ไม้เซลฟี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นักท่องเที่ยวกำลังใช้ไม้เซลฟีใกล้พีระมิดสุริยัน (Pyramid of the Sun) ณ เตโอตีวากาน

ไม้เซลฟี (อังกฤษ: selfie stick) คือ โมโนพอดใช้สำหรับถ่ายภาพเซลฟี โดยการใช้ร่วมกับสมาร์ทโฟนหรือกล้องถ่ายรูป[1] ปกติแล้วแท่งโลหะสามารถยืดหดได้ โดยด้านหนึ่งเป็นด้ามจับ ส่วนอีกด้านเป็นที่หนีบโทรศัพท์[2] บางทีอาจมีการบังคับระยะไกลผ่านรีโมทหรือบลูทูธ เพื่อให้ผู้ถ่ายสามารถเลือกกดถ่ายได้ตามต้องการ[2] บางรุ่นอาจมีกระจกข้างหลังกล้องเพื่อให้ผู้ถ่ายสามารถดูภาพขณะถ่ายได้[3][4] ไม่เหมือนกับโมโนพอดธรรมดา ตัวไม้เซลฟีมีขนาดใหญ่ใกล้ด้ามจับทำให้ถือง่ายและมีความสมดุลขณะจับ[5] เพราะเหตุผลด้านความปลอดภัยและความไม่สะดวกของผู้อื่น ทำให้หลายที่สั่งห้ามใช้ไม้เซลฟี เช่นวอลต์ดิสนีย์พาร์กแอนด์รีสอร์ต ยูนิเวอร์แซล สตูดิโอส์ ออร์แลนโด (Universal Studios Orlando) และยูนิเวอร์แซล สตูดิโอส์ ฮอลลีวูด (Universal Studios Hollywood) [6]

ไม้เซลฟีขณะยืดสุด โดยมีสมาร์ทโฟนติดอยู่ด้านบน

ความเป็นมา[แก้]

ไม้เซลฟีแบบทำขึ้นมาเองมีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2468 กล้องแบบกล่องสำหรับมือสมัครเล่น (amateur box cameras) ในยุคนั้นไม่สามารถถ่ายภาพตนเองได้ในระยะแขน จึงทำให้ช่างภาพต้องใช้เครื่องมือเพื่อกดชัตเตอร์ทางไกล เช่น ไม้ หรือ สายเคเบิ้ล[7]

ไม้เซลฟีถูกจัดให้อยู่ในสิ่งประดิษฐ์ที่ดีที่สุด 25 อันดับแรกของพ.ศ. 2557 (ค.ศ. 2014) โดยนิตยสารไทม์[8] ไม้เซลฟีถูกวิจารณ์ว่าเป็นการแสดงให้เห็นถึงความหลงตัวเอง (narcissm) ของสังคม โดยในพ.ศ. 2558 ไม้เซลฟีมักถูกเรียกว่า "ไม้หลงตัวเอง"[9] หรือ "ไม้คฑาของคนหลงตัวเอง"[10]

การห้ามและจำกัดการใช้[แก้]

ป้าย "ห้ามใช้ไม้เซลฟี" ที่ พิพิธภัณฑ์บริสเบน พ.ศ. 2558

สถานที่ชุมนุมหลายที่ออกกฎห้ามและจำกัดการใช้ไม้เซลฟี ด้วยเหตุผลเรื่องความปลอดภัยและความสะดวกของผู้อื่น

ที่จัดคอนเสิร์ตหลายที่ในออสเตรเลีย[11] และสหราชอาณาจักร รวมไปถึงเทศกาลดนตรีในสหรัฐอเมริกา สั่งห้ามใช้ไม้เซลฟี ผู้จัดกล่าวว่าไม้เซลฟีมีส่วนช่วยในการ "บันทึกภาพอย่างผิดกฎหมาย" และยังกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยและความสะดวกของผู้ชมท่านอื่น[11] ไม้เซลฟียังถูกห้ามใช้ในพิพิธภัณฑ์บางแห่ง[12][13] และโบราณสถาณ[14] เพราะความกังวลว่าจะทำความเสียหายกับงานศิลปะและวัตถุอื่น[12][13]

สวนสนุก เช่น วอลท์เที่ยวดีสนีย์เวิลด์รีสอร์ท[15] และซิกส์ แฟลกส์[16] มีการห้ามใช้ไม้เซลฟี หลังเหตุการณ์ที่เครื่องเล่นต้องหยุดเนื่องจากนักท่องเที่ยวนำไม้เซลฟีออกมาขณะอยู่บนเครื่องเล่น ทำให้ดิสนีย์เวิลด์ต้องสั่งห้ามใช้ไม้เซลฟีอย่างถาวร[15]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "In Defense of the Selfie Stick". TheHuffingtonPost.com, Inc. 2014-10-30. สืบค้นเมื่อ 2014-11-27.
  2. 2.0 2.1 "The New Tool Everyone Is Using". Business Insider Inc. 2014-07-16. สืบค้นเมื่อ 2014-11-26.
  3. "Zuckerberg Selfie Stick". The Next Web, Inc. 2013-11-26. สืบค้นเมื่อ 2014-11-26.
  4. "Would You Buy a Zuckerberg Selfie Stick?". International Business Times AU. 2013-11-28. สืบค้นเมื่อ 2014-11-26.
  5. Pogue, David (2007-08-09). "Five Fun Little Gadgets". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2015-07-29.
  6. Welch, Chris. "Selfie sticks are no longer welcome at Disney theme parks". theverge.com. The Verge. สืบค้นเมื่อ 5 October 2015.
  7. Wendling, Mike (February 19, 2014). "Does this 90-year-old photo show the world's first 'selfie stick'?". BBC Trending. สืบค้นเมื่อ July 31, 2015.
  8. "Time 25 best inventions of 2014". TIME INC. 2014-11-20. สืบค้นเมื่อ 2014-11-28.
  9. Carr, David (4 January 2015). "Selfies on a Stick, and the Social-Content Challenge for the Media". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 18 February 2015.
  10. Haslett, Emma. "The selfie stick: A short history of this year's most popular Christmas present". City A.M. สืบค้นเมื่อ 17 January 2015.
  11. 11.0 11.1 Grubb, Ben (24 February 2015). "Australian venues ban 'narcissistic' selfie sticks". The Sydney Morning Herald. สืบค้นเมื่อ 24 February 2015.
  12. 12.0 12.1 Dunn, Mark (16 February 2015). "Galleries ban selfie sticks because of risk to artworks and patrons". The Australian. สืบค้นเมื่อ 18 February 2015.
  13. "Wimbledon: Selfie sticks banned from tennis championship". BBC. 27 April 2015. สืบค้นเมื่อ 4 May 2015.
  14. 15.0 15.1 Jervis, Rick (26 June 2015). "Disney joins growing number of venues banning selfie sticks". USA Today. สืบค้นเมื่อ 26 June 2015.
  15. "Six Flags bans selfie sticks at all theme park locations". Fox News. July 24, 2015. สืบค้นเมื่อ July 24, 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]