แยกแม้นศรี

พิกัด: 13°45′07″N 100°30′32″E / 13.751883°N 100.50875°E / 13.751883; 100.50875
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สี่แยก แม้นศรี
แผนที่
ชื่ออักษรไทยแม้นศรี
ชื่ออักษรโรมันMaen Si
รหัสทางแยกN090 (ESRI), 044 (กทม.)
ที่ตั้งแขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร
ทิศทางการจราจร
ถนนวรจักร
» แยกวรจักร
ถนนบำรุงเมือง
» แยกเมรุปูน
ถนนจักรพรรดิพงษ์
» แยกหลานหลวง
ถนนบำรุงเมือง
» แยกยุคล 2

แยกแม้นศรี (อักษรโรมัน: Maen Si Intersection) เป็นสี่แยกหนึ่งที่เป็นทางตัดกันระหว่างถนนบำรุงเมือง, ถนนวรจักร และถนนจักรพรรดิพงษ์ ตั้งอยู่ในพื้นที่แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร

ชื่อ "แม้นศรี" มาจากชื่อของหม่อมห้ามท่านหนึ่งในสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ซึ่งเป็นธิดาของเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) คือ "หม่อมแม้น" เมื่อหม่อมแม้นถึงแก่อนิจกรรม พระองค์ได้จัดพิธีศพให้อย่างยิ่งใหญ่ และเป็นงานศพที่จัดพร้อมพระโอรสองค์ที่โปรดปราน คือ พระองค์เจ้าศิริวงษ์วัฒนเดช ซึ่งเป็นนักเรียนนานทหารในประเทศเยอรมัน

เนื่องจากเป็นหม่อมที่ทรงโปรดมาก และได้อุทิศเงินซึ่งได้รับจากผู้ช่วยพิธีศพ สร้างสะพานข้ามคลองเล็ก ๆ ด้านถนนบำรุงเมืองขึ้นใหม่ เดิมชื่อว่า สะพานดำ ซึ่งขบวนพิธีต้องผ่าน เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์ และอุทิศส่วนกุศลให้กับหม่อมแม้น คือ "สะพานแม้นศรี" โดยเปิดใช้เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2451 ต่อมาเมื่อมีการตัดถนนผ่าน จึงทำให้พื้นที่บริเวณนี้กลายเป็นสี่แยก และได้มีการรื้อสะพานออก [1]

อาคารการประปานครหลวงที่อยู่บริเวณแยก

บริเวณแยกแม้นศรี มีจุดเด่นคือ อาคารของการประปานครหลวง ซึ่งตั้งอยู่บนถนนบำรุงเมือง เป็นอาคารเก่าแก่ที่มีความสวยงาม และเป็นอาคารอนุรักษ์ เป็นที่ตั้งของการประปานครหลวงแห่งแรก เป็นจุดกำเนิดของการประปาในประเทศไทย โดยก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2457 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเรียกกันติดปากว่า "ประปาแม้นศรี"[2]

นอกจากนี้แล้ว แยกแม้นศรียังเป็นชุมชนของชาวทวาย ที่อพยพหลบหนีภัยสงครามจากพม่า ตั้งแต่ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยปรากฏหลักฐานเป็นตรอก คือ ตรอกทวาย หรือซอยแม้นศรี 1 ในชื่ออย่างเป็นทางการ[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. "แยกแม้นศรี". สน.พลับพลาไชย 1.
  2. "สามเสน...ประวัติศาสตร์บรรพชนคนนานาชาติ ต้นกำเนิดการประปาแห่งกรุงรัตนโกสินทร์". พินิจนคร. 2012-11-04.
  3. niracha_st (2010-12-28). "ประวัติสถานที่ "ตรอกทวาย บ้านทวาย ตลาดบ้านทวาย "". Thaigoodview. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-10. สืบค้นเมื่อ 2018-03-12.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

13°45′07″N 100°30′32″E / 13.751883°N 100.50875°E / 13.751883; 100.50875