โซเดียมอะลูมิโนซิลิเกต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โซเดียมอะลูมิโนซิลิเกต
ชื่อ
IUPAC name
aluminum sodium dioxido(oxo)silane
ชื่ออื่น
Aluminosilicic acid, aluminum sodium silicate
เลขทะเบียน
3D model (JSmol)
ECHA InfoCard 100.014.259 แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
เลขอี E554 (acidity regulators, ...)
UNII
  • InChI=1S/Al.Na.2O3Si/c;;2*1-4(2)3/q+3;+1;2*-2 checkY
    Key: URGAHOPLAPQHLN-UHFFFAOYSA-N checkY
  • [O-][Si](=O)[O-].[O-][Si](=O)[O-].[Na+].[Al+3]
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa

โซเดียมอะลูมิโนซิลิเกต (อังกฤษ: Sodium aluminosilicate) หมายถึงสารประกอบที่มีโซเดียม อะลูมิเนียม ซิลิคอน ออกซิเจน และอาจจะมีน้ำด้วย ซึ่งรวมทั้งโซเดียมอะลูมิโนซิลิเกตที่เป็นอสัณฐาน (amorphous sodium aluminosilicate - ดู สถานะ) แร่ธรรมชาติบางชนิด และซีโอไลต์สังเคราะห์ มีการใช้โซเดียมอะลูมิโนซิลิเกตอสัณฐานสังเคราะห์ (E-554) เป็นสารเติมแต่งอาหารอย่างกว้างขวาง ซึ่งไม่ใช่สารประกอบเคมีที่แท้จริง

โซเดียมอะลูมิโนซิลิเกตอสัณฐาน[แก้]

มีการผลิตโซเดียมอะลูมิโนซิลิเกตอสัณฐานโดยมีส่วนประกอบต่าง ๆ กัน และใช้กันอย่างกว้างขวาง โดยเป็นสารประกอบที่ใช้เป็นสารเติมแต่งอาหาร (E-554) โดยเป็นตัวป้องกันความชื้นที่ทำให้จับก้อน (anticaking) เนื่องจากมีการผลิตโดยมีส่วนประกอบต่าง ๆ กัน[1] ดังนั้น จึงไม่ใช่สารประกอบเคมีที่แท้จริงเพราะมีปริมาณสัมพันธ์ (stoichiometry) ต่าง ๆ กัน ผู้ผลิตรายหนึ่ง[2] แจ้งส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ของบริษัทว่าเป็น 14SiO2·Al2O3·Na2O·3H2O,(Na2Al2Si14O32·3H2O).[3]

ใน ค.ศ. 2012 องค์การอาหารและยา (FDA) ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้อนุมัติให้ใช้ sodium aluminosilicate (sodium silicoaluminate) ร่วมกับสิ่งบริโภคได้[4] โซเดียมอะลูมิโนซิลิเกตสามารถใช้เป็นตัวกรองระดับโมเลกุล (molecular sieve) ในผลิตภัณฑ์บรรจุยาเพื่อรักษาความแห้งของยา และใช้เป็นสารเติมแต่งอาหารหมายเลข E-554 ใช้ในการรักษาอาหารไม่ให้ชื้นเพื่อไม่ให้จับเป็นก้อน

โซเดียมอะลูมิโนซิลิเกตมีชื่ออื่น ๆ ด้วยคือ

  • aluminium sodium salt
  • sodium silicoaluminate
  • aluminosilicic acid, sodium salt
  • sodium aluminium silicate
  • aluminum sodium silicate
  • sodium silico aluminate
  • sasil

แร่ที่บางครั้งเรียกว่าโซเดียมอะลูมิโนซิลิเกต[แก้]

แร่ธรรมชาติที่บางครั้งเรียกว่า โซเดียมอะลูมิโนซิลิเกต รวมทั้ง

ซีโอไลต์สังเคราะห์ซึ่งบางครั้งเรียกว่าโซเดียมอะลูมิโนซิลิเกต[แก้]

ซีโอไลต์สังเคราะห์มีโครงสร้างที่ซับซ้อนโดยมีตัวอย่างโครงสร้างทางเคมีคือ

  • Na12Al12Si12O48·27H2O, zeolite A (Linde type A sodium form, NaA), ใช้ในผงซักฟอก[5]
  • Na16Al16Si32O96·16H2O, Analcime, IUPAC code ANA[5]
  • Na12Al12Si12O48·q H2O, Losod[6]
  • Na384Al384Si384O1536·518H2O, Linde type N

อ้างอิง[แก้]

  1. "SYNTHETIC AMORPHOUS SILICA AND SILICATES" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-20. สืบค้นเมื่อ 2015-02-20.
  2. "Product information Silica for Nutrition, Agrochemical formulations & Industrial applications Tixolex®28" (PDF). Rhodia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 12 August 2011.
  3. Solvay link no longer works
  4. "Sec. 182.2727 Sodium aluminosilicate". U.S. Food and Drug Administration. 1 April 2012. สืบค้นเมื่อ 10 December 2012.
  5. 5.0 5.1 Dyer, Alan (1994). King, Bruce R (บ.ก.). Encyclopedia of Inorganic Chemistry. John Wiley & Sons. ISBN 0-471-93620-0.
  6. Sieber, Werner; Meie, Walter M (1974). "Formation and Properties of Losod, a New Sodium Zeolite". Helvetica Chimica Acta. 57 (6): 1533–1549. doi:10.1002/hlca.19740570608.