ไบรตัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไบรตัน
(Brighton)
ไบรตันพาเลซเพียร์ ยามพลบค่ำ
ไบรตันพาเลซเพียร์ ยามพลบค่ำ
เอกราชสหราชอาณาจักร
ประเทศอังกฤษ
ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ
เทศมณฑลอีสต์ซัสเซกซ์
นครไบรตันและโฮฟ
ศูนย์ราชการศาลากลางจังหวัดโฮฟ
(Hove Town Hall)
กฎบัตรเมืองค.ศ. 1313
ปกครองระบบเทศบาลค.ศ. 1854
เขตปกครองเอกเทศ
(Unitary authority)
ค.ศ. 1997
ยกระดับเป็นนครค.ศ. 2000
การปกครอง
 • ประเภทเขตปกครองเอกเทศ
(Unitary authority)
 • Governing bodyBrighton and Hove City Council
 • นายกเทศมนตรีแอรอน กิบสัน
(พรรคอนุรักษ์นิยม)
พื้นที่
 • ทั้งหมด82.79 ตร.กม. (31.97 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (กลางปี 2019)
 • ทั้งหมด290,885 (Ranked 45) คน
 • ความหนาแน่น3,508 คน/ตร.กม. (9,090 คน/ตร.ไมล์)
เดมะนิมไบรโตเนียน
เขตเวลาUTC0 (GMT)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+1 (BST)
Postcode areaBN
รหัสพื้นที่01273
ISO 3166-2GB-BNH
ONS code00ML (ONS)
E06000043 (GSS)
OS grid referenceTQ315065
NUTS 3UKJ21
เว็บไซต์brighton-hove.gov.uk
ไบรตัน

ไบรตัน (อังกฤษ: Brighton) เป็นแหล่งสถานที่พักตากอากาศทางริมชายฝั่งทะเลตอนใต้ ที่มีชื่อเสียงของประเทศอังกฤษ ตั้งอยู่ที่นครไบรตันและโฮฟ ในเทศมณฑลอีสต์ซัสเซกซ์

จากหลักฐานทางโบราณคดี ปรากฏร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของประชากรในไบรตันตั้งแต่บริเตนยุคสัมริด, บริเตนสมัยโรมัน และในยุคอังกฤษสมัยแองโกล-แซกซัน โดยในบันทึกดูมสเดย์ของพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ (ค.ศ. 1086) ได้มีการบันทึกเกี่ยวกับข้อมูลสำมะโนประชากรในเมืองเก่าแก่ที่ชื่อ ไบรเทล์มสโตน (Brighthelmstone) ซึ่งก็คือไบรตัน ในปัจจุบัน

ไบรตันเป็นเมืองที่มีความสำคัญในแง่ของความเจริญมาตั้งแต่สมัยกลาง โดยเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีการพัฒนามาแล้ว แต่ภายหลังได้เข้าสู่สภาวะซบเซาและหยุดการพัฒนาไปในช่วงแรกที่เข้าสู่ยุคสมัยใหม่ อันเป็นผลมาจากการรุกรานของต่างชาติ , ภัยธรรมชาติ เช่น พายุ , การตกต่ำของเศรษฐกิจ และการลดลงของจำนวนประชากร ต่อมาไบรตัน ได้มีการฟื้นฟูเศรษฐกิจและมีการสร้างสิ่งดึงดูดใจให้แก่ผู้มาเยือน เช่นการสร้างถนนเพื่อใช้ในการเดินทางไปกรุงลอนดอน และยังเป็นจุดพักสำหรับเรือท่องเที่ยวที่จะเดินทางไปยังประเทศฝรั่งเศส

ไบรตันได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวตากอากาศชายทะเลที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของอังกฤษเมื่อพระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร ในขณะที่ยังดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าชายจอร์จแห่งเวลส์ ได้เสด็จมาประทับที่ไบรตันอยู่บ่อยครั้ง และทรงมีรับสั่งให้สร้างพระราชวังพาวิลเลียน (Royal Pavilion) ขึ้นที่ไบรตัน ในปี ค.ศ. 1787 จากนั้นไบรตันได้พัฒนาเรื่องแหล่งท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง มีสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวมากมายเช่นโรงแรมแกรนด์ ไบรตัน ซึ่งเป็นโรงแรมเก่าแก่อยู่ติดชายฝั่งทะเลที่สร้างขึ้นในสมัยวิกตอเรีย , ไบรตันพาเลซเพียร์ สิ่งปลูกสร้างยื่นออกไปในทะเลที่มีความสวยงามและถูกจัดเป็นสิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์ของสหราชอาณาจักร

ไบรตันได้ขยายเมืองโดยการรวมกับโฮฟ และได้รับสถานะจากการรวมกันให้เป็นเขตปกครองเอกเทศมีองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นระดับเดียวบริหารครอบคลุมทั้งระดับเขตและระดับแขวง ก่อนจะได้ยกระดับขึ้นเป็นเมืองที่มีฐานะเป็นนครในสหราชอาณาจักร ชื่อว่านคร ไบรตันและโฮฟ

ปัจจุบันไบรตันมีอัตราการเจริญเติบโตของประชากรสูง โดยมีประชากรมากกว่า 160,000 คน ในปี ค.ศ. 1961[1] เมื่องรวมเป็นไบรตัน/เวิร์ททิง/ลิตเทิลแฮมป์ตัน ขยายเมืองไปตามชายหาดแล้ว รวมมีประชากรราว 480,000 คน[2]

ไบรตันมีมหาวิทยาลัย 2 แห่ง และมีโรงเรียนแพทย์ อยู่ในทั้ง 2 มหาวิทยาลัยนี้ และมีสโมสรฟุตบอลที่มีชื่อเสียง คือ สโมสรฟุตบอลไบรตันแอนด์โฮฟอัลเบียน

อ้างอิง[แก้]

  1. Carder, Timothy (1990). The Encyclopaedia of Brighton. S.127 East Sussex County Libraries. ISBN 0-86147-315-9
  2. "KS01 Usual resident population: Census 2001, Key Statistics for urban areas". สืบค้นเมื่อ 11 April 2007.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

พิกัดภูมิศาสตร์: 50°50′35″N 0°07′53″W / 50.842941°N 0.131312°W / 50.842941; -0.131312