ไซดอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไซดอน

صيدا

ศ็อยดา
ไซดอนตั้งอยู่ในประเทศเลบานอน
ไซดอน
ไซดอน
ที่ตั้งในประเทศเลบานอน
ไซดอนตั้งอยู่ในเอเชียตะวันตกและเอเชียกลาง
ไซดอน
ไซดอน
ไซดอน (เอเชียตะวันตกและเอเชียกลาง)
พิกัด: 33°33′38″N 35°22′33″E / 33.56056°N 35.37583°E / 33.56056; 35.37583พิกัดภูมิศาสตร์: 33°33′38″N 35°22′33″E / 33.56056°N 35.37583°E / 33.56056; 35.37583
ประเทศ เลบานอน
เขตผู้ว่าการเลบานอนใต้
เขตไซดอน
ตั้งถิ่นฐานสหัสวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล
พื้นที่
 • นคร3.02 ตร.ไมล์ (7.82 ตร.กม.)
 • รวมปริมณฑล10 ตร.ไมล์ (25 ตร.กม.)
ประชากร
 • นคร~80,000 คน
 • รวมปริมณฑล~266,000 คน
เขตเวลาUTC+2 (EET)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+3 (EEST)
รหัสพื้นที่07

ไซดอน (อังกฤษ: Sidon) หรือ ศ็อยดา (อาหรับ: صيدا) เป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศเลบานอน ในเขตผู้ว่าเลบานอนใต้ ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ บนชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ห่างจากเมืองไทร์ไปทางเหนือราว 40 กิโลเมตร และห่างจากเมืองเบรุต เมืองหลวงของประเทศทางทิศใต้ราว 40 กิโลเมตร เป็นเมืองท่าทางทะเล ท่าเรือประมง ศูนย์กลางการค้าในเขตเกษตรกรรม และเป็นสถานีปลายทางของท่อขนส่งน้ำมันจากบ่อน้ำมันในประเทศซาอุดีอาระเบีย เมืองมีประชากรราว 200,000 คน

เมืองนี้เป็นเมืองโบราณที่ตั้งขึ้นราว 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ตกอยู่ใต้การปกครองของกลุ่มชนต่าง ๆ ที่มีอำนาจในสมัยโบราณ ได้แก่ ชาวอัสซีเรีย ชาวบาบิโลเนีย และชาวเปอร์เซีย ต่อมาราว 330 ปี ก่อนคริสต์ศักราช พระเจ้าอะเล็กซานเดอร์มหาราชได้เข้ายึดครองเมือง ตกอยู่ใต้การปกครองของชาวโรมันเมื่อราว 100 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ในช่วงสงครามครูเสดเปลี่ยนผู้ยึดครองหลายครั้ง จนชาวมุสลิมเข้ายึดครองประมาณ ค.ศ. 1241 เมืองนี้เจริญรุ่งเรืองภายใต้การยึดครองของชาวเติร์กหลัง ค.ศ. 1517 แต่ลดความสำคัญลงเมื่อมีการขับไล่พ่อค้าชาวฝรั่งเศสออกจากเมืองใน ค.ศ. 1791

ชื่อ[แก้]

I10
Z4
D46
V1
N35
G1
T14N25
ḏjdwnꜣ[1][2]
สมัย: ราชอาณาจักรใหม่
(1550–1069 BC)
ไฮเออโรกลีฟอียิปต์
I10
D46
D46
V1
N35
G1
T14N25
O49
ḏddwnꜣ[3][4]
ไฮเออโรกลีฟอียิปต์

Ṣīdūn (𐤑𐤃𐤍, ṣdn) ชื่อเมืองในภาษาฟินิเชียอาจหมายถึง "ประมง" หรือ "เมืองประมง"[5] ในพาไพรัสอานัสตาซีที่ 1 ระบุชื่อเมืองนี้เป็น Djedouna[1][2][3][4] ในภาษาฮีบรูไบเบิลมีชื่อเรียกว่า Ṣīḏōn (ฮีบรู: צִידוֹן) และในภาษาซีรีแอกมีชื่อว่า Ṣidon (ܨܝܕܘܢ) ต่อมาชื่อเมืองถูกแผลงเป็นกรีกเป็น Sidṓn (กรีก: Σιδών) ซึ่งภายหลังถูกแผลงเป็นโรมันเป็น Sidon ในภาษาอาหรับคลาสสิกปรากฏชื่อเมืองเป็น ศ็อยดูน (صَيْدونْ) และในภาษาอาหรับสมัยใหม่เป็น ศ็อยดา (صيدا)

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Gauthier, Henri (1929). Dictionnaire des Noms Géographiques Contenus dans les Textes Hiéroglyphiques Vol. 6. p. 113.
  2. 2.0 2.1 Wallis Budge, E. A. (1920). An Egyptian hieroglyphic dictionary: with an index of English words, king list and geological list with indexes, list of hieroglyphic characters, coptic and semitic alphabets, etc. Vol II. John Murray. p. 1064.
  3. 3.0 3.1 Gauthier, Henri (1929). Dictionnaire des Noms Géographiques Contenus dans les Textes Hiéroglyphiques Vol. 6. p. 138.
  4. 4.0 4.1 Wallis Budge, E. A. (1920). An Egyptian hieroglyphic dictionary: with an index of English words, king list and geological list with indexes, list of hieroglyphic characters, coptic and semitic alphabets, etc. Vol II. John Murray. p. 1065.
  5. Frederick Carl Eiselen (1907). Sidon: A Study in Oriental History, Volume 4. Columbia University Press. p. 12. ISBN 9780231928007.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]