาตรการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อลดการบุกรุกป่าลดการใช้น้ำบาดาลและ ใช้พลังงานทดแทน[16]

ประเทศที่ UNSD กำหนดให้อยู่ในทวีปเอเชีย[แก้]

แผนกสถิติของสหประชาชาติได้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับภูมิภาคต่างๆทั่วโลกรวมทั้งเอเชียและได้จัดทำมาตรฐานการจำแนกตามมาตรฐานสหประชาชาติ M49 ซึ่งกำหนดหมายเลขรหัสให้กับพื้นที่ทวีปพื้นที่และประเทศต่างๆตามวัตถุประสงค์ทางสถิติ[17] และประเทศและภูมิภาคที่มีการรวมกลุ่มกันก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีความสัมพันธ์ทางการเมืองหรือความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม[17] ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับประเทศเอเชียได้ระบุไว้ใน M49 รหัสของทวีปเอเชียคือ (142) และภูมิภาคที่ไม่ใช่ของทวีปเอเชียคือภูมิภาคเอเชียเหนือซึ่งมีรัสเซียประเทศเดียว

M49 เป็นอุปกรณ์สำหรับเก็บสถิติที่เป็นประโยชน์สำหรับ UNSD และเป็นสิ่งที่เอาไวใช้อ้างอิงที่ในการนำเสนอเกี่ยวๆกับสถิติมาตรฐานระดับโลก ถึงจะเป็นแผนกสถิติของสหประชาชาติแต่ข้อมูลนั้นก็อาจจะเป็นมาตรฐานที่ไม่แม่นยำหรือแน่นอน

ไม่มีประเทศใดใช้ M49 เป็นมาตรฐานบังคับ อย่างไรก็ตามมันสามารถแสดงเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ทางการเมืองของเอเชีย แต่ถึงอย่างนั้น M49 ได้รับการอัปเดตบ่อยๆเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางภูมิศาสตร์การเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุการณ์ต่างๆบนโลก

ปัญหาหนึ่งในการทำสถิติของเอเชียคือภูมิภาคเอเชียเหนือเนืองจากยังไม่มีรหัสภูมิภาคและยังไม่เป็นภูมิภาคที่เป็นทางการของรัสเซียเนืองจากถึงแม้จะมีการแบ่งอาณาเขตแล้วแต่รัสเซียยืนยันว่าประเทศตนเองอยู่ในทวีปยุโรป

แผนที่ภูมิรัฐศาสตร์[แก้]

แผนที่แสดงอาณาเขตของทวีปเอเชีย

ประเทศไทยประเทศลาวประเทศกัมพูชาประเทศเวียดนามประเทศพม่าประเทศมาเลเซียประเทศบรูไนประเทศสิงคโปร์ประเทศอินโดนีเซียประเทศฟิลิปปินส์ประเทศติมอร์-เลสเตประเทศบังกลาเทศประเทศอินเดียประเทศภูฏานประเทศเนปาลประเทศศรีลังกาประเทศมัลดีฟส์ประเทศปากีสถานประเทศไตหวันประเทศจีนประเทศมองโกเลียประเทศเกาหลีเหนือประเทศเกาหลีใต้ประเทศญึ่ปุ่นประเทศอัฟกานิสถานประเทศทาจิกิสถานประเทศคีร์กีซสถานประเทศอุซเบกิสถานประเทศคาซัคสถานประเทศเติร์กเมนิสถานประเทศจอร์เจียประเทศอาร์มีเนียประเทศอาเซอร์ไบจานประเทศอิหร่านประเทศอิรักประเทศคูเวตประเทศซาอุดีอาระเบียประเทศบาห์เรนประเทศกาตาร์ประเทศโอมานสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ประเทศเยเมนประเทศจอร์แดนประเทศอิสราเอลประเทศเลบานอนประเทศตุรกีประเทศซีเรียประเทศไซปรัสไซปรัสเหนือดินแดนปาเลสไตน์ประเทศรัสเซีย

ลองกดตำแหน่งต่าง ๆ เพื่อดูประเทศในทวีปเอเชีย

ข้อมูลทางภูมิรัฐศาสตร์เอเชีย[แก้]

บทนำ[แก้]

ประเทศที่อยู่ในทวีปเอเชียนั้นคือประเทศที่มีดินแดนตั้งอยู่ในอาณาเขตของทวีปเอเชียที่มีการแบ่งอาณาเขตอย่างชักเจนแล้วแต่ถึงอย่างนั้นบางประเทศก็ไม่ได้อยู่ในทวีปเอเชียตามโครงการของ UNSD เช่นรัสเซียแต่เพื่อเพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติของกองสถิติสหประชาชาติจึงได้นำสถิติประชากรของประเทศบางส่วนที่อยู่ในเอเชียมานับเป็นประชากรในทวีปเอเชียด้วย แต่ทั้งนี้ก็จะไม่นับรวมกับคาบสมุทรไซไนของประเทศอียิปต์เนื่องจากถึงจะอยู่ในเอเชียแต่ส่งนใหญ่ของอียิปต์อยู่ในแอฟริกาจึงไม่เหมือนในกรณีของรัสเซีย และหมู่เกาะในเอเชียตะวันตกและดินแดนนอกของเกาะคริสต์มาสและหมู่เกาะโคโคสที่ถึงจะมีความเกี่ยวข้องกับเอเชียแต่ก็ไม่เอามารวมกับสถิติของเอเชียตามหลักgeoscheme UNSD

ปัจจุบันยังไม่มีมาตรฐานสากลที่กำหนดอาณาเขตของเอเชีย จึงใช่มุมมองแบบดั้งเดิมเป็นค่าประมาณในการแบ่งเขต เช่นการแบ่งเขตของอินโดนีเซียกับออสเตรเลียเป็นต้น

ในทวีปเอเชียมีประเทศข้ามทวีปค่อนข้างเยอะซึ่งส่วนใหญ่จะมีดินแดนเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่ข้ามไปอยู่ทวีปอื่นจึงทำให้ประเทศเหล่านี้ถือว่าอยู่ในทวีปเอเชีย[18] มีเพียงแค่ประเทศรัสเซียเท่านั้นที่ถือว่าอยู่ในทวีปยุโรป

Petrovsky คือแนวโน้มในการจัดตั้งหน่วยงานข้ามทวีป หรือหมายถึงหน่วยงานที่มีเขตแดนข้ามพรมแดนทวีปมากกว่าทั้งทวีป[19] แต่ถึงอย่างนั้นรวบรวมส่วนต่างๆของทวีปเอเชียนั้นค่อนข่างเป็นเรื่องที่ยาก[20]

ข้อมูลที่รวมอยู่ในตารางด้านล่างเป็นข้อมูลที่มาจาก CIA World Factbook ทั้งนี้ข้อมูลด้านล่างจะนับแค่ส่วนที่อยู่ในเอเชียเท่านั้นและประเทศบางประเทศก็ไม่ได้นำมาจัดอันดับด้วยจึงทำให้ไม่สามารถสรุปข้อมูลรวมของเอเชียได้อย่างแน่ชัด

ตาราง[แก้]

รหัส ชื่อประเทศ/ดินแดน
และธงชาติ
ขนาดพื้นที่
(ตารางกิโลเมตร)
จำนวนประชากร ความหนาแน่นประชากร
(ต่อตารางกิโลเมตร)
วัน เมืองหลวง
143 เอเชียกลาง
398 ธงของประเทศคาซัคสถาน คาซัคสถานb[›] 2,724,927 16,536,000 6.1 Jan 2011 อัสตานา
417 ธงของประเทศคีร์กีซสถาน คีร์กีซสถาน 199,951 5,587,443 27.9 Jul 2011 บิชเคก
762 ธงของประเทศทาจิกิสถาน ทาจิกิสถาน 143,100 7,627,200 53.3 Jul 2011 ดูชานเบ
795 ธงของประเทศเติร์กเมนิสถาน เติร์กเมนิสถาน 488,100 4,997,503 10.2 Jul 2011 อาชกาบัต
860 ธงของประเทศอุซเบกิสถาน อุซเบกิสถาน 447,400 28,128,600 62.9 Jul 2011 ทาชเคนต์
030 เอเชียตะวันออก
156 ธงของประเทศจีน จีนf[›]g[›] 9,640,821 1,322,044,605 134.0 ปักกิ่ง
344 ธงของเขตปกครองพิเศษฮ่องกง ฮ่องกงf[›] 1,104 7,122,508 6,451.5 Jul 2011
392 ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 377,947 127,920,000 338.5 Jul 2011 โตเกียว
408 ธงของประเทศเกาหลีเหนือ เกาหลีเหนือ 120,540 23,479,095 184.4 เปียงยาง
410 ธงของประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ 98,480 49,232,844 490.7 โซล
446 ธงของมาเก๊า มาเก๊าf[›] 25 460,823 18,473.3
496 ธงของประเทศมองโกเลีย มองโกเลีย 1,565,000 2,996,082 1.7 อูลานบาตาร์
158 ธงของสาธารณรัฐจีน ไต้หวันf[›] 35,980 22,920,946 626.7 ไทเป
N/A เอเชียเหนือ
643 ธงของประเทศรัสเซีย รัสเซียd[›] 13,119,600 37,630,081 2.9 มอสโก
035 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
096 ธงของประเทศบรูไนดารุสซาลาม บรูไน 5,770 381,371 66.1 บันดาร์เซอรีเบอกาวัน
104 ธงของประเทศพม่า พม่า 676,578 47,758,224 70.3 เนปยีดอ
116 ธงของประเทศกัมพูชา กัมพูชา[21] 181,035 13,388,910 74 พนมเปญ
360 ธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซียc[›] 1,919,440 230,512,000 120.1 จาการ์ตา
418 ธงของประเทศลาว ลาว 236,800 6,677,534 28.2 เวียงจันทน์
458 ธงของประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย 329,847 27,780,000 84.2 กัวลาลัมเปอร์
608 ธงของประเทศฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ 300,000 92,681,453 308.9 มะนิลา
702 ธงของประเทศสิงคโปร์ สิงคโปร์ 704 4,608,167 6,545.7 สิงคโปร์
764  ไทย 514,000 65,493,298 127.4 กรุงเทพมหานคร
626  ติมอร์-เลสเตc[›] 15,007 1,108,777 73.8 ดิลี
704 ธงของประเทศเวียดนาม เวียดนาม 331,690 86,116,559 259.6 ฮานอย
034 เอเชียใต้
004 ธงของประเทศอัฟกานิสถาน อัฟกานิสถาน 647,500 32,738,775 42.9 คาบูล
050 ธงของประเทศบังกลาเทศ บังกลาเทศ 147,570 153,546,901 1040.5 ธากา
064 ธงของประเทศภูฏาน ภูฏาน 38,394 682,321 17.8 ทิมพู
356 ธงของประเทศอินเดีย อินเดียg[›] 3,287,263 1,147,995,226 349.2 นิวเดลี
462 ธงของประเทศมัลดีฟส์ มัลดีฟส์ 300 379,174 1,263.3 มาเล
524 ธงของประเทศเนปาล เนปาล 147,181 29,519,114 200.5 กาฐมาณฑุ
586 ธงของประเทศปากีสถาน ปากีสถานg[›] 803,940 167,762,049 208.7 อิสลามาบาด
144 ธงของประเทศศรีลังกา ศรีลังกา 65,610 21,128,773 322.0 โคลัมโบ
145 เอเชียตะวันตก
051 ธงของประเทศอาร์มีเนีย อาร์มีเนียe[›] 29,800 3,299,000 280.7 เยเรวาน
031 ธงของประเทศอาเซอร์ไบจาน อาเซอร์ไบจานa[›]b[›] 86,660 8,845,127 102.736 บากู
048 ธงของประเทศบาห์เรน บาห์เรน 665 718,306 987.1 มานามา
196 ธงของประเทศไซปรัส ไซปรัสe[›] 9,250 792,604 83.9 นิโคเซีย
268 ธงของประเทศจอร์เจีย จอร์เจียa[›] 69,700 4,636,400 65.1 ทบิลีซี
364 ธงของประเทศอิหร่าน อิหร่าน 1,648,195 70,472,846 42.8 เตหะราน
368 ธงของประเทศอิรัก อิรัก 437,072 28,221,181 54.9 แบกแดด
376 ธงของประเทศอิสราเอล อิสราเอล 20,770 7,112,359 290.3 เยรูซาเลมh[›]
400 ธงของประเทศจอร์แดน จอร์แดน 92,300 6,198,677 57.5 อัมมาน
414 ธงของประเทศคูเวต คูเวต 17,820 2,596,561 118.5 คูเวตซิตี
422 ธงของประเทศเลบานอน เลบานอน 10,452 3,971,941 353.6 เบรุต
512 ธงของประเทศโอมาน โอมาน 212,460 3,311,640 12.8 มัสกัต
275  ปาเลสไตน์ 6,257 4,277,000 683.5 รอมัลลอฮ์
634 ธงของประเทศกาตาร์ กาตาร์ 11,437 928,635 69.4 โดฮา
682 ธงของประเทศซาอุดีอาระเบีย ซาอุดีอาระเบีย 1,960,582 23,513,330 12.0 รียาด
760 ธงของประเทศซีเรีย ซีเรีย 185,180 19,747,586 92.6 ดามัสกัส
792 ธงของประเทศตุรกี ตุรกีa[›]b[›] อังการา
784 ธงของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 82,880 4,621,399 29.5 อาบูดาบี
887 ธงของประเทศเยเมน เยเมน 527,970 23,013,376 35.4 ซานา
142 ทวีปเอเชีย 43,810,582 4,162,966,086 89.07

หมายเหตุตาราง[แก้]

a อาเซอร์ไบจาน,จอร์เจียและตุรกีมักถูกมองว่าเป็นประเทศข้ามทวีปซึ่งครอบคลุมทั้งเอเชียและยุโรป[22] [23]ซึ่งอาจะรวมตะวันออกกลางด้วย[24]เนื่องจากมีบางประเทศอยู่ในกลุ่มEUและมีบางประเทศอยู่ในแอฟริกา[25]

b อาเซอร์ไบจาน,คาซัคสถานและตุรกีถือเป็นเขตแบ่งแยกระหว่างสองทวีป

c อินโดนีเซียมักถูกมองว่าเป็นประเทศข้ามทวีปเพราะมีอาณาเขตทั้งในเอเชียและโอเชียเนียและประเทศติมอร์ตะวันออกสามารถอยู่ในเอเชียหรือโอเชียเนียก็ได้ ตัวเลขประชากรและพื้นของประเทศอินโดนีเซียนั้นจะไม่รวมนิวกินีตะวันตก และ หมู่เกาะโมลุกกะ เนื่องจากสองเกาะนี้อยูในโอเชียเนีย

d รัสเซียถือเป็นประเทศที่มีอาณาเขตทางภาคพื้นทวีปยุโรปตะวันออกและเอเชียเหนือ ตัวเลขประชากรและพื้นที่ของเขตสหพันธ์ยูรัล,เขตสหพันธ์ไซบีเรียและเขตสหพันธ์ตะวันออกไกลนั้นถือว่าเป็นของทวีปเอเชีย

e เกาะไซปรัสนั้นถือว่าเป็นของเอเชีย[26]แต่เป็นสมาชิกขององค์กรในยุโรป[24]และสหภาพยุโรป[25]เช่นเดียวกับอาร์เมเนียที่ตั้งอยู่ในเอเชีย แต่เป็นสมาชิกของสภายุโรป[24]}}

f ตัวเลขอาณาเขตและจำนวนประชากรของจีนนั้นจะไม่นับรวมกับฮ่องกงและมาเก๊า

gอาณาเขตของอินเดียคือชัมมูและแคชเมียร์นั้นคือดินแดนที่มีข้อพิพาทระหว่าง3ประเทศคือ อินเดีย,ปากีสถานและจีน

h ในปี 1980, อิสราเอลได้ประกาศให้กรุงเยรูซาเลมเป็นเมืองหลวงของประเทศ ทำให้ปาเลสไตน์นั้นต้องแยกดินแดนออกมาโดยใช้เมืองหลวงคือเยรูซาเลมตะวันออกที่สามารถยึดคือมาจากอิสราเอลได้ในสงครามหกวันในปี 1967 แต่สหประชาชาติและหลายประเทศยังไม่ยอมรับการอ้างสิทธิ์ของปาเลสไตน์

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Like herrings in a barrel". The Economist. The Economist online, The Economist Group (Millennium issue: Population). 23 ธันวาคม 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มกราคม 2010. สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2017..
  2. การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค
  3. The New York Times and Bartholomew, Edinburgh (1992). The New York Times Atlas of the World. New York: Times Books (Random House). p. 44.
  4. "Asia". Chambers World Gazetteer (5th ed.). 1988.
  5. "Asia". The Concise Columbia Encyclopedia (2nd ed.). 1989.
  6. Edgar Thorpe; Shawick Thorpe (2011). The Pearson General Knowledge Manual. India: Dorling Kindersley. p. A.25.
  7. "Asia: The Land". The New Encyclopædia Britannica (15th ed.).
  8. Georg Autenrieth (1876). "ēpeiros". A Homeric Dictionary for Schools and Colleges.
  9. J.B. Hofmann (1950). "ēpeiros". Etymologisches Wörterbuch des Griechischen (ภาษาเยอรมัน). München: Verlag von R. Oldenbourg.
  10. Histories, Book IV, Articles 37-40.
  11. กำเนิดหิมาลัย
  12. "East Asia". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 กรกฎาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2015.
  13. "South Asia". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 เมษายน 2015. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2015.
  14. "Southeast Asia". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 กรกฎาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2015.
  15. "West Asia/Middle East". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2020. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2015.
  16. Vulnerability to Climate Change: Adaptation Strategies and layers of Resilience เก็บถาวร 2018-07-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ICRISAT, Policy Brief No. 23, February 2013
  17. 17.0 17.1 "United Nations Statistics Division- Standard Country and Area Codes Classifications (M49)". United Nations Statistics Division. 31 ตุลาคม 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2010.
  18. "transcontinental". Merriam-Webster Dictionary. m-w.com, Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2011.
  19. Petrovsky, Vladimir (1995), "Preventative & Peace-Making Diplomacy & the Role of International Law in Conflict Resolution", ใน Al-Nauimi, Najeeb; Meese, Richard (บ.ก.), International Legal Issues Arising Under the United Nations Decade of International Law, Proceedings of the Qatar International Law Conference '94, The Hague, London, Boston: Martinus Nijhoff Publishers (Kluwer), p. 22
  20. Fahey, Tony (2009). "Population". ใน Immerfall, Stefan; Göran, Therborn (บ.ก.). Handbook of European Societies: Social Transformations in the 21st Century. New York: Springer. p. 417.
  21. "General Population Census of Cambodia 2008 - Provisional population totals, National Institute of Statistics, Ministry of Planning, released 3rd September 2008" (PDF). สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2010.
  22. "News Europe". BBC. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2011.
  23. "Middle East". Central Intelligence Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2020. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2011.
  24. 24.0 24.1 24.2 "47 countries, one Europe". Council of Europe. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2011.
  25. 25.0 25.1 "European countries". European Union. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2011.
  26. Shimon Wdowinski; Zvi Ben-Avraham; Ronald Arvidsson; Goran Ekström (2006). "Seismotectonics of the Cyprian Arc" (PDF). Geophysics Journal International. 164 (164): 176–181. Bibcode:2006GeoJI.164..176W. doi:10.1111/j.1365-246X.2005.02737.x. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 24 เมษายน 2011. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2011.

บรรณานุกรม[แก้]

  • "Estimated Population Densities". UNEP/GRID-Arendal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2011.
  • "The Soil Maps of Asia". European Digital Archives of Soil Maps - EuDASM. European Commission Joint Research Centre. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 ตุลาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2011.
  • "Asia Maps". Perry-Castañeda Library Map Collection. University of Texas Libraries. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2011.