ไทยลีก 2 ฤดูกาล 2562

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไทยลีก 2 ฤดูกาล 2562
ฤดูกาล2562
วันที่9 กุมภาพันธ์ 2562 – 27 ตุลาคม 2562
ทีมชนะเลิศบีจี ปทุม ยูไนเต็ด
เลื่อนชั้นบีจี ปทุม ยูไนเต็ด
โปลิศ เทโร
ระยอง
ตกชั้นอุบล ยูไนเต็ด
จำนวนนัด297
จำนวนประตู808 (2.72 ประตูต่อนัด)
ผู้ทำประตูสูงสุดบราซิล ติอาโก ชูลาปา
(19 ประตู)
ทีมเหย้า
ชนะสูงสุด
6 ประตู
เจแอล เชียงใหม่ฯ 6–0 ขอนแก่น
(16 กุมภาพันธ์ 2562)
ทีมเยือน
ชนะสูงสุด
6 ประตู
อยุธยา ยูไนเต็ด 0–6 โปลิศ เทโร
(23 กุมภาพันธ์ 2562)
จำนวนประตูสูงสุด9 ประตู
บีจี ปทุม ยูไนเต็ด 7–2 ระยอง
(17 กุมภาพันธ์ 2562)
ชนะติดต่อกัน
มากที่สุด
6 นัด
ระยอง
อาร์มี่ ยูไนเต็ด
ศรีสะเกษ
ไม่แพ้ติดต่อกัน
มากที่สุด
16 นัด
ศรีสะเกษ
ไม่ชนะติดต่อกัน
มากที่สุด
14 นัด
แอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ด
แพ้ติดต่อกัน
มากที่สุด
5 นัด
อุบล ยูไนเต็ด
เอ็มโอเอฟ ศุลกากร ยูไนเต็ด
จำนวนผู้ชมสูงสุด10,892 คน
ศรีสะเกษ 0–0 บีจี ปทุม ยูไนเต็ด
(19 ตุลาคม 2562)
จำนวนผู้ชมต่ำสุด162 คน
เอ็มโอเอฟ ศุลกากรฯ 1–1 สมุทรสาคร
(16 มีนาคม 2562)
จำนวนผู้ชมรวม461,693 คน
จำนวนผู้ชมเฉลี่ย1,555 คน
2561
สถิติทั้งหมดปรับปรุงล่าสุดในวันที่ 19 ตุลาคม 2562

ไทยลีก 2 ฤดูกาล 2562 เป็นการแข่งขันฤดูกาลที่ 22 ของไทยลีก 2 หรือเอ็ม-150 เดอะแชมเปียนชิป ตามชื่อของผู้สนับสนุนคือโอสถสภา ซึ่งเป็นการแข่งขันฟุตบอลลีกระดับสองของประเทศไทย โดยจะมีสโมสรที่เข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 18 สโมสร แข่งขันแบบพบกันหมดในระบบเหย้า-เยือน สโมสรที่ได้ 3 อันดับแรกจะได้สิทธิเลื่อนชั้นสู่ไทยลีกในฤดูกาลถัดไป ในขณะที่สโมสรที่ได้ 3 อันดับสุดท้ายจะต้องตกชั้นลงไปแข่งขันในไทยลีก 3 ในฤดูกาลถัดไป โดยการแข่งขันนัดแรกมีขึ้นเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

การเปลี่ยนแปลงจากฤดูกาลที่ผ่านมา[แก้]

สโมสรที่เข้ามาในไทยลีก 2[แก้]

ตกชั้นจากไทยลีก[แก้]

สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยได้ประกาศลดจำนวนสโมสรในไทยลีกจากเดิมที่มี 18 สโมสรลงเหลือ 16 สโมสรในฤดูกาล 2562 ทำให้มีสโมสรที่ตกชั้นจากไทยลีกในฤดูกาล 2561 จำนวน 5 สโมสร[1] แตกต่างจากปีที่ผ่านมาซึ่งจะตกชั้นเพียง 3 สโมสร

ในการแข่งขันนัดที่ 28 แอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ดซึ่งทำผลงานได้ไม่ดีนักโดยชนะเพียง 3 นัดและเสมอ 4 นัด เก็บคะแนนได้เพียง 13 คะแนนและอยู่ในอันดับสุดท้ายกว่าหลายสัปดาห์ต้องไปเยือนชลบุรี โดยในครึ่งแรกนั้นแอร์ฟอร์ซออกนำได้ก่อน 0–1 จากประตูในช่วงทดเวลาบาดเจ็บ อย่างไรก็ตาม ในครึ่งหลังชลบุรีทำประตูคืนได้ 2 ประตูและพลิกกลับมาเป็นฝ่ายชนะ 2 ประตูต่อ 1 ส่งผลทำให้แอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ดต้องตกชั้นลงไปแข่งขันในไทยลีก 2 เป็นทีมแรก[2] เจ็ดวันหลังจากนั้น อุบล ยูเอ็มที ยูไนเต็ดซึ่งอยู่อันดับรองสุดท้ายกลายเป็นทีมที่สองที่ต้องตกชั้นหลังจากทำได้เพียงบุกไปเสมอกับสุพรรณบุรี 2–2 ในการแข่งขันนัดที่ 30[3] ในสัปดาห์ต่อมา ราชนาวีก็ตกชั้นตามลงไปเป็นทีมที่สามหลังจากบุกไปเยือนเชียงราย ยูไนเต็ด โดยได้ประตูออกนำก่อนถึงสองครั้งแต่ถูกเชียงรายตีเสมอได้ทั้งสองครั้ง ทำให้ทำได้เพียงเสมอ 2–2 เท่านั้น

ในการแข่งขันนัดที่ 33 หรือนัดรองสุดท้าย โปลิศ เทโรต้องบุกไปเยือนราชนาวีซึ่งตกชั้นไปแล้วที่สนามกีฬากองทัพเรือ กม. 5 โดยโปลิศ เทโรได้ประตูขึ้นนำก่อน 0–1 จากกฤษพรหม บุญสาร แต่ก็ถูกยิงแซงจนพ่ายแพ้ไป 4–2[4] ทำให้โปลิศ เทโรตกชั้นเป็นครั้งแรกของประวัติศาสตร์สโมสร[5]

และในการแข่งขันนัดสุดท้ายของฤดูกาล บางกอกกล๊าสเปิดสนามลีโอสเตเดียมพบกับนครราชสีมา มาสด้า โดยเจ้าบ้านได้ประตูขึ้นนำก่อน 1–0 แต่ก็ถูกทีมเยือนอย่างนครราชสีมายิงแซง 1–2 ในช่วงก่อนจบครึ่งแรก และในครึ่งหลังไม่มีการทำประตูเพิ่ม ทำให้บางกอกกล๊าสพ่ายแพ้ในบ้าน ขณะที่การแข่งขันของทีมลุ้นหนีตกชั้นอีกสองทีม ได้แก่ สุโขทัย และชัยนาท ฮอร์นบิล ต่างคว้าชัยชนะเหนือแอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ด และสุพรรณบุรีตามลำดับ[6][7] ทำให้ชัยนาทและบางกอกกล๊าสมีคะแนนเท่ากันที่ 42 คะแนน แต่ชัยนาทมีสถิติการพบกันที่ดีกว่า[7] (เลกแรกชัยนาทบุกไปชนะบางกอกกล๊าส 5–2 และเลกสอง ชัยนาทเปิดบ้านเสมอ 1–1 ชัยนาทเก็บได้ 4 คะแนน บางกอกกล๊าสเก็บได้ 1 คะแนน) ทำให้บางกอกกล๊าสกลายเป็นทีมสุดท้ายที่ต้องตกชั้น และเป็นการตกชั้นครั้งแรกของสโมสรนับตั้งแต่ซื้อกิจการสโมสรธนาคารกรุงไทยเมื่อปี 2552

ทีมที่ตกชั้นสู่ไทยลีก 2

เลื่อนชั้นจากไทยลีก 3[แก้]

สโมสรที่ชนะเลิศจากแต่ละโซน (ตอนบนและตอนล่างของประเทศ) จะได้สิทธิเลื่อนชั้นสู่ไทยลีก 2 โดยอัตโนมัติ ในขณะที่สโมสรรองชนะเลิศจากทั้งสองโซนจะต้องแข่งขันในรอบเพลย์ออฟเพื่อหาสโมสรที่ 3 ที่จะได้สิทธิเลื่อนชั้นสู่ไทยลีก 2

ในการแข่งขันสัปดาห์ที่ 25 ของโซนบน เจแอล เชียงใหม่ ยูไนเต็ด ซึ่งนำเป็นจ่าฝูงบุกไปชนะนาวิกโยธิน ยูเรก้า 1–3 ในขณะที่อยุธยา ยูไนเต็ดซึ่งอยู่ในอันดับที่สองและมีโอกาสแซงได้นั้นบุกไปแพ้บางกอก 2–1 ส่งผลทำให้เชียงใหม่ทำคะแนนทิ้งห่างอยุธยา ยูไนเต็ด 5 คะแนนในขณะที่เหลือการแข่งขันเพียงนัดเดียว ได้ครองตำแหน่งชนะเลิศตอนบนของประเทศและได้สิทธิเลื่อนชั้นสู่ไทยลีก 2 เป็นทีมแรก ส่วนอยุธยา ยูไนเต็ดซึ่งยังคงมีคะแนนนำลำพูน วอร์ริเออร์อยู่ 4 คะแนนก็ได้ครองตำแหน่งรองชนะเลิศและได้สิทธิเข้าแข่งขันรอบเพลย์ออฟกับรองชนะเลิศจากโซนล่างของประเทศต่อไป

ในโซนล่าง แม้ก่อนเริ่มการแข่งขันนัดสุดท้ายแต่คะแนนของ 3 อันดับแรกยังไม่ทิ้งห่างกันมากนัก โดยศุลกากร ยูไนเต็ดมีอยู่ 51 คะแนน ตรังมีอยู่ 49 คะแนน และนรา ยูไนเต็ดมีอยู่ 47 คะแนน ในสัปดาห์สุดท้าย ศุลกากร ยูไนเต็ดบุกไปเอาชนะสีหมอกได้ 3–5 เช่นเดียวกับนรา ยูไนเต็ดที่บุกไปชนะดับบลิวยู นครศรี ยูไนเต็ด 1–3 อย่างไรก็ตาม ตรังกลับทำได้เพียงเสมอทหารบก 1–1 ส่งผลทำให้ศุลกากร ยูไนเต็ดมี 54 คะแนน ทิ้งห่างตรังและนรา ยูไนเต็ดที่มี 50 คะแนนเท่ากันและได้สิทธิเลื่อนชั้นสู่ไทยลีก 2 แน่นอนในฐานะแชมป์ตอนล่าง ส่วนตรังและนรา ยูไนเต็ดต้องตัดสินอันดับสองด้วยผลการแข่งขันตัวต่อตัว โดยนรา ยูไนเต็ดชนะได้ในเลกแรก 3–0 ในขณะที่ตรังเสมอกับนรา ยูไนเต็ด 1–1 ในเลกที่สอง ทำให้ผลตัวต่อตัวของนรา ยูไนเต็ดดีกว่าและได้อันดับที่สอง ได้สิทธิไปแข่งขันเพลย์ออฟกับอยุธยา ยูไนเต็ดเพื่อเลื่อนชั้นต่อไป

ในรอบเพลย์ออฟนัดแรกที่สนามกีฬา อบจ. นราธิวาส ทั้งสองทีมเสมอกัน 1–1 หลังจากอานนท์ บุษผาทำประตูให้อยุธยา ยูไนเต็ดขึ้นนำก่อนที่อาหามะรอซูล ดือเระจะทำประตูตีเสมอได้ในช่วงทดเวลาบาดเจ็บของครึ่งหลัง[8] และในนัดที่สองที่สนามกีฬากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อานนท์ บุษผาคนเดิมก็ทำประตูให้อยุธยา ยูไนเต็ดเอาชนะไปได้ 1–0 ทำให้อยุธยา ยูไนเต็ดได้เลื่อนชั้นสู่ไทยลีก 2 เป็นทีมที่สาม[9]

ทีมที่ได้เลื่อนชั้นสู่ไทยลีก 2

สโมสรที่ออกจากไทยลีก 2[แก้]

เลื่อนชั้นสู่ไทยลีก[แก้]

สโมสรที่อยู่ใน 3 อันดับแรกของฤดูกาล 2561 จะได้สิทธิเลื่อนชั้นสู่ไทยลีก ซึ่งกว่าจะได้ทีมแรกที่เลื่อนชั้นสู่ไทยลีกต้องรอถึงการแข่งขันนัดรองสุดท้าย โดยในวันที่ 22 กันยายน พีทีที ระยองเป็นทีมแรกที่ได้เลื่อนชั้นสู่ไทยลีกหลังจากบุกไปเสมอกับเชียงใหม่ 1–1 โดยเป็นการกลับมาสู่ลีกสูงสุดของไทยหลังจากตกชั้นในฤดูกาล 2557 โดยพีทีที ระยองที่ทำคะแนนทิ้งห่างคู่แข่งพลาดโอกาสฉลองเลื่อนชั้นในบ้านในนัดก่อนหน้านี้หลังจากพลาดแพ้อ่างทองซึ่งกำลังหนีตกชั้น 1–3[10] และในวันต่อมา ตราดซึ่งบุกไปชนะระยอง ก่อนหน้านี้ก็เป็นทีมที่สองที่ได้เลื่อนชั้นหลังจากผลการแข่งขันในวันต่อมาเป็นใจ โดยขอนแก่นซึ่งกำลังแย่งโอกาสเลื่อนชั้นพลาดไปแพ้ไทยฮอนด้าและยังต้องแข่งขันกับเชียงใหม่ซึ่งก็มีโอกาสเลื่อนชั้นเช่นกันในนัดต่อมา และในสัปดาห์สุดท้าย ขอนแก่นและเชียงใหม่ซึ่งเป็นสองทีมสุดท้ายที่มีโอกาสเลื่อนชั้นต้องมาแข่งขันกันเอง[11] โดยขอนแก่นเป็นฝ่ายออกนำก่อน 1–0 ก่อนจะถูกเชียงใหม่ทำประตูขึ้นนำแซงเป็น 1–2 ในอีกไม่ถึงสิบนาทีต่อมา การแข่งขันจบลงด้วยผลเสมอ 2–2 ทำให้เชียงใหม่เป็นทีมที่สามที่ได้เลื่อนชั้นสู่ไทยลีก[12]

ทีมที่ได้เลื่อนชั้นสู่ไทยลีก

ตกชั้นสู่ไทยลีก 3[แก้]

เนื่องจากจัมปาศรี ยูไนเต็ดซึ่งซื้อสิทธิการทำทีมจากซุปเปอร์พาวเวอร์ สมุทรปราการที่ตกชั้นจากไทยลีกในฤดูกาลก่อนหน้าไม่ผ่านคลับไลเซนซิง ส่งผลให้ในฤดูกาล 2561 ไทยลีก 2 มีเพียง 15 ทีม สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยจึงประกาศให้มีทีมตกชั้นจากไทยลีก 2 ในฤดูกาล 2561 เพียง 2 ทีม

ในการแข่งขันนัดรองสุดท้าย อ่างทองซึ่งอยู่อันดับสุดท้ายเปิดบ้านพบกับศรีสะเกษ โดยทำได้เพียงเสมอกัน 0–0 ส่งผลทำให้อ่างทองตกชั้นไปแข่งขันในไทยลีก 3 เป็นทีมแรก[11] ในการแข่งขันนัดสุดท้าย กระบี่กลายเป็นอีกหนึ่งทีมที่ต้องตกชั้นหลังจากบุกไปแพ้อุดรธานีด้วยผลประตู 4–2[13]

ทีมที่ตกชั้นสู่ไทยลีก 3

การเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์สโมสร[แก้]

  • อุบล ยูเอ็มที ยูไนเต็ด – เปลี่ยนชื่อเป็นอุบล ยูไนเต็ดโดยตัดคำว่า "ยูเอ็มที" ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนออก พร้อมทั้งเปลี่ยนตราสัญลักษณ์ใหม่[14][15]
  • บางกอกกล๊าส - เปลี่ยนชื่อเป็น บีจี ปทุม ยูไนเต็ดและเปลี่ยนตราสัญลักษณ์ใหม่ โดยให้เหตุผลว่าเพื่อต้องการให้เกียรติจังหวัดปทุมธานีซึ่งเป็นที่ตั้งของสโมสร[16]

สโมสร[แก้]

ทีมที่เข้าแข่งขันในฤดูกาลนี้มีทั้งหมด 18 ทีม โดยมีทีมที่ยังคงอยู่ในไทยลีก 2 จากฤดูกาลที่แล้วจำนวน 10 ทีม ทีมที่ตกชั้นลงมาจากไทยลีกจำนวน 5 ทีม และทีมที่เลื่อนชั้นขึ้นมาจากไทยลีก 3 จำนวน 3 ทีม

ทีม ที่ตั้ง สนามเหย้า ความจุ
เกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร (หลักสี่) สนามทีโอที แจ้งวัฒนะ 5,000
ขอนแก่น ขอนแก่น สนามกีฬากลางจังหวัดขอนแก่น 7,000
เจแอล เชียงใหม่ ยูไนเต็ด เชียงใหม่ สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี 25,000
ไทยยูเนียน สมุทรสาคร สมุทรสาคร สนามกีฬาจังหวัดสมุทรสาคร 3,500
ไทยฮอนด้า กรุงเทพมหานคร (มีนบุรี) สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา 8,000
บีจี ปทุม ยูไนเต็ด ปทุมธานี (ธัญบุรี) ลีโอสเตเดียม 13,000
โปลิศ เทโร กรุงเทพมหานคร (หลักสี่) สนามบุณยะจินดา 3,500
ระยอง ระยอง ระยองสเตเดียม 7,500
ราชนาวี ชลบุรี (สัตหีบ) สนามกีฬาราชนาวี สัตหีบ 5,000
ลำปาง ลำปาง สนามกีฬากลางจังหวัดลำปาง 5,500
ศรีสะเกษ ศรีสะเกษ สนามกีฬาศรีนครลำดวน 10,000
หนองบัว พิชญ หนองบัวลำภู สนามกีฬากลางจังหวัดหนองบัวลำภู 4,333
อยุธยา ยูไนเต็ด พระนครศรีอยุธยา สนามกีฬากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 6,000
อาร์มี่ ยูไนเต็ด กรุงเทพมหานคร (พญาไท) สนามกีฬากองทัพบก 20,000
อุดรธานี อุดรธานี สนามกีฬากกท.จังหวัดอุดรธานี 10,000
อุบล ยูไนเต็ด อุบลราชธานี ยูเอ็มที สเตเดียม 6,000
เอ็มโอเอฟ ศุลกากร ยูไนเต็ด สมุทรปราการ (บางพลี) สนามกีฬาลาดกระบัง 54 2,000
แอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ด ปทุมธานี (ลำลูกกา) สนามกีฬากองทัพอากาศ (ธูปะเตมีย์) 25,000

ข้อมูลทีมและผู้สนับสนุน[แก้]

ทีม หัวหน้าผู้ฝึกสอน (โค้ช) กัปตันทีม ผู้ผลิตชุด ผู้สนับสนุน (คาดหน้าอก)
เกษตรศาสตร์ ไทย วรวุฒิ ศรีมะฆะ ไทย ปานช้าง, ธนวัตธนวัต ปานช้าง แกรนด์สปอร์ต ตะนาวศรี
ขอนแก่น ญี่ปุ่น มาซายูกิ มิอูระ ไทย เกิดสมพงษ์, อนุพันธุ์อนุพันธุ์ เกิดสมพงษ์ แกรนด์สปอร์ต ลีโอเบียร์
อบจ.ขอนแก่น
เจแอล เชียงใหม่ ยูไนเต็ด ไทย สุรชัย จิระศิริโชติ ปารากวัย แองเจโล มาชูกา เอฟบีที มูส
ไทยยูเนียน สมุทรสาคร ไทย สมชาย มากมูล ไทย รัตนะ เพ็ชรอาภรณ์ พีแกน ไทยยูเนียน
ไทยฮอนด้า ไทย วรชัย สุรินทร์ศิริรัฐ ไทย วัชระ มหาวงศ์ กีลา ฮอนด้า
บีจี ปทุม ยูไนเต็ด ไทย ดุสิต เฉลิมแสน ไทย สุรชาติ สารีพิมพ์ ไนกี้ ลีโอเบียร์
โปลิศ เทโร ไทย รังสรรค์ วิวัฒน์ชัยโชค ฝรั่งเศส เอ็นดรี, มีชาเอลมีชาเอล เอ็นดรี เอฟบีที เบียร์ช้าง
ระยอง ไทย ชูศักดิ์ ศรีภูมิ ไทย เงินบุคคล, อนุชิตอนุชิต เงินบุคคล โวลต์ กัลฟ์
ราชนาวี ไทย วิริยะ เผ่าพันธุ์ ไทย ภานุวัฒน์ กองจันทร์ เวอร์ซุส เอชอาร์-โปร
ลำปาง เซอร์เบีย เซอร์จาน ทราอิโลวิช ไทย มัครมย์, จิรวัฒน์จิรวัฒน์ มัครมย์ เดฟโฟ บางกอก แอร์เวย์
ศรีสะเกษ ไทย สมชาย ชวยบุญชุม ไทย ยุทธพงษ์ ศรีละคร วอริกซ์ เมืองไทย
หนองบัว พิชญ ไอร์แลนด์เหนือ แมตต์ ฮอลแลนด์ ไทย อุทัย ผิวเงิน วอริกซ์ พิชญ
อยุธยา ยูไนเต็ด ไทย พัฒนพงษ์ ศรีปราโมช ไทย สิทธิชัย ไตรศิลป์ พีแกน กัลฟ์,เบียร์ช้าง

อบจ.พระนครศรีอยุธยา

อาร์มี่ ยูไนเต็ด อาร์เจนตินา ดานิเอล บลังโก ไทย นาคเอี่ยม, ชัยวัฒน์ชัยวัฒน์ นาคเอี่ยม กีลา ช้าง
อุดรธานี ไทย พนิพล เกิดแย้ม ไทย วรุตน์ สัพโส เวอร์ซุส ลีโอเบียร์
อุบล ยูไนเต็ด ไทย ธนเสฏฐ์ อมรสินกิตติโชติ ไทย นิรันดร์ฤทธิ์ เจริญสุข ไอแอม
เอ็มโอเอฟ ศุลกากร ยูไนเต็ด ไทย สมเด็จ หิตเทศ ไทย มงคลชัย กองจำปา เวอร์ซุส เน็กซ์
แอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ด ไทย นราศักดิ์ บุญเกลี้ยง โครเอเชีย อาเล็กซานดาร์ คาปีโซดา กีลา กลุ่มเซ็นทรัล

การเปลี่ยนแปลงผู้จัดการทีม[แก้]

สโมสร ผู้จัดการทีมที่ออก สาเหตุที่ออก วันที่ออก อันดับในตารางคะแนน ผู้จัดการทีมที่เข้าแทน
บีจี ปทุม ยูไนเต็ด ไทย อนุรักษ์ ศรีเกิด พฤศจิกายน 2561 ก่อนเปิดฤดูกาล ไทย ดุสิต เฉลิมแสน
อุดรธานี ไทย วัชรพงษ์ กล้าหาญ สิ้นสุดการคุมทีมชั่วคราว พฤศจิกายน 2561 ไทย พนิพล เกิดแย้ม
เอ็มโอเอฟ ศุลกากร ยูไนเต็ด ไทย ชยพล คชสาร กุมภาพันธ์ 2562 อันดับ 17 ไทย กฤษณ์ สิงห์ปรีชา
อุบล ยูไนเต็ด โปรตุเกส เอดูอาร์โด้ อัลเมด้า มีนาคม 2562 อันดับ 9 ไทย ธนเสฏฐ์ อมรสินกิตติโชติ
อยุธยา ยูไนเต็ด ไทย เฉลิมวุฒิ สง่าพล มีนาคม 2562 อันดับ 16 ไทย อนุรักษ์ ศรีเกิด
ไทยยูเนียน สมุทรสาคร ไทย ทรงวุฒิ บัวเพ็ชร เมษายน 2562 อันดับ 12 ไทย ประจักษ์ เวียงสงค์
แอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ด เวลส์ เจสัน บราวน์ เมษายน 2562 อันดับ 16 ไทย นราศักดิ์ บุญเกลี้ยง
เอ็มโอเอฟ ศุลกากร ยูไนเต็ด ไทย กฤษณ์ สิงห์ปรีชา พฤษภาคม 2562 อันดับ 17 ไทย สมเด็จ หิตเทศ
หนองบัว พิชญ ญี่ปุ่น ซูงาโอะ คัมเบะ มิถุนายน 2562 อันดับ 6 ไอร์แลนด์เหนือ แมตต์ ฮอลแลนด์
อยุธยา ยูไนเต็ด ไทย อนุรักษ์ ศรีเกิด ลาออก กรกฎาคม 2562 อันดับ 17 ไทย พัฒนพงษ์ ศรีปราโมช
ราชนาวี เกาหลีใต้ ลิม จ็อง เฮือน ลาออก สิงหาคม 2562 อันดับ 14 ไทย วิริยะ เผ่าพันธุ์
เจแอล เชียงใหม่ ยูไนเต็ด บราซิล เลโอเนส ซานโตส สลับตำแหน่ง สิงหาคม 2562 อันดับ 11 ไทย สุรชัย จิระศิริโชติ
สมุทรสาคร ไทย ประจักษ์ เวียงสงค์ แยกทาง กันยายน 2562 อันดับ 13 ไทย สมชาย มากมูล
สมุทรสาคร ไทย สมชาย มากมูล แยกทาง กันยายน 2562 อันดับ 13 ไทย ทรงวุฒิ บัวเพ็ชร

ตารางคะแนน[แก้]

อันดับ ทีม เล่น ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย ต่าง คะแนน การผ่านเข้ารอบหรือการตกชั้น
1 บีจี ปทุม ยูไนเต็ด (C, P) 34 24 6 4 76 27 +49 78 เลื่อนชั้นสู่ไทยลีก ฤดูกาล 2563
2 โปลิศ เทโร (P) 34 19 8 7 64 31 +33 65
3 ระยอง (P) 34 18 7 9 70 59 +11 61
4 ศรีสะเกษ[a] 34 20 11 3 54 21 +33 59
5 อาร์มี่ ยูไนเต็ด 34 15 10 9 56 43 +13 55 ไม่ส่งทีมเข้าแข่งขันไทยลีก 2 ฤดูกาล 2563
6 ไทยฮอนด้า 34 13 12 9 52 40 +12 51[b]
7 อุดรธานี 34 15 6 13 44 43 +1 51[b]
8 ขอนแก่น 34 13 10 11 40 48 −8 49
9 หนองบัว พิชญ 34 12 10 12 43 42 +1 46
10 ลำปาง 34 11 12 11 41 45 −4 45
11 เจแอล เชียงใหม่ ยูไนเต็ด 34 10 10 14 43 43 0 40[c]
12 เกษตรศาสตร์ 34 10 10 14 40 43 −3 40[c]
13 ไทยยูเนียน สมุทรสาคร 34 8 10 16 43 71 −28 34[d]
14 แอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ด 34 9 7 18 39 53 −14 34[d]
15 เอ็มโอเอฟ ศุลกากร ยูไนเต็ด 34 9 6 19 39 68 −29 33[e]
16 ราชนาวี 34 9 6 19 35 50 −15 33[e]
17 อุบล ยูไนเต็ด (X) 34 8 6 20 31 56 −25 30 ถูกปรับตกชั้นสู่ไทยลีก 4 ฤดูกาล 2563 เนื่องจากไม่ผ่านเกณฑ์คลับไลเซนซิง
18 อยุธยา ยูไนเต็ด 34 5 8 21 37 64 −27 23
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด วันที่ 26 ตุลาคม 2562. แหล่งที่มา : ไทยลีก 2
กฎการจัดอันดับ : ก่อนสิ้นสุดฤดูกาล: 1. คะแนนรวม 2. ผลต่างประตูได้-เสีย 3. จำนวนประตูได้ 4. จำนวนนัดที่ชนะ
เมื่อสิ้นสุดฤดูกาลแล้ว: 1. คะแนนรวม 2. ผลเฮด-ทู-เฮด/มินิลีก 3. ผลต่างประตูได้-เสียของมินิลีก 4. จำนวนประตูได้ของมินิลีก 5. ผลต่างประตูได้-เสียทั้งหมด 6. จำนวนประตูได้ทั้งหมด 7. คะแนนใบเหลือง-ใบแดง 8. เพลย์ออฟ[18]
(C) ชนะเลิศ; (P) เลื่อนชั้น; (X) ถูกปรับตกชั้นไปไทยลีก 4 เนื่องจากไม่ผ่านคลับไลเซนซิง[17].
หมายเหตุ :
  1. ศรีสะเกษถูกตัด 12 คะแนนตามคำสั่งฟีฟ่าจากกรณีพิพาทกับผู้เล่นจำนวน 2 คดี คดีละ 6 คะแนน
  2. 2.0 2.1 ไทยฮอนด้า มีผลเฮด-ทู-เฮดดีกว่า อุดรธานี: ไทยฮอนด้า 1–0 อุดรธานี, อุดรธานี 4–4 ไทยฮอนด้า
  3. 3.0 3.1 เจแอล เชียงใหม่ ยูไนเต็ด มีผลเฮด-ทู-เฮดดีกว่า เกษตรศาสตร์: เจแอล เชียงใหม่ ยูไนเต็ด 3–0 เกษตรศาสตร์, เกษตรศาสตร์ 1–0 เจแอล เชียงใหม่ ยูไนเต็ด
  4. 4.0 4.1 สมุทรสาคร มีผลเฮด-ทู-เฮดดีกว่า แอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ด: สมุทรสาคร 2–2 แอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ด, แอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ด 2–3 สมุทรสาคร
  5. 5.0 5.1 ศุลกากร ยูไนเต็ด มีผลเฮด-ทู-เฮดดีกว่า ราชนาวี: ศุลกากร ยูไนเต็ด 2–2 ราชนาวี, ราชนาวี 0–1 ศุลกากร ยูไนเต็ด

อันดับของสโมสรในแต่ละสัปดาห์[แก้]

ทีม / สัปดาห์12345678910111213141516171819202122232425262728293031323334
บีจี ปทุม ยูไนเต็ด1111132211111111111111111111111
โปลิศ เทโร8435754555666866433222222222
ระยอง815151611910999787799101010775335333
อาร์มี่ ยูไนเต็ด3322211122222232222333443444
ลำปาง4243323334455543356646666557
อุดรธานี61067677777898687977464554665
ศรีสะเกษ101376446443333324545997777776
ไทยฮอนด้า101416171813141313121011111078764558886888
หนองบัว พิชญ54545656665444556881010910101191010
ขอนแก่น1618181517171111101197109101089988109991099
เจแอล เชียงใหม่ ยูไนเต็ด1361011121112151516141415131313131313121111111110111111
เกษตรศาสตร์2789101213121113131312121111111212131313131212121212
ไทยยูเนียน สมุทรสาคร6991088910121011109111214121111111212121313131313
ราชนาวี13161112141818141415171616161615161516141415161414141414
อุบล ยูไนเต็ด17121389108888121213141412141414151516141516151516
แอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ด15111213131415161617181818181818181818181817181715161615
เอ็มโอเอฟ ศุลกากร ยูไนเต็ด18171718151517181814161717171717151615161614151617171717
อยุธยา ยูไนเต็ด1281414161616171718151514151516171717171718171818181818
ชนะเลิศและเลื่อนชั้นสู่ไทยลีก
เลื่อนชั้นสู่ไทยลีก
ตกชั้นสู่ไทยลีก 3
ปรับปรุงล่าสุดในการแข่งขันเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2562 อ้างอิง: ไทยลีก 2

ผลการแข่งขัน[แก้]

เหย้า / เยือน KAS KHO JCM SAM HON BPU PTR RAY NAV LAM SIS NON AYU ARM UDT UBU MOF AFC
เกษตรศาสตร์ 3–1 1–0 2–1 2–1 0–1 1–1 1–3 2–0 2–3 0–1 2–2 2–0 1–2 1–1 4–1 1–1
ขอนแก่น 1–0 0–0 2–1 2–2 0–0 1–2 2–3 3–1 0–2 1–2 3–2 1–0 1–1 1–1 3–2 1–0
เจแอล เชียงใหม่ ยูไนเต็ด 3–0 6–0 0–1 0–3 2–3 2–1 2–2 0–3 0–1 1–1 2–3 1–0 0–0 2–2 1–2 4–1
ไทยยูเนียน สมุทรสาคร 1–1 2–2 1–2 2–1 0–3 1–3 3–2 0–0 0–2 1–2 2–3 1–1 3–2 1–0 1–4 2–2
ไทยฮอนด้า 1–1 1–0 2–0 1–1 1–0 3–2 4–1 2–0 1–1 1–1 2–1 1–2 1–0 1–2 1–2 2–1
บีจี ปทุม ยูไนเต็ด 2–1 1–0 0–1 6–1 1–0 1–1 7–2 3–0 7–1 1–0 2–0 1–0 2–1 1–0 4–1 1–0
โปลิศ เทโร 1–1 2–1 1–0 2–2 1–1 2–1 0–1 1–2 0–1 1–0 4–1 2–0 3–2 5–0 2–1 2–1
ระยอง 1–1 4–1 2–1 3–2 2–4 1–1 3–1 3–3 1–1 1–0 3–1 4–2 1–0 5–0 2–2
ราชนาวี 1–1 0–1 0–2 0–1 2–1 1–2 0–2 0–1 0–0 0–0 1–0 3–2 1–1 1–1 1–0 0–1
ลำปาง 0–1 1–2 1–1 0–0 0–1 1–1 2–6 2–0 0–2 2–2 1–1 0–0 1–0 2–0 1–3 2–0
ศรีสะเกษ 2–0 0–0 3–1 4–0 0–0 3–1 3–1 3–2 0–0 1–0 3–0 1–1 1–0 1–0 3–0 3–0
หนองบัว พิชญ 2–1 0–1 1–1 2–2 2–2 1–3 0–2 1–0 2–1 2–0 1–1 0–2 3–1 0–2[a] 4–0 0–0
อยุธยา ยูไนเต็ด 0–0 2–2 0–2 1–1 3–3 0–6 0–0 0–2 3–4 1–1 1–2 2–3 0–3 1–2 1–2 1–2
อาร์มี่ ยูไนเต็ด 2–1 4–0 1–0 4–1 2–2 2–2 1–2 2–1 0–2 4–4 1–0 1–1 1–0 5–0 3–1 3–1
อุดรธานี 1–0 1–1 1–0 3–2 1–0 1–0 2–1 2–1 1–0 1–0 1–2 1–2 1–0 2–1 2–2 1–0
อุบล ยูไนเต็ด 0–3 1–1 1–1 0–1 1–4 0–0 0–2 4–2 0–3 0–3 0–0 0–1 0–1 0–1 2–1 1–2
เอ็มโอเอฟ ศุลกากร ยูไนเต็ด 1–0 0–2 0–0 1–1 1–2 0–4 1–2 0–2 2–2 1–2 0–3 3–3 1–2 1–3 1–2
แอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ด 3–0 1–2 1–1 2–3 2–1 2–2 0–1 2–1 2–0 1–1 0–2 1–3 0–1 2–1 0–1 0–1
นับผลการแข่งขันล่าสุดถึงวันที่ 22 กันยายน 2562. ที่มา: ไทยลีก 2
สีฟ้าหมายถึงทีมเหย้าชนะ สีเหลืองหมายถึงเสมอกัน และสีแดงหมายถึงทีมเยือนชนะ
อักษร "a" สำหรับการแข่งขันที่ยังไม่เกิดขึ้นหมายความว่ามีบทความเกี่ยวกับการแข่งขันนัดนี้
Notes:
  1. หนองบัว พิชญถูกตัดสินปรับแพ้อุบล ยูไนเต็ด 0–2 เนื่องจากไม่สามารถซ่อมแซมไฟสนามที่ขัดข้องได้ทันตามกำหนด[19]

สถิติตลอดฤดูกาล[แก้]