ฟรีดริช ชเลเกิล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟรีดริช ชเลเกิล
Friedrich Schlegel
ฟรีดริช ชเลเกิล ในปี 1801
เกิด10 มีนาม ค.ศ. 1772
ฮันโนเฟอร์ แคว้นเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์ค
เสียชีวิต12 มกราคม ค.ศ. 1829
เดรสเดิน ราชอาณาจักรซัคเซิน
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเกิททิงเงิน
มหาวิทยาลัยไลพ์ซิช
ยุคศตวรรษที่ 19
แนวทางปรัชญาตะวันตก
ความสนใจหลัก
ญาณวิทยา, นิรุกติศาสตร์, ปรัชญาประวัติศาสตร์
เป็นอิทธิพลต่อ

คาร์ล วิลเฮ็ล์ม ฟรีดริช (ฟ็อน) ชเลเกิล (เยอรมัน: Karl Wilhelm Friedrich (von) Schlegel) หรือที่นิยมเรียก ฟรีดริช ชเลเกิล เป็นนักกวี, นักวิจารณ์วรรณกรรม, นักปรัชญา, นักนิรุกติศาสตร์ และนักภารตศึกษาชาวเยอรมัน เขากับพี่ชาย เอากุสท์ วิลเฮ็ล์ม ชเลเกิล ถือเป็นบุคคลสำคัญด้านศิลปะจินตนิยมในเมืองเยนา เขายังเป็นผู้บุกเบิกวิชาอินเดีย-ยุโรปศึกษา (Indo-European studies), ภาษาศาสตร์เปรียบเทียบ (Comparative linguistics) และการจัดกลุ่มภาษาตามลักษณะโครงสร้างคำ (Morphological typology) ชเลเกิลสมัยที่เป็นวัยรุ่นเป็นพวกอเทวนิยม หัวสุดโต่ง และชอบอยู่ลำพัง อย่างไรก็ตาม ใน ค.ศ. 1808 ชเลเกิลคนเดิมหันไปนับถือโรมันคาทอลิก

ชเลเกิลเกิดที่เมืองฮันโนเฟอร์ รัฐผู้คัดเลือกเบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์ค ในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นบุตรของบาทหลวงโยฮัน อาด็อล์ฟ ชเลเกิล (Johann Adolf Schlegel) เขาศึกษาวิชากฎหมายที่เกิททิงเงินและไลพ์ซิชเป็นเวลาสองปีและได้รู้จักกับฟรีดริช ชิลเลอร์ ต่อมาในปีค.ศ. 1796 เขาย้ายไปอยู่กับพี่ชายที่เมืองเยนา ที่นั่นเขาได้ทำงานร่วมกับบุคคลแนวหน้าอย่างโนวาลิส, ลูทวิช ทีค และฟิชเทอ

อ้างอิง[แก้]

  1. Michael N. Forster, After Herder: Philosophy of Language in the German Tradition, Oxford University Press, 2010, p. 9.