แอนตินิวตรอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โครงสร้างควาร์กของแอนตินิวตรอน แสดงปฏิควาร์ก (น้ำเงินขึ้น) ปฏิควาร์ก (แดงลง) และปฏิควาร์ก (เขียวลง) ไกล่เกลี่ยโดยกลูออน

แอนตินิวตรอน เป็นปฏิยานุภาคของนิวตรอน มันแตกต่างจากนิวตรอนเฉพาะในบางคุณสมบัติที่มีขนาดเท่ากันแต่มีเครื่องหมายตรงข้ามกัน มันมีมวลเท่ากันกับนิวตรอนและไม่มีประจุไฟฟ้าสุทธิ แต่มีจำนวนแบริออนตรงข้าม (+1 สำหรับนิวตรอน, −1 สำหรับแอนตินิวตรอน) นี่เป็นเพราะแอนตินิวตรอนประกอบด้วยปฏิควาร์ก ในขณะที่นิวตรอนประกอบด้วยควาร์ก แอนตินิวตรอนประกอบด้วยหนึ่งปฏิควาร์กขึ้นและสองปฏิควาร์กลง

เนื่องจากแอนตินตรอนเป็นกลางทางไฟฟ้าจึงไม่สามารถสังเกตได้โดยตรง ผลิตภัณฑ์จากการประลัยกับสสารธรรมดาจะถูกสังเกตแทน ในทางทฤษฎีแอนตินิวตรอนอิสระควรสลายตัวเป็นแอนติโปรตอน โพซิตรอน และนิวตริโน ในกระบวนการที่คล้ายกับการสลายให้อนุภาคบีตาของนิวตรอนอิสระ มีข้อเสนอเชิงทฤษฎีเกี่ยวกับการแกว่งของนิวตรอน-แอนตินิวตรอน กระบวนการที่บ่งบอกถึงการละเมิดกฏการอนุรักษ์เลขแบริออน[1][2][3]

แอนตินิวตรอนถูกค้นพบในการชนกันของโปรตอน-แอนติโปรตรอนที่ Bevatron โดย Bruce Cork ในปี 1956 หนึ่งปีหลังจากค้นพบแอนติโปรตอน

อ้างอิง[แก้]

  1. R. N. Mohapatra (2009). "Neutron-Anti-Neutron Oscillation: Theory and Phenomenology". Journal of Physics G. 36 (10): 104006. arXiv:0902.0834. Bibcode:2009JPhG...36j4006M. doi:10.1088/0954-3899/36/10/104006.
  2. C. Giunti; M. Laveder (19 August 2010). "Neutron Oscillations". Neutrino Unbound. Istituto Nazionale di Fisica Nucleare. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 September 2011. สืบค้นเมื่อ 19 August 2010.
  3. Y. A. Kamyshkov (16 January 2002). "Neutron → Antineutron Oscillations" (PDF). NNN 2002 Workshop on "Large Detectors for Proton Decay, Supernovae and Atmospheric Neutrinos and Low Energy Neutrinos from High Intensity Beams" at CERN. สืบค้นเมื่อ 19 August 2010.