แอนแวร์ ฮอจา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอนแวร์ ฮอจา
ฮอจาเมื่อ ค.ศ. 1971
เลขาธิการลำดับที่หนึ่งพรรคแรงงานแอลเบเนีย
ดำรงตำแหน่ง
8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1941 – 11 เมษายน ค.ศ. 1985
ก่อนหน้าประเดิมตำแหน่ง
ถัดไปรามิซ อาลียา
นายกรัฐมนตรีแอลเบเนียคนที่ 22
ดำรงตำแหน่ง
23 ตุลาคม ค.ศ. 1944 – 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1954
ประธานาธิบดีโอเมร์ นีชานี
ฮาจี เลชี
รองมืสลีม เปซา
โคชี โฮเฮ
เมห์เมด เชฮู
ก่อนหน้าอีบราฮิม บีชาสชู
ถัดไปเมห์เมด เชอู
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
Enver Halil Hoxha

16 ตุลาคม ค.ศ. 1908(1908-10-16)
ญีโรคัสแตร์ ยานีนาวีลาเยต จักรวรรดิออตโตมัน
เสียชีวิต11 เมษายน ค.ศ. 1985(1985-04-11) (76 ปี)
ติรานา แอลเบเนีย
ที่ไว้ศพสุสานประชาชน ติรานา
พรรคการเมืองพรรคแรงงานแอลเบเนีย (ค.ศ. 1941–1985)
คู่สมรสเนจมีเย ฮอจา (สมรส 1945)
บุตร
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมองต์เปลลีเยร์
มหาวิทยาลัยเปิดบรัสเซเลส์
รางวัลวีรชนแห่งมวลชน
เครื่องอิสริยาภรณ์เลนิน
เครื่องอิสริยาภรณ์สกันเดอร์แบก
เครื่องอิสริยาภรณ์วีรชนแห่งผองชน
เครื่องอิสริยาภรณ์ซูโวรอฟ
วีรชนแรงงานสังคมนิยม
ศาสนาอเทวนิยม
(รัฐไร้ศาสนา)
อิสลาม
(อดีต; นิกายเบ็กตาชี)
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ขบวนการปลดปล่อยแห่งชาติ (ค.ศ. 1941–1945)
สาธารณรัฐประชาชนแอลเบเนีย (1944–1985)
สังกัดขบวนการปลดปล่อยแห่งชาติ (ค.ศ. 1941–1945)
กองทัพประชาชนแอลเบเนีย (ค.ศ. 1944–1985)
ประจำการค.ศ. 1941–1985
ยศพลเอกทหารบก[note 1]
บังคับบัญชาขบวนการปลดปล่อยแห่งชาติ
กองทัพประชาชนแอลเบเนีย (ผู้บังคับบัญชาสูงสุด)
ผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่สอง

แอนแวร์ ฮาลีล ฮอจา (อักษรโรมัน: Enver Halil Hoxha; /ˈhɒə/ hoj,[1] ภาษาแอลเบเนีย: [ɛnˈvɛɾ ˈhɔdʒa] ( ฟังเสียง); 16 ตุลาคม ค.ศ. 1908 – 11 เมษายน ค.ศ. 1985)[note 2] เป็นนักการเมืองคอมมิวนิสต์ชาวแอลเบเนีย เลขาธิการลำดับที่หนึ่งของพรรคแรงงานแอลเบเนีย ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ค.ศ. 1941 กระทั่งถึงแก่อสัญกรรมใน ค.ศ. 1985 และสมาชิกโปลิตบูโรพรรคแรงงานแอลเบเนีย, ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยแอลเบเนีย และผู้บังคับบัญชาสูงสุดของกองทัพแอลเบเนีย เขาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแอลเบเนียคนที่ 22 ตั้งแต่ ค.ศ. 1944 ถึง ค.ศ. 1954 และยังดำรงตำแหน่งควบเป็นรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนแอลเบเนีย

ฮอจาเกิดที่ญีรอคัสแตร์ใน ค.ศ. 1908 และประกอบอาชีพเป็นครูโรงเรียนตั้งแต่ ค.ศ. 1936 ต่อมาเมื่ออิตาลีรุกรานแอลเบเนีย เขาเข้าร่วมพรรคแรงงานแอลเบเนียเป็นรุ่นแรก เมื่อพรรคก่อตั้งใน ค.ศ. 1941 เขาได้รับการเลือกตั้งเป็นเลขาธิการลำดับที่หนึ่งใน ค.ศ. 1943 ด้วยวัย 34 ปีในเวลาไม่ถึงสองวันหลังปลดแอกแอลเบเนียสำเร็จ สถาบันกษัตริย์ซึ่งดำรงโดยกษัตริย์ซ็อกที่หนึ่งได้ถูกโค่นล้มอย่างเป็นทางการ และฮอจาได้ขึ้นมาเป็นประมุขแห่งรัฐในทางสัญลักษณ์แทน[2]

ตลอดระยะเวลา 41 ปีที่ปกครองแอลเบเนีย เขาได้สร้างแอลเบเนียขึ้นใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื่องจากแอลเบเนียได้ถูกทำลายในสงครามโลกครั้งที่สอง เขาสร้างทางรถไฟสายแรกของแอลเบเนีย, เพิ่มอัตราการรู้หนังสือของผู้ใหญ่ในแอลเบเนียจาก 5% เป็นมากกว่า 90%, กำจัดโรคระบาด, ติดตั้งระบบไฟฟ้าให้เช้าถึงได้ทั่วประเทศ และนำแอลเบเนียสู่การเป็นรัฐเกษตรกรรมที่พึ่งพาตนเองได้ กระนั้น เขาเป็นผู้ออกกฎหมายให้ศาสนาเป็นสิ่งผิดกฎหมาย, ห้ามไม่ให้พลเมืองเดินทางออกนอกประเทศ, ยึดคืนและห้ามพลเมืองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เอกชน รวมถึงยังยึดคืนศาสนสถานทั่วประเทศมาใช้งานในทางฆราวาสแทน ในสมัยของเขา ผู้ที่ต่อต้านระบบของฮอจาถูกประหารชีวิตไปหลายพันคน และอีกหลายหมื่นคนที่ถูกคุมขังในค่ายแรงงาน[3][4] รัฐบาลของฮอจามีลักษณะเด่นด้วยการประกาศยึดมั่นอย่างแน่วแน่ต่อการต่อต้านลัทธิแก้ลัทธิมากซ์–เลนินนั่นคือ ลัทธิสตาลินตั้งแต่กลาง/ปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 เป็นต้นมา หลังจากที่เขาแตกแยกกับลัทธิเหมาในช่วง ค.ศ. 1976-1978 พรรคลัทธิเหมาจำนวนมากทั่วโลกประกาศตนว่าเป็นลัทธิฮอจา การประชุมนานาชาติของพรรคและองค์กรลัทธิมากซ์–เลนิน (เอกภาพและการต่อสู้) เป็นสมาคมที่รู้จักกันดีที่สุดของพรรคเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุนี้ ด้วยลักษณะของรัฐบาลฮอจาที่เน้นการปิดประเทศและพึ่งพาตนเอง ในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ประเทศแอลเบเนียได้รับการเรียกขานว่าเป็น "เกาหลีเหนือแห่งทวีปยุโรป"

ในยุคปลายของฮอจา เขาได้สั่งให้มีการสร้างหลุมหลบภัยทั่วประเทศเพื่อป้องกันภัยคุกคามที่อาจมาจากต่างชาติโดยรอบ ข้อมูลจาก ค.ศ. 1983 รายงานว่ามีหลุมหลบภัยคอนกรีตเช่นนี้มากกว่า 173,000 จุดทั่วประเทศ[5]

หมายเหตุ[แก้]

  1. ก่อนหน้านั้นเขามียศพันเอก และได้เลื่อนยศเป็นพลเอกอาวุโสในกองทัพก่อนเกิดการล้มล้างระบบยศทหารระหว่างการปฏิวัติวัฒนธรรมและอุดมการณ์ อย่างไรก็ตามแม้ภายหลังการยกเลิกยศทหารเขายังคงดำรงตำแหน่งนายพลกองทัพบกในฐานะผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองทัพประชาชนแอลเบเนีย
  2. มีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับวันเกิดที่แท้จริงของฮอจา (Fevziu (2016), หน้า 10) หมายเหตุ: "ในหอจดหมายเหตุแห่งรัฐแอลเบเนียเพียงแห่งเดียวพบวันที่ต่างกันไม่น้อยกว่าห้าวัน"

อ้างอิง[แก้]

  1. "Hoxha, Enver". Lexico UK English Dictionary. Oxford University Press.
  2. Taylor & Francis Group (2004). Europa World Year. Taylor & Francis. p. 441. ISBN 978-1-85743-254-1. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2012.
  3. Dhimiter Picani, บ.ก. (1984). 40 vjet Shqipëri socialiste: të dhëna statistikore për zhvillimin e ekonom. dhe të kulturës [40 years of socialist Albania: statistical data on economic development. and culture].
  4. "Enver Hoxha: Prime Minister of Albania". Encyclopædia Britannica.
  5. "Hapet dosja, ja harta e bunkerëve dhe tuneleve sekretë". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 กันยายน 2017. สืบค้นเมื่อ 27 กันยายน 2017.

บรรณานุกรม[แก้]