ฟ้อนร่มฟ้าไท-ยวน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ท่าฟ้อนร่มฟ้าไท-ยวน หรือเรียกว่า ฟ้อนยวนสาวไหม เป็นฟ้อนที่แสดงเอกลักษณ์อกัพกิริยาท่าทางและการดำรงค์ชีวิตของของหญิงชาวไทยวนสมัยก่อนคือการทอผ้าฝ้ายการแต่งตัว ทั้งเสื้อผ้าทรงผม จากคำบอกเล่าของผู้ประดิษฐ์ท่าฟ้อนคืออาจารย์ธีรวุฒิ ได้ความว่า เนื่องจากฟ้อนชุดนี้ได้ประดิษฐ์ขณะอยู่อาศัยอยู่ในจังหวัดสระบุรีและได้พบกับชาวไทยวนที่อพยพมาจาก นครเชียงแสนมาอยู่ที่ สระบุรี เมื่อ 200 กว่าปี คืออาจารย์ทรงชัย วรรณกุล โดยทั้งสองได้พูดคุยกันเรื่องการฟ้อนที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวไทยวนสระบุรี และอาจารย์ธีรวุฒิ ได้อาสาช่วยประดิษฐ์ท่าฟ้อนให้และแล้วเสร็จในปี 2548 โดยถ่ายทอดให้กับเยาวชนกลุ่มแรกคือ นักเรียนเทศบาล4 หนองแคอนุสรณ์ อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี เนื่องจากเป็นฟ้อนที่ประดิษฐ์ให้กับชาวไทยวนที่อาศัยอยู่ในสระบุรี จึงมีเอกลักษณ์ของพื้นที่ใกล้เคียงในจังหวัดสระบุรีต่อมาแทรกอยู่ในท่าฟ้อนชุดนี้ เช่น เอกลักษณ์ ของท่าฟ้อนจากละโว้ ในท่า กวาดไกว๋ยอมสี เป็นต้น ต่อท่าฟ้อนนี้ได้ถ่ายทอดให้กับเยาชนบ้านป่าแดด อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย และกลุ่มผู้สนใจในชุมชนต่าง ๆ ในจังหวัดใกล้เคียงด้วยท่าฟ้อนที่อ่อนช้อยและชุดที่สวมใส่งดงามทำให้ฟ้อนชุดนี้เป็นที่เผยแพร่เผยแพร่ และเป็นที่ยอมรับรู้จักของคนทั่วไป

โดยท่าฟ้อนมีด้งนี้[แก้]

  1. นบน้อมวันทา เกศากราบเกล้า แนบเนาพสุธา (สื่อถึงตนไท-ยวนมีความอ่อนน้อมถ่อมตน)
  2. เตรียมท่าตั้งเผียน (คือการเตรียมเผียนหรือกวงเพื่อรอปั่นฝ้าย)
  3. เตรียมทอไว้ถ้า (คือการเตรียมเครื่องทอไว้ทอผ้า)
  4. เข้าป่าโยกย้าย (บอกถึงคนไท-ยวนมักปลูกฝ้ายตามป่าและหญิงไท-ยวนออกชวนกันออกเดินทางไปเก็บฝ้ายในป่าเป็นกลุ่ม)
  5. เก็บฝ้ายใส่บุง (เมื่อเก็บฝ้ายได้มักเอากระบุงไปใส่)
  6. เต็มถุงเต็มซ้า (เมื่อได้ฝ้ายมากพอก็จะเอากลับมาที่บ้าน)
  7. กำมาตากแดด (จากนั้นก็เอฝ้านที่เก็บได้มาตากแดดให้แห้ง)
  8. ฮีตฝ้ายหื้อแตก (หมายถึงการรีดฝ่ายให้ฟูเพื่อเครียมไหปั่นฝ้าย)
  9. แยกขึงเป็นยาววา (หมายถึงเมื่อได้ไหมฝ้ายเป็นเส้นก็จะขึงให้ไหมฝ้านออกเป็นเส้น)
  10. เอามาสาวไหม (หมายถึงการเอาไหมฝ้ายมาม้วนให้กลุ่มก่อนนำไปย้อมสี)
  11. กวาดไกวย้อมสี (แสดงถึงภูมิปัญญาของชาวไท-ยวนในอดีตที่เอาสีธรรมชาติมาย้อมไหมฝ้าย)
  12. กระตุกกี่ตอผ้า (เมื่อได้สีที่ต้องการก็นำไปทอเป็นผืนผ้าและสื่อให้เห็นว่าชาวไท-ยวนในอดีตทอผ้าใช้เอง)
  13. ได้ผ้าผืนงาม (เมื่อทอแล้วก็ได้ผ้าอันงดงานฉบับไท-ยวนไม่ว่าจะผ้าลายขวาง)
  14. นำมาเย็บปลาย (สื่อถึงเมื่อได้ผ้าลวดลายงดงานก็จะเอามเย็บบริเวณปลายผ้าเพื่อไม่ให้ไหมฝ้ายหลุดออกจากกัน
  15. ผ้าลายแป๋งซิ่น (กล่าวถึงให้เห็นว่าชาวไท-ยวนในอดีตใส่ผ้าซิ่นที่มีลวดลายงดงามวิจิตร จนคนไทถิ่นเรียกคนไท-ยวนว่ายวนตูดลาย)
  16. ติ่นแดงตุ้มอก (สื่อให้เห็นว่าคนไท-ยวนในอดีตนิยมเอาผ้าสีแดงมานุ่งพันอกแทนเสื้อผ้า)
  17. ผ้าสะว้านก้องคอ-ป้าดอก (หมายถึงสไบที่คนล้านนาหรือไท-ยวนใช้คล้องคอและนำมาเป็นสะไบหมกาย)
  18. สางผมรอม้วนเกล้า(สื่อให้เห็นว่าหญิงไท-ยวนในอดีตมักไว้ผมยาวและเกล้าผม)
  19. เอื้องเอาแซมผม (สื่อให้เห็นว่าชาวไท-ยวนชอบเอาดอกล้วยไม้มาแซมผมที่เกล้าไว)
  20. สมเป็นฅนยวน (บอกให้รู้ว่าสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นนี้คือชาวยวน)

อ้างอิง[แก้]

ขอขอบคุณสำนักงานวัฒนธรรม จังหวัดเชียงราย นายธีรวุฒิ เปลี่ยนแก้ว ศิลปิพื้นบ้าน จังหวัดเชียงราย นายสมบูรณ์ ศรีโชติ ประธานวัฒนธรรมอำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย