ฟรันทซ์ คัฟคา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ฟรานซ์ คาฟคา)
ฟรันทซ์ คัฟคา
ฟรันทซ์ คัฟคา, 1906
เกิด3 กรกฎาคม ค.ศ. 1883
ปราก, สาธารณรัฐเช็ก
เสียชีวิต3 มิถุนายน ค.ศ. 1924 (40 ปี)
เวียนนา, ออสเตรีย
สัญชาติชาวยิว
อาชีพนักเขียน
ผลงานเด่นThe Trial, The Castle,
กลาย
แบบแผนการกล่าวถึงนวนิยาย, เรื่องสั้น
ตำแหน่งนักเขียน
นักเขียนชาวยิว
ลายเซ็นของฟรันทซ์ คัฟคา

ฟรันทซ์ คัฟคา (เยอรมัน: Franz Kafka; 3 กรกฎาคม ค.ศ. 1883 – 3 มิถุนายน ค.ศ. 1924) เป็นนักเขียนชาวยิวคนสำคัญของคริสต์ศตวรรษที่ 20 คัฟคาถือกำเนิดมาในครอบครัวที่พูดภาษาเยอรมัน ผู้มีฐานะปานกลางในกรุงปรากในราชอาณาจักรโบฮีเมีย ที่ขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของออสเตรีย-ฮังการี (ปัจจุบันคือเช็กเกีย) ผลงานเขียนอันเป็นเอกลักษณ์ของคัฟคาที่ส่วนใหญ่เป็นงานที่เขียนค้างไว้ และส่วนใหญ่ตีพิมพ์หลังจากที่เสียชีวิตไปแล้วถือว่าเป็นงานที่มีอิทธิพลต่องานวรรณกรรมตะวันตกมากที่สุด[1]

งานเขียนที่สำคัญของคัฟคาก็ได้แก่ The Metamorphosis (ค.ศ. 1912) และ In the Penal Colony (ค.ศ. 1914), while his novels are The Trial (ค.ศ. 1925), The Castle (1926) และ Amerika (ค.ศ. 1927)

ประวัติ[แก้]

คัฟคาเมื่ออายุได้ห้าขวบ

คัฟคาเกิดในครอบครัวชนชั้นกลางชาวยิวในกรุงปรากซึ่งเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรโบฮีเมียในขณะนั้น เฮอร์มันน์ บิดาของคัฟคา (ค.ศ. 1852-ค.ศ. 1931) ได้รับการบรรยายว่มี “ร่างใหญ่ เห็นแก่ตัว และเป็นนักธุรกิจผู้มีบุคลิกที่ชอบยกตนข่มท่าน”[2] คัฟคาเองบรรยายบิดาว่า “เป็นคัฟคาแท้ ผู้แข็งแกร่ง สุขภาพดี เสียงดัง สง่า หลงตัว มีอิทธิพลต่อโลก อดทน มีความรู้ดีเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์” เฮอร์มันน์เป็นบุตรชายคนที่สี่ของยาคอป คัฟคาผู้มีอาชีพเป็น “shochet” หรือคนฆ่าสัตว์ตามธรรมเนียมของยิวที่กำหนดไว้ ผู้ย้ายมาอยู่ปรากจากโอเซ็คที่เป็นหมู่บ้านที่พูดภาษาเช็กไม่ไกลจาก Písek ทางตอนใต้ของโบฮีเมีย หลังจากทำงานเป็นพนักงานเดินทางค้าขายแล้ว ยาคอปก็ตั้งร้านค้าของตนเองขายสิ่งตกแต่งฟุ่มเฟือยสำหรับบุรุษและสตรี ที่มีลูกจ้างถึง 15 คน และใช้นกแจ็คดอว์ (“jackdaw” หรือ “kavka” ในภาษาเช็ก) เป็นสัญลักษณ์ของธุรกิจ มารดาของคัฟคา จูลี (ค.ศ. 1856—ค.ศ. 1934) เป็นลูกสาวของยาคอป เลิวรีย์ผู้มีอาชีพกลั่นเบียร์ผู้มีฐานะดีใน Poděbrady และมีการศึกษาดีกว่าสามี[3]

คัฟคาเป็นลูกชายคนโตในบรรดาพี่น้องหกคน[4] โดยมีน้องชายสองคนจอร์จและไฮน์ริคผู้ที่เสียชีวิตเมื่ออายุปีครึ่งและหกเดือนตามลำดับก่อนที่คัฟคาจะอายุได้เจ็ดขวบ คัฟคามีน้องสาวสามคน กาเบรียล (“เอลลี”) (ค.ศ. 1889–ค.ศ. 1941), วาเลอรี (“วาลลิ”) (ค.ศ. 1890–ค.ศ. 1942) และ ออตติลี (“ออตลา”) (ค.ศ. 1891–ค.ศ. 1943) ระหว่างวันทำงานทั้งบิดาและมารดาต่างก็ไปทำธุรกิจ จูลีช่วยสามีบริหารธุรกิจและบางครั้งก็ทำงานถึง 12 ชั่วโมงต่อวัน ทิ้งลูก ๆ ไว้ให้อยู่ในการเลี้ยงดูของครูและคนรับใช้ต่อเนื่องกันหลายคน ความสัมพันธ์ระหว่างคัฟคาและบิดาเป็นความสัมพันธ์ที่คับแค้นและกดดันที่เป็นปัญหา คัฟคาอธิบายถึงความสัมพันธ์ที่ว่านี้ในใน Letter to His Father (ไทย: จดหมายถึงพ่อ) ที่กล่าวถึงความทารุณทางจิตใจที่ได้รับจากบิดามาตั้งแต่เด็ก[ต้องการอ้างอิง]

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองน้องสาวของคัฟคาพร้อมกับครอบครัวถูกส่งไปบริเวณกักกันโลดซ์ (Łódź Ghetto) และไปเสียชีวิตที่นั่นหรือในค่ายกักกัน ออตลาถูกส่งไปยังค่ายกักกันเทอเรเซียนชตัดท์ (Concentration camp Theresienstadt) แต่ต่อมาเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 1943 ก็ถูกส่งต่อไปยังค่ายมรณะที่เอาสชวิทซ์ ที่ออตลาพร้อมด้วยเด็กอีก 1,267 คนและผู้ดูแลอีก 51 คนถูกรมแก๊สจนเสียชีวิตในวันที่ถูกส่งตัวไปถึง[5]

การศึกษา[แก้]

วังคินสคีที่คัฟคาได้รับการศึกษาขั้นมัธยม

คัฟคาเรียนภาษาเยอรมันเป็นภาษาเอก แต่ก็สามารถพูดภาษาเช็กได้อย่างคล่องแคล่ว ต่อมาคัฟคาก็เรียนภาษาฝรั่งเศสและวัฒนธรรม นักเขียนที่คัฟคาชื่นชมขณะนั้นคือกุสตาฟ ฟลอแบรต์ ระหว่างปี ค.ศ. 1889 ถึง ค.ศ. 1893 คัฟคาก็เข้าศึกษาในโรงเรียนประถมเยอรมันสำหรับเด็กชายที่ตลาดขายเนื้อที่ปัจจุบันคือถนนมาสนา การศึกษาทางด้านศาสนายูดายจำกัดอยู่แต่เพียงการทำพิธี “พิธีบาร์มิทซาห์” (Bar and Bat Mitzvah) ซึ่งเป็นพิธีฉลองเมื่ออายุครบ 13 ปี และการไปซินากอกปีละสี่ครั้งกับพ่อซึ่งคัฟคาก็ไม่ชอบทำ[6] หลังจากการศึกษาขั้นประถมแล้วคัฟคาก็เข้าศึกษาขั้นมัธยมต่อที่ Altstädter Deutsches Gymnasium (โรงเรียนเตรียมอุดมเยอรมันในเมืองเก่า) ซึ่งเป็นโรงเรียนระดับแปดซึ่งใช้ภาษาเยอรมันในการสอน และเข้าสอบในปี ค.ศ. 1901

หลังจากนั้นคัฟคาก็เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยชาร์ลส์-เฟอร์ดินานด์ในกรุงปรากโดยเริ่มด้วยการศึกษาวิชาเคมี แต่ก็มาเปลี่ยนสาขาเป็นกฎหมาย ซึ่งเป็นสาขาวิชาที่มีทางหากินได้หลายอาชีพ และนำความพอใจให้แก่บิดา นอกจากนั้นก็ยังเป็นการเปิดโอกาสให้ได้ศึกษาภาษาเยอรมันและประวัติศาสตร์ศิลปะเพิ่มขึ้น ระหว่างที่เป็นนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยคัฟคาก็เข้าเป็นสมาชิกของกลุ่ม Lese- und Redehalle der Deutschen Studenten (สมาคมการอ่านและการพูดของนักศึกษาเยอรมัน) ซึ่งเป็นกลุ่มที่จัดกิจกรรมเกี่ยวกับวรรณกรรม การอ่าน และอื่น ๆ ในปลายปีแรกของการศึกษาคัฟคาก็พบแม็กซ์ โบรด (Max Brod) ผู้กลายมาเป็นเพื่อนสนิทของคัฟคาต่อมาจนตลอดชีวิต และนักหนังสือพิมพ์ฟีลิกซ์ เวลท์ช (Felix Weltsch) ผู้ก็ศึกษากฎหมายเช่นเดียวกับคัฟคา ในที่สุดคัฟคาก็ได้ปริญญาทางกฎหมายเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 1906 หลังจากนั้นก็รับหน้าที่เป็นทนายฝึกในศาลแพ่งและศาลอาญาโดยไม่มีเงินเดือนอยู่ปีหนึ่งตามระเบียบ[1]

งานอาชีพ[แก้]

เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1907 คัฟคาก็ได้รับการจ้างโดยบริษัทประกันภัยอิตาลีใหญ่อัสซิคูราซิโอนิ เจเนราลิ (Assicurazioni Generali) ให้ทำงานอยู่ปีหนึ่ง การติดต่อทางจดหมายในช่วงระยะเวลานี้แสดงให้เห็นถึงความไม่มีความสุขเกี่ยวกับเวลาทำงาน—ระหว่าง 8 นาฬิกาในตอนเช้าไปจนถึงหกนาฬิกาในตอนเย็น—ซึ่งคัฟคากล่าวว่าเป็นช่วงที่ยากต่อการมีสมาธิในการทำงาน เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1908 คัฟคาก็ลาออก สองอาทิตย์ต่อมาก็ได้งานใหม่ที่เหมาะสมกว่ากับสถาบันประกันอุบัติเหตุสำหรับคนงานแห่งราชอาณาจักรโบฮีเมีย บิดามักจะกล่าวถึงงานในฐานะเจ้าหน้าที่ประกันภัยว่าเป็น “Brotberuf” (“งานขนมปัง”) ที่หมายถึงงานที่ทำเพื่อชำระหนี้ แม้ว่าจะอ้างว่าเกลียดงานที่ทำแต่คัฟคาก็เป็นพนักงานผู้มีความอุตาสาหะและมีความสามารถ นอกจากนั้นก็ยังได้รับหน้าที่ให้รวบรวมรายงานประจำปี เท่าที่ทราบก็ดูจะมีความภูมิใจในผลงานพอที่จะส่งไปให้เพื่อนและญาติพี่น้องชื่นชม ในขณะเดียวกันคัฟคาก็เริ่มงานเขียนวรรณกรรม คัฟคาและเพื่อนสนิทอีกสองคนแม็กซ์ โบรด และ ฟีลิกซ์ เวลท์ช เรียกตัวเองว่า “Der enge Prager Kreis” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชมรม “ชมรมปราก” (Prague Circle) ซึ่งเป็น “ชมรมนักเขียนชาวยิว-เยอรมันผู้มีความใกล้ชิดกันที่รวมตัวกันอย่างหลวม ๆ เพื่อสร้างงานทางศิลปะบนแผ่นดินอันรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมของปราก ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1880 จนกระทั่งถึงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง”[7]

ในปี ค.ศ. 1911 คาร์ล เฮอร์มันน์สามีของเอลลิน้องสาวก็เสนอให้คัฟคาเข้าร่วมในการบริหารโรงงานแอสเบสโทส ที่เรียกว่าบริษัทงานแอสเบสโทสเฮอร์มันน์ ในระยะแรกคัฟคาก็ดูท่าว่าจะมีทัศนคติดีต่องานและอุทิศเวลาว่างให้กับธุรกิจ ในช่วงเดียวกันนั้นก็เริ่มมีความสนใจการเป็นนักแสดงในโรงละครยิดดิชแม้ว่าแม็กซ์ โบรดผู้ตามปกติแล้วสนับสนุนทุกอย่างที่คัฟคาทำจะไม่เห็นด้วย นอกจากนั้นการแสดงก็ยังเป็นจุดเริ่มของความสัมพันธ์กับศาสนายูดายของคัฟคาที่เพิ่มมากขึ้น[8]

ปีต่อ ๆ มา[แก้]

ก่อน ค.ศ. 1924

ในปี ค.ศ. 1912 คัฟคาพบเฟลิส เบาเออร์ผู้พำนักอยู่ที่เบอร์ลินและทำงานเป็นผู้แทนของบริษัทเครื่องบันทึกคำบอก (dictaphone) ที่บ้านของแม็กซ์ โบรด ในช่วงห้าปีต่อมาคัฟคาและเฟลิสก็เขียนจดหมายติดต่อกันอย่างสม่ำเสมอ และหมั้นกันสองครั้ง แต่ความสัมพันธ์ก็มาสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1917

ในปี ค.ศ. 1917 คัฟคาก็เริ่มป่วยด้วยวัณโรคซึ่งทำให้ต้องได้รับการรักษาตัวบ่อยครั้งโดยการสนับสนุนของครอบครัว โดยเฉพาะจากน้องสาวออตลา แม้ว่าจะหวาดระแวงว่าผู้คนจะรู้สึกว่าเป็นบุคคลที่น่ารังเกียจทางสุขภาพและทางจิตใจ แต่คัฟคาก็สร้างความประทับใจให้แก่ผู้อื่นในความเยาว์ ความเรียบร้อย หน้าตาที่คมขำ สุขุมและท่าทางใจเย็น เฉลียวฉลาดอย่างเห็นได้ชัด และอารมณ์ขันแบบหน้าตาย[9]

ในปี ค.ศ. 1921 คัฟคาก็มีความสัมพันธ์อย่างจริงจังกับนักวรสารนักเขียนชาวเช็กเมลินา เยเซนสคา (Milena Jesenská) ในเดือนกรกฎาคมปี ค.ศ. 1923 เมื่อไปพักร้อนที่ Graal-Müritz บนฝั่งทะเลบอลติคคัฟคาก็พบดอรา ดิอามันท์ (Dora Diamant) และย้ายไปเบอร์ลินอยู่ชั่วระยะหนึ่ง โดยหวังที่จะไปอยู่ห่างจากครอบครัวที่มีอิทธิพลต่องานเขียนที่ทำ ในเบอร์ลินคัฟคาก็อาศัยอยู่กับดิอามันท์ ครูโรงเรียนอนุบาลอายุ 25 ปีที่มาจากครอบครัวยิวออร์โธด็อกซ์ ผู้มีเสรีภาพพอที่หนีจากอดีตของเขตเก็ตโต (ghetto) ได้ ดิอามันท์กลายมาเป็นคนรักและผู้มีอิทธิพลต่อความสนใจในคัมภีร์ทาลมุด (Talmud) ของคัฟคา[10]

โดยทั่วไปแล้วก็เชื่อกันว่าคัฟคาได้รับความทรมานจากโรคซึมเศร้าและ ความกังวลต่อความคิดของสังคม (social anxiety) ตลอดชีวิต[ต้องการอ้างอิง] นอกจากนั้นแล้วก็ยังได้รับความทรมานจากไมเกรน (migraine), โรคนอนไม่หลับ (insomnia), ท้องผูก, เป็นหนอง และ โรคภัยอื่น ๆ ซึ่งเกิดจากความกดดันในชีวิต คัฟคาพยายามแก้ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยวิธีธรรมชาติบำบัด แต่อาการวัณโรคกลับร้ายแรงขึ้นอีก เมื่อกลับมาถึงปรากคัฟคาก็เดินทางไปรักษาที่สถานบำบัด (sanatorium) ของนายแพทย์ฮอฟฟ์มันน์ในเคียร์ลิงไม่ไกลจากเวียนนาเพื่อรับการรักษา ซึ่งเป็นที่ที่คัฟคาเสียชีวิตเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 1924 จากความอดอยาก เพราะอาการของวัณโรคมีผลต่อคอหอยและทำให้มีความเจ็บปวดเกินกว่าที่จะกินอะไรลง ในสมัยนั้นยังไม่มีการใช้โภชนาบำบัด (parenteral nutrition) ฉะนั้นจึงไม่มีวิธีใดที่จะให้อาหารคัฟคาได้ ร่างของคัฟคาถูกนำกลับมายังกรุงปรากและได้รับการฝังเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 1924 ในสุสานชาวยิวใหม่ (บริเวณ 21, แถวที่ 14, หมายเลข 33) ใน Prague-Žižkov

ยูดายและไซออนนิสม์[แก้]

คัฟคามิได้เข้าเกี่ยวข้องอย่างเป็นทางการกับการดำเนินชีวิตตามหลักศาสนาของชาวยิว แต่มีความสนใจอย่างจริงจังกับวัฒนธรรมและปรัชญายิว และเป็นผู้มีความรู้อย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับวรรณกรรมยิดดิช และรักโรงละครยิดดิช[11] คัฟคามีความสนใจเป็นพิเศษกับชาวยิวจากยุโรปตะวันออกที่เห็นว่าเป็นกลุ่มชนที่มีหลักความเชื่อทางศาสนาอันเหนียวแน่นที่ชาวยิวในยุโรปตะวันตกขาด บันทึกประจำวันของคัฟคาเต็มไปด้วยข้ออ้างอิงไปถึงนักเขียนยิดดิชทั้งที่เป็นที่รู้จักและไม่รู้จัก[11] แต่ในขณะเดียวกันก็รู้สึกตัวว่าห่างเหินจากความเป็นยิวและวิถีชีวิตของชาวยิว: “ผมมีสิ่งใดที่เหมือนกับชาวยิวเล่า? ผมก็แทบจะไม่มีอะไรที่เหมือนกับตนเองอยู่แล้ว ได้แต่เพียงยืนเงียบ ๆ อยู่มุมห้องพอใจกับตัวเองที่มีความสามารถหายใจได้”

ขณะที่อาจจะมีความรู้สึกห่างเหิน คัฟคาก็มีความฝันที่จะย้ายไปตั้งถิ่นฐานในดินแดนปาเลสไตน์ในการปกครองของบริติช (British Mandate of Palestine) กับเฟลิส เบาเออร์ และต่อมากับดอรา ดิอามันท์เพื่อไปอยู่ใน “ดินแดนแห่งอิสราเอล” (Land of Israel)[11] ขณะที่อยู่ที่เบอร์ลินคัฟคาก็ศึกษาฮิบรู และจ้างพัว บัท-โทวิมนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยจากปาเลสไตน์ให้สอน แต่ก็ไม่คล่องเท่าใดนัก และเข้าศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาสำหรับการศึกษาศาสนายูดาย (Berlin Hochschule für die Wissenschaft des Judentums) ของราไบยูเลียส กรึนทาล

นักวิจารณ์ฮันส์ เคลเลอร์ (Hans Keller) สัมภาษณ์ลูกชายของกรึนทาลคีตกวีโยเซฟ ทาล (Josef Tal):

...เรื่องเล็กที่[โยเซฟ] ทาลเล่าให้ผมฟังก็มีเรื่องใหม่บางเรื่อง, เรื่องที่ทราบด้วยตนเองเกี่ยวกับฟรันทซ์ คัฟคาที่ทำให้เห็นภาพพจน์ของอัจฉริยะ – ที่แสดงให้เห็นความไม่สามารถที่จะประพฤติอย่างไม่มีลักษณะได้: [โยเซฟ]สรุปลักษณะของคัฟคาด้วยคำสองสามคำที่ทำให้เข้าใจได้ – ประโยคที่ฟังดูราบเรียบ แต่มีอารมณ์ขันอันท้าทาย ที่คัฟคาเท่านั้นที่จะเป็นผู้คิดขึ้นมาได้ พ่อของทาล ยูเลียส กรึนทาลเป็นราไบผู้ที่เป็นที่นับถือเกี่ยวกับภาษาเซมิติคไปทั่วโลก ผู้ทำการสอนอยู่ที่สถาบันการศึกษาศาสนายูดายที่เป็นสถาบันที่มีชื่อเสียง คัฟคาผู้นั่งอยู่ในชั้นเรียน ขณะที่ความรู้ในวรรณกรรมร่วมสมัยของกรึนทาลมีช่องโหว่อยู่บ้าง และไม่รู้จักว่าคัฟคามีตัวตน ได้แต่สังเกตเห็นเด็กหนุ่มผอมผิวขาวซีดที่นั่งอยู่แถวสุดท้าย ท่าทางเงียบ แต่ตาเป็นประกายผู้มักจะยิงคำถามที่ตรงตามหัวข้อ และเป็นความคิดเห็นที่เป็นของตนเองโดยเฉพาะ วันหนึ่งเมื่อไม่สามารถทนต่อความอยากรู้อยากเห็นต่อไปได้ ยูเลียสก็ถามว่า: "ขอโทษทีเถอะ, คุณน่ะเป็นใคร? คุณทำมาหากินอะไร?" "ผมเป็นนักเขียนวรสารครับ" ซึ่งเป็นคำตอบที่เป็นหัวใจของลักษณะของคัฟคาอย่างแท้จริง (ซึ่งยากต่อการแปลให้ได้เนื้อหา) คำตอบของคัฟคาสรุปได้เป็นสองลักษณะ: การยิ้มอย่างมีเลศนัยเมื่อเอ่ยวาจาอย่างเกินกว่าที่จะราบเรียบ (extreme understatement), การแสดงลักษณะแบบฟรอยด์โดยการย้ายคำตอบจากกระบวนของจิตใต้สำนึกมายังความรู้ตัวของจิตสำนึก และในการบรรยายตนเองอย่างขาดเหตุผล (absurdity) ว่าเป็นนักเขียนวรสารซึ่งเป็นนัยถึงอาชีพการเขียนที่ฉาบฉวย, ขาดคุณค่า และเป็นลักษณะการเขียนที่มีคุณภาพด้อยกว่าการเขียนประเภทอื่น ซึ่งตรงกันข้ามกับความเป็นจริง งานที่คัฟคาเขียนเป็นการเขียนของงานที่แม้จะปรากฏในวรสารก็จริงแต่เป็นงานที่มีคุณภาพเลิศ – งานเขียนที่เป็นงานที่เกี่ยวกับสิ่งลึกล้ำที่เกิดขึ้นในจิตของมนุษย์ที่ราวกับเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ผมบรรยายได้ว่าคำตอบนี้เป็นคำตอบเอก และผมก็ดีใจที่ได้มีคนพบ ทาลเองขณะนั้นยังเป็นเด็กจึงไม่สามารถบรรยายรายละเอียดได้ถึงการมาเยี่ยมที่บ้านของคัฟคาได้ เท่าที่จำได้ก็แต่ชายที่มีร่างซูบผอมและซีดขาวกว่าปกติ และมีตาที่มองทะลุ – ผู้มักจะนั่งเงียบขณะที่สตรีหน้าตางดงามที่นำมาด้วยทำตัวมีชีวิตชีวา[12]

นอกจากนั้นแล้วคัฟคาก็ยังเข้าร่วมการประชุมไซออนนิสต์ครั้งที่สิบเอ็ด และอ่านรายงานของนิคมเกษตรกรยิวในปาเลสไตน์ด้วยความสนใจอย่างจริงจัง[11]

ตามความเห็นของนักวิพากษ์วรรณกรรมฮาโรลด์ บลูม (Harold Bloom) ผู้ประพันธ์ The Western Canon กล่าวว่า “ถึงจะปฏิเสธและหลีกเลี่ยงอย่างใด, [งานเขียนของคัฟคา]ก็คืองานเขียนแบบยิว”[8]

อาชีพทางวรรณกรรม[แก้]

หลุมศพของคัฟคาที่ Žižkov

งานเขียนของคัฟคาไม่ได้รับความสนใจจนกระทั่งเมื่อเสียชีวิตไปแล้ว ระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่เรื่องสั้นของคัฟคาเพียงสองสามเรื่องเท่านั้นที่ได้รับการตีพิมพ์ และนวนิยายที่เขียนก็เขียนไม่จบนอกจาก กลาย ซึ่งบางท่านก็ถือว่าเป็นนวนิยายขนาดสั้น ก่อนหน้าที่จะเสียชีวิตคัฟคาเขียนจดหมายไปถึงเพื่อนและผู้จัดการสมบัติวรรณกรรม (literary executor) แม็กซ์ โบรด: “แม็กซ์ที่รักยิ่ง, คำขอสุดท้าย: ทุกอย่างที่ผมทิ้งไว้ข้างหลัง... ในกรณีของอนุทิน, งานเขียน, จดหมาย (ของผมเองและของผู้อื่น), ร่าง และ อื่น ๆ ขอให้เผาโดยไม่ให้อ่าน”[13] แต่โบรดก็มิได้ทำตามความประสงค์ของคัฟคา โดยเชื่อว่าคัฟคาสั่งไว้เพราะเชื่อว่าโบรดจะไม่ทำตามคำสั่ง—ซึ่งโบรดก็บอกคัฟคาดังว่า ดอรา ดิอามันท์คนรักของคัฟคาก็เช่นกันไม่สนใจความประสงค์ของคัฟคา โดยเก็บสมุดบันทึกไว้ 20 เล่ม และจดหมายอีก 35 ฉบับไว้อย่างลับ ๆ จนเมื่อถูกยึดโดยเกสตาโป (Gestapo) ในปี ค.ศ. 1933 ในปัจจุบันการพยายามหางานที่หายไปของคัฟคาก็คงดำเนินอยู่ต่อไปทั่วโลก นอกจากจะไม่ได้เผางานตามที่สั่งแล้วโบรดก็ยังเป็นผู้ควบคุมดูแลการตีพิมพ์งานของคัฟคาเกือบทุกชิ้นที่เป็นเจ้าของ ซึ่งไม่นานก็กลายเป็นที่สนใจกันอย่างจริงจัง และการวิพากษ์ที่ให้การสรรเสริญอย่างสูง

งานที่ตีพิมพ์ทั้งหมดนอกจากจดหมายที่เขียนเป็นภาษาเช็กถึง Milena Jesenská ก็เขียนเป็นภาษาเยอรมันทั้งหมด

ลักษณะการเขียน[แก้]

คัฟคามักจะใช้ลักษณะพิเศษของภาษาเยอรมันอย่างมีประสิทธิภาพ เช่นในการใช้ประโยคที่ยาวที่บางครั้งประโยคเดียวก็อาจจะยาวทั้งหน้า และคัฟคาจะหยอดความคิดอันไม่คาดมาก่อนตอนในตอนสุดท้ายก่อนที่จะจบประโยค—ซึ่งเป็นความคิดสรุปและเป็นหัวใจของประโยค การที่สามารถทำเช่นนี้ได้ก็เพราะโครงสร้างของภาษาเยอรมันเป็นภาษาที่วางคำกิริยาในตำแหน่งสุดท้ายของประโยค โครงสร้างของประโยคเช่นที่ว่านี้ไม่สามารถทำได้ในภาษาอังกฤษ ซึ่งทำให้ความหมายของประโยคขึ้นอยู่กับผู้แปลในการพยายามหาวิธีสร้างประโยคที่สื่อความหมายให้ใกล้เคียงกับประโยคต้นฉบับที่คัฟคาเขียนในภาษาเยอรมัน[14] การแปลงานของคัฟคาจึงมักจะทำได้แต่เนื้อหาบางส่วน แต่การถ่ายทอดในด้านอรรถรสของภาษาและลักษณะการเขียนของคัฟคาเป็นภาษาอื่นเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก

ปัญหาอีกปัญหาหนี่งที่ยากต่อการแก้ที่ผู้แปลต้องประสบคือการใช้คำหรือวลีของคัฟคาที่จงใจจะให้กำกวมที่มีความหมายหลายอย่าง เช่นในประโยคแรกของ กลาย

"Als Gregor Samsa eines Morgens aus unruhigen Träumen erwachte, fand er sich in seinem Bett zu einem ungeheueren Ungeziefer verwandelt.

ที่มาแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า

As Gregor Samsa awoke one morning from uneasy dreams he found himself transformed in his bed into a gigantic vermin.

ซึ่งนักวิพากษ์กล่าวว่าภาษาอังกฤษที่แปลมาไม่ตรงกับความหมายในภาษาเยอรมันเท่าใดนักเพราะคำว่า “Ungeziefer” ตามความเห็นของคัฟคามิได้มีความตรงตัวตามตัวอักษรในพจนานุกรม หรือการวางคำกิริยาสำคัญ “verwandelt” ไว้ท้ายประโยคซึ่งไม่สามารถจะทำได้ในภาษาอังกฤษ

อีกตัวอย่างหนึ่งของคำที่มีความหมายสองแง่คือการใช้คำนาม “Verkehr” ในประโยคสุดท้ายของ The Judgment คำว่า “Verkehr” ตามตัวอักษรในกรณีนี้แปลว่า “intercourse” (การร่วมเพศ) ซึ่งเช่นเดียวกับในภาษาอังกฤษอาจจะเป็นความหมายที่อาจจะใช้สำหรับทางเพศหรือไม่ใช่ทางเพศก็ได้ นอกจากนั้นก็ยังแปลว่าการจราจรได้ ประโยคนี้มาแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า "At that moment an unending stream of traffic crossed over the bridge."[15] สิ่งที่ทำให้มีน้ำหนักว่าคำว่า “Verkehr” มีความหมายสองแง่มาจากคำสารภาพของคัฟคาเองกับโบรดว่าเมื่อเขียนประโยคสุดท้าย ตนเองกำลังคิดถึง "a violent ejaculation" (การหลั่งน้ำอสุจิอันรุนแรง)[16] ในการแปลเป็นภาษาอังกฤษก็มีทางเดียวที่จะแปล 'Verkehr' ได้ก็แต่แปลเป็น "การจราจร?"[17]

การตีความหมาย[แก้]

อนุสาวรีย์สัมริดของคัฟคาในกรุงปราก

นักวิพากษ์วรรณกรรมได้ตีความหมายของงานของคัฟคาในบริบทของตระกูลวรรณกรรมหลายตระกูลเช่นสมัยใหม่นิยม (Modernism) สัจจะนิยมเวทมนตร์ (Magical realism) และอื่น ๆ [18] งานเขียนของคัฟคาแทรกซึมไปด้วยความสิ้นหวังและความเกินเลยอย่างเห็นได้ชัด และถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของอัตถิภาวนิยม (existentialism) นักวิพากษ์บางคนพบอิทธิพลของลัทธิมาร์กซในงานเขียนที่เสียดสีระบบงานเช่น In the Penal Colony, The Trial และ The Castle,[18] ขณะที่นักวิพากษ์อื่นชี้ให้เห็นถึงปรัชญาอนาธิปไตยที่เป็นบ่อเกิดของทัศนคติที่เป็นปฏิปักษ์ต่อระบบงาน (anti-bureaucratic viewpoint) ส่วนนักวิพากษ์บางคนก็ตีความหมายไปจากมุมมองของศาสนายูดาย หรือบ้างก็จากมุมมองจากปรัชญาฟรอยด์ (Freudianism)[18] จากการที่คัฟคามีความสัมพันธ์ที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งกับครอบครัว หรือบ้างก็จากมุมมองของอุปมานิทัศน์ของการแสวงหาพระเจ้า

อีกหัวเรื่องหนึ่งที่แทรกซึมในงานของคัฟคาอย่างสม่ำเสมอคือความเป็นคนนอก (alienation) และการเป็นเหยื่อของการถูกทำร้าย (persecution) และการเน้นคุณลักษณะนี้ในงานของมาร์ธ โรเบิร์ตทำให้การวิจารณ์โต้โดยกิลเลส เดอลูซ (Gilles Deleuze) และ ฟีลิกซ์ กัวต์ตารี (Felix Guattari) ผู้โต้ใน Kafka:Toward a Minor Literature ว่าคุณค่าของคัฟคามีมากกว่าการที่จะสรุปกันอย่างง่าย ๆ ว่าเป็นผู้ที่มีบุคคลิกเป็นคนโดดเดี่ยวที่สร้างผลงานจากความทรมานทางใจ เพราะเมื่อพิจารณาแล้วงานของคัฟคาเป็นงานที่จงใจ แฝงนัย และ มี “ความซุกซน” (joyful) มากกว่าที่มองเห็นกันอย่างเผิน ๆ ได้

นอกจากนั้นการอ่านงานของคัฟคาเพียงอย่างเดียว—ที่เน้นความขาดความสำเร็จของตัวละครในการต่อสู้ โดยไม่ทราบอิทธิจากงานศึกษาชีวิตของคัฟคา—ก็จะทำให้ผู้อ่านเห็นถึงอารมณ์ขันของคัฟคา งานของคัฟคาเมื่อมองอีกแง่หนึ่งจึงมิใช่งานเขียนที่สะท้อนภาวะการดิ้นรนของตนเองแต่เป็นการสะท้อนการคิดค้นการดิ้นรนต่อสู้ของมนุษย์โดยทั่วไป

นักเขียนชีวประวัติกล่าวว่าคัฟคามักจะอ่านบทจากงานที่กำลังเขียนให้เพื่อนสนิทฟัง และการอ่านก็มักจะเน้นด้านที่มีอารมณ์ขันของงานเขียน มิลาน คุนเดอรากล่าวถึงอารมณ์ขันเชิงเหนือจริงที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของงานของคัฟคาที่เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อศิลปินรุ่นต่อมาเช่นเฟเดอริโก เฟลลินี, กาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ, คาร์ลอส ฟวยเอนเทส และ ซัลมัน รัชดี สำหรับกาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ ผู้กล่าวว่าการอ่าน กลาย ทำให้เห็นว่าการเขียน “สามารถทำได้หลายวิธี”

งานเขียน[แก้]

จดหมายถึงพ่อ

งานของคัฟคาส่วนใหญ่เป็นงานที่เขียนไม่เสร็จ หรือ เป็นงานที่มาทำให้พิมพ์ได้โดยโบรดหลังจากคัฟคาเสียชีวิตไปแล้ว นวนิยาย The Castle (ซึ่งหยุดเขียนกลางประโยคและมีเนื้อหาที่กำกวม), The Trial (บทมีได้เรียงลำดับและบางบทก็เขียนไม่เสร็จ) และ Amerika (ชื่อเดิมที่คัฟคาตั้ง The Man who Disappeared) ต่างก็เป็นงานเขียนที่โบรดมาเตรียมพิมพ์ภายหลัง ซึ่งโบรดก็ถือโอกาสในการจัดรูปแบบที่รวมทั้งการวางบทใหม่ การเปลี่ยนภาษา และการแก้เครื่องหมายวรรคตอน ฉะนั้นงานของคัฟคาในภาษาเยอรมันจึงเป็นงานที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงก่อนที่จะได้รับการตีพิมพ์ งานที่เตรียมโดยโบรดมักจะเรียกว่า “Definitive Editions”

จากบันทึกของสำนักพิมพ์[19]สำหรับ The Castle,[20] มาลคอล์ม เพสลีย์ (Malcolm Pasley) สามารถนำบทเขียนเดิมของคัฟคาได้เกือบทั้งหมดมายังหอสมุดบอดเลียน (Bodleian Library) ของมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดได้ในปี ค.ศ. 1961 ต่อมา The Trial ก็ซื้อจากการประมูลและเก็บไว้ที่หอสมุด[21] ที่มาร์บาคในเยอรมนี[22]

ต่อมาเพสลีย์เป็นผู้นำของคณะบรรณาธิการผู้สร้างนวนิยายในภาษาเยอรมันใหม่และได้รับการพิมพ์โดย S. Fischer Verlag[23] เพสลีย์เป็นบรรณาธิการของ Das Schloß (The Castle) ที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1982 และ Der Proceß (The Trial) ใน ค.ศ. 1990 โยสต์ ชิลเลอไมท์เป็นบรรณาธิการของ Der Verschollene (Amerika) ที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1983 งานที่เตรียมโดยบรรณาธิการชุดนี้เรียกว่า “Critical Editions” หรือ “Fischer Editions” งานเขียนในภาษาเยอรมันชุดนี้ และงานเขียนอื่นของคัฟคาสามารถพบออนไลน์ที่ “โครงการคัฟคา”[24]

โครงการคัฟคาอีกโครงการหนึ่งเป็นโครงการของมหาวิทยาลัยแซนดิเอโกสเตทที่เริ่มในปี ค.ศ. 1998 ที่มีจุดประสงค์ในการเสาะหางานเขียนสุดท้ายของคัฟคา ที่เป็นสมุดบันทึกไว้ 20 เล่ม และจดหมายอีก 35 ฉบับที่ดอรา ดิอามันท์ (ต่อมาดอรา ดิอามันท์-ลาสค์) เก็บไว้อย่างลับ ๆ ก่อนที่จะถูกยึดไปโดยเกสตาโปในปี ค.ศ. 1933 ภายในสี่เดือนโครงการคัฟคาก็พบคำสั่งยึดและเอกสารสำคัญอื่น ๆ ในหอเก็บเอกสารของรัฐบาลในปี ค.ศ. 1998 ในปี ค.ศ. 2003 โครงการคัฟคาก็พบจดหมายต้นฉบับของคัฟคาสามฉบับที่เขียนในปี ค.ศ. 1923 บนพื้นฐานของโครงการแสวงหางานเขียนของคัฟคาที่ก่อตั้งขึ้นโดยแม็กซ์ โบรดและเคลาส วาเก็นบาคในกลางคริสต์ทศวรรษ 1950 โครงการคัฟคามีคณะกรรมการ และ ที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญและนักค้นคว้าจากทั่วโลก และยังแสวงหาอาสาสมัครเพื่อช่วยในการแก้ปริศนา[25]

ในปี ค.ศ. 2008 นักการศึกษาและผู้เชี่ยวชาญเรื่องคัฟคาเจมส์ ฮอว์สกล่าวหาว่านักวิชาการปิดบังรายละเอียดเกี่ยวกับนิตยสารทางเพศที่คัฟคาเป็นสมาชิกเพื่อพยายามรักษาภาพพจน์ของคัฟคาว่าเป็น ผู้อยู่ในวงนอกผู้บริสุทธิ์[26]

การแปลงานของคัฟคา[แก้]

แหล่งข้อมูลของการแปลงานของคัฟคามีด้วยกันสองแห่งที่ใช้ภาษาเยอรมันสองฉบับ งานแปลเป็นภาษาอังกฤษในระยะแรกทำโดยเอ็ดวิน มิยัวร์ (Edwin Muir) และ วิลลา มิยัวร์และพิมพโดยสำนักพิมพ์อัลเฟรด เอ. คนอฟ หนังสือแปลฉบับนี้ตีพิมพ์กันอย่างแพร่หลายในการตอบรับความนิยมในงานของคัฟคาในปลายคริสต์ทศวรรษ 1940 ในสหรัฐอเมริกา รุ่นต่อมา (โดยเฉพาะฉบับ ค.ศ. 1954) มีบทเขียนที่ถูกลบออกไปจากรุ่นแรกที่แปลเพิ่มเข้ามาด้วย รุ่นนี้แปลโดยไอท์เนอร์ วิลคินส (Eithne Wilkins) และ เอิร์นสท ไคเซอร์ (Ernst Kaiser) งานรุ่นนี้เรียกว่า “Definitive Editions” การแปลรุ่นนี้เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่ามีหลายจุดที่ไม่เป็นกลางและในการตีความหมายจะกำกัดวันเดือนปี

หลังจากมาลคอล์ม เพสลีย์และชิลเลอไมท์รวบรวมบทเขียนเป็นภาษาเยอรมันเสร็จและพิมพ์ การแปลรุ่นนี้เรียกว่า “Critical Editions” หรือ “Fischer Editions” รุ่นนี้แปลจากบทเขียนที่เรียบเรียงใหม่ที่ใกล้เคียงกับงานเขียนต้นฉบับของคัฟคาเอง

งานที่ได้รับการตีพิมพ์[แก้]

เรื่องสั้น[แก้]

ชื่อภาษาอังกฤษ ชื่อภาษาเยอรมัน ความหมาย ปีตีพิมพ์ (ค.ศ.)
Description of a Struggle Beschreibung eines Kampfes นิยามของความดิ้นรน 1904-1905
Wedding Preparations in the Country Hochzeitsvorbereitungen auf dem Lande การเตรียมการแต่งงานในชนบท 1907-1908
Contemplation Betrachtung ความคิดคำนึง 1904-1912
The Judgment Das Urteil การตัดสิน 22-23 กันยายน 1912
The Stoker คนคุมเตา
In the Penal Colony In der Strafkolonie แดนนักโทษ ตุลาคม 1914
The Village Schoolmaster (The Giant Mole) Der Dorfschullehrer or Der Riesenmaulwurf ครูใหญ่ 1914-1915
Blumfeld, an Elderly Bachelor Blumfeld, ein älterer Junggeselle บลุมเฟลด์ ชายโสดสูงอายุ 1915
The Warden of the Tomb
(บทละครเรื่องเดียวที่เขียน)
Der Gruftwächter คนรักษาสุสาน 1916-1917
The Hunter Gracchus Der Jäger Gracchus กราคคัสนักล่าสัตว์ 1917
The Great Wall of China Beim Bau der Chinesischen Mauer ใกล้กำแพงเมืองจีน 1917
A Report to an Academy Ein Bericht für eine Akademie รายงานจากสถาบัน 1917
Jackals and Arabs Schakale und Araber แจ็คคัลสและอาหรับ 1917
A Country Doctor Ein Landarzt หมอพื้นบ้าน 1919
A Message from the Emperor Eine kaiserliche Botschaft จดหมายจากพระจักรพรรดิ 1919
An Old Leaf Ein altes Blatt ใบไม้แห้ง 1919
The Refusal Die Abweisung การปฏิเสธ 1920
A Hunger Artist Ein Hungerkünstler ศิลปินหิว 1924
Investigations of a Dog Forschungen eines Hundes สืบสวนเรื่องหมา 1922
A Little Woman Eine kleine Frau สาวน้อย 1923
First Sorrow Erstes Leid ความเศร้าครั้งแรก 1921-1922
The Burrow Der Bau ขุดโพรง 1923-1924
Josephine the Singer, or The Mouse Folk Josephine, die Sängerin, oder Das Volk der Mäuse โจเซฟีนนักร้อง 1924

หนังสือรวบรวมบทเขียน:

  • The Penal Colony: Stories and Short Pieces (แดนนักโทษและเรื่องสั้น), ค.ศ. 1948
  • The Complete Stories (บทเขียนครบชุด), ค.ศ. 1971
  • The Basic Kafka (งานพื้นฐานของคัฟคา), ค.ศ. 1979
  • The Sons (ลูกชาย), ค.ศ .1989
  • The Metamorphosis, In the Penal Colony, and Other Stories (กลาย, แดนนักโทษ และเรื่องอื่น ๆ ), ค.ศ. 1995
  • Contemplation (ความคิดคำนึง), ค.ศ. 1998
  • Metamorphosis and Other Stories (แปลงรูป, และเรื่องอื่น ๆ ), ค.ศ. 2007

นวนิยาย[แก้]

ชื่อภาษาอังกฤษ ชื่อภาษาเยอรมัน ความหมาย ปีตีพิมพ์ (ค.ศ.)
กลาย Die Verwandlung November-December 1915)
The Trial
(รวมเรื่องสั้น Before the Law)
Der Prozeß การพิจารณาคดี 1925 (รวมเรื่องสั้น หน้ากฎหมาย)
The Castle Das Schloß ปราสาท 1926
Amerika Amerika หรือ Der Verschollene อเมริกา 1927

อนุทินและบันทึก[แก้]

จดหมาย[แก้]

อนุสรณ์ถึงคัฟคา[แก้]

คัฟคามีพิพิธภัณฑ์ที่อุทิศให้แก่งานเขียนในปรากในเช็กเกีย คำว่า "แบบคัฟคา" (Kafkaesque) เป็นคำที่ใช้โดยทั่วไปในการบรรยายความคิดและสถานการณ์ที่ทำให้นึกถึงงานของคัฟคา โดยเฉพาะ The Trial และ "The Metamorphosis"

ในเม็กซิโกวลี Si Franz Kafka fuera mexicano, sería costumbrista (ถ้าฟรันทซ์ คัฟคาเป็นชาวเม็กซิโก คัฟคาก็จะป็นนักเขียนชีวิตประจำวันฮิสแปนิก (Costumbrismo)) มักจะใช้ในสื่อต่าง ๆ ในการบรรยายถึงสถานการณ์อันเหลือเชื่อหรืออันสิ้นหวัง[27] สิ่งที่น่าสังเกตคือจากมุมมองของชาวเช็ก คัฟคาเป็นชาวเยอรมัน แต่สำหรับชาวเยอรมันเหนือกว่าสิ่งใดคัฟคาเป็นชาวยิว ซึ่งเป็น "ชะตาของชาวยิวตะวันตกส่วนใหญ่"[7]

การอ้างอิงทางวรรณกรรมและวัฒนธรรม[แก้]

วรรณกรรม[แก้]

เรื่องสั้น[แก้]

ภาพยนตร์[แก้]

Metamorphosis[แก้]

บทละคร[แก้]

  • Kafka's Dick, ค.ศ. 1986 โดยแอแลน เบนเนตต์ (Alan Bennett) เป็นบทละครที่วิญญาณของคัฟคา, ของพ่อ และของ แม็กซ์ โบรดที่มาปรากฏตัวในบ้านของเสมียนประกันภัยผู้ชื่นชมคัฟคาและภรรยาในยอร์คเชอร์ในอังกฤษ
  • Kafka's Hell-Paradise (ไทย: นรก-สวรรค์ของคัฟคา), ค.ศ. 2006 โดย มิลาน ริคเตอร์ เป็นบทละครที่มีตัวละครห้าตัวที่ใช้ประโยคจากงานของคัฟคา ความฝัน และการเล่าถึงความสัมพันธ์ระหว่างคัฟคากับบิดาและกับสตรี แปลมาจากบทละครภาษาสโลวัคโดยอีวาลด์ โอเซอร์ส
  • Kafka's Second Life (ไทย: ชีวิตที่สองของคัฟคา), ค.ศ. 2007 โดย มิลาน ริคเตอร์ เป็นบทละครที่มีตัวละคร 17 ตัว เริ่มต้นเมื่อคัฟคาเกือบจะหมดลมหายใจและมาจบลงในปี ค.ศ. 1961 แปลมาจากบทละครภาษาสโลวัคโดยอีวาลด์ โอเซอร์ส
  • Pułapka (ไทย: กับดัก), ค.ศ. 1982 โดยTadeusz Różewicz เป็นบทละครที่ดัดแปลงอย่างหลวม ๆ จากจดหมายและอนุทินของคัฟคา

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Contijoch, Francesc Miralles (2000) "Franz Kafka". Oceano Grupo Editorial, S.A. Barcelona. ISBN 84-494-1811-9. (สเปน)
  2. Corngold 1973
  3. Gilman, Sander L. (2005) Franz Kafka. Reaktion Books Ltd. London, UK. p.20-21. ISBN 1-88187-264-5.
  4. Hamalian ([1975], 3).
  5. Danuta Czech: Kalendarz wydarzeń w KL Auschwitz, Oświęcim 1992, p. 534. In the archives of the camp a list with the names of the guardians was preserved.
  6. Letter to his Father, pg. 150
  7. 7.0 7.1 The Metamorphosis and Other Stories, notes. Herberth Czermak. Lincoln, Nebraska: Cliffs Notes 1973, 1996.
  8. 8.0 8.1 "Kafka and Judaism". Victorian.fortunecity.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1999-02-21. สืบค้นเมื่อ 2009-05-28.
  9. Ryan McKittrick speaks with director Dominique Serrand and Gideon Lester about Amerika www.amrep.org
  10. Lothar Hempel เก็บถาวร 2005-09-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน www.atlegerhardsen.com
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 "Sadness in Palestine". Haaretz.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-20. สืบค้นเมื่อ 2009-05-28.
  12. Hans Keller: The Jerusalem Diary - Music, Society and Politics, 1977 and 1979, The Hans Keller Trust in ass. with Plumbago Books, 2001 ISBN 0-9540123-0-5, p156
  13. Quoted in Publisher's Note to The Castle, Schocken Books.
  14. Kafka (1996, xi).
  15. Kafka (1996, 75).
  16. Brod. Max: "Franz Kafka, a Biography". (trans. Humphreys Roberts) New York: Schocken Books,1960. pg 129.
  17. Kafka (1996, xii).
  18. 18.0 18.1 18.2 Franz Kafka 1883 – 1924 เก็บถาวร 2008-04-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน www.coskunfineart.com
  19. A Kafka For The 21st century by Arthur Samuelson, publisher, Schocken Books www.jhom.com
  20. Schocken Books, 1998
  21. Herzlich Willkommen www.dla-marbach.de (เยอรมัน)
  22. (publisher's note, The Trial, Schocken Books, 1998
  23. Stepping into Kafka’s head, Jeremy Adler, Times Literary Supplement, 13 October 1995 <http://www.textkritik.de/rezensionen/kafka/einl_04.htm เก็บถาวร 2009-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน>
  24. The Kafka Project - Kafka's Works in German According to the Manuscript www.kafka.org
  25. Sources: Kafka, by Nicolas Murray, pages 367, 374; Kafka's Last Love, by Kathi Diamant; "Summary of the Results of the Kafka Project Berlin Research 1 June-September 1998" published in December 1998 Kafka Katern, quarterly of the Kafka Circle of the Netherlands. More information is available at http://www.kafkaproject.com
  26. Franz Kafka’s porn brought out of the closet - Times Online at entertainment.timesonline.co.uk
  27. Aquella, Daniel (2006-11-22). "México kafkiano y costumbrista". Daquella manera:Paseo personal por inquietudes culturales, sociales y lo que tengamos a bien obrar. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-16. สืบค้นเมื่อ 2007-02-16.
  28. Bashevis Singer, Isaac (1970). A Friend of Kafka, and Other Stories. Farrar, Straus and Giroux. p. 311. ISBN 0-37415-880-0.
  29. Image, Issue 62, Page 7
  30. Menschenkörper movie website www.menschenkoerper.de (เยอรมัน)

บรรณานุกรม[แก้]

  • Adorno, Theodor. Prisms. Cambridge: The MIT Press, 1967.
  • Corngold, Stanley. Introduction to The Metamorphosis. Bantam Classics, 1972. ISBN 0-553-21369-5.
  • Hamalian, Leo, ed. Franz Kafka: A Collection of Criticism. New York: McGraw-Hill, 1974. ISBN 0-07-025702-7.
  • Heller, Paul. Franz Kafka: Wissenschaft und Wissenschaftskritik. Tuebingen: Stauffenburg, 1989. ISBN 3-923-72140-4.
  • Kafka, Franz. The Metamorphosis and Other Stories. Trans. Donna Freed. New York: Barnes & Noble, 1996. ISBN 1-56619-969-7.
  • Kafka, Franz. Kafka's Selected Stories. Norton Critical Edition. Trans. Stanley Corngold. New York: Norton, 2005. ISBN 9780393924794.
  • Brod, Max. Franz Kafka: A Biography. New York: Da Capo Press, 1995. ISBN 0-306-80670-3
  • Brod, Max. The Biography of Franz Kafka, tr. from the German by G. Humphreys Roberts. London: Secker & Warburg, 1947. OCLC 2771397
  • Calasso, Roberto. K. Knopf, 2005. ISBN 1-4000-4189-9
  • Pietro Citati, Kafka, 1987. ISBN 0-7859-2173-7
  • Coots, Steve. Franz Kafka (Beginner's Guide). Headway, 2002, ISBN 0-340-84648-8
  • Gilles Deleuze & Félix Guattari. Kafka: Toward a Minor Literature (Theory and History of Literature, Vol 30). Minneapolis, University of Minnesota, 1986. ISBN 0-8166-1515-2
  • Danta, Chris. "Sarah's Laughter: Kafka's Abraham" in Modernity 15:2 ([1] April 2008), 343-59.
  • Glatzer, Nahum N., The Loves of Franz Kafka. New York: Schocken Books, 1986. ISBN 0-8052-4001-2
  • Greenberg, Martin, The Terror of Art: Kafka and Modern Literature. New York, Basic Books, 1968. ISBN 0-465-08415-X
  • Gordimer, Nadine (1984). "Letter from His Father" in Something Out There, London, Penguin Books. ISBN 0-14-007711-1
  • Hayman, Ronald. K, a Biography of Kafka. London: Phoenix Press, 2001.ISBN 1-84212-415-3
  • Janouch, Gustav. Conversations with Kafka. New York: New Directions Books, second edition 1971. (Translated by Goronwy Rees.)ISBN 0-8112-0071-X
  • Murray, Nicholas. Kafka. New Haven: Yale, 2004.
  • Pawel, Ernst. The Nightmare of Reason: A Life of Franz Kafka. New York: Vintage Books, 1985. ISBN 0-374-52335-5
  • Thiher, Allen (ed.). Franz Kafka: A Study of the Short Fiction (Twayne's Studies in Short Fiction, No. 12). ISBN 0-8057-8323-7
  • Philippe Zard: La fiction de l'Occident : Thomas Mann, Franz Kafka, Albert Cohen, Paris, P.U.F., 1999.
  • Philippe Zard (ed) : Sillage de Kafka, Paris, Le Manuscrit, 2007, ISBN 2-7481-8610-9

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]