แมลงชีปะขาว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บทความนี้หมายถึงแมลง ชีปะขาวในความหมายอื่นที่หมายถึง หญิงผู้ถือศีลในทางพุทธศาสนา ดูที่: แม่ชี

แมลงชีปะขาว
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Late Carboniferous–present[1]
ชนิด Rhithrogena germanica
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์ขาปล้อง
ชั้น: แมลง
ชั้นย่อย: Pterygota
หมวด: Palaeoptera
อันดับใหญ่: Ephemeropteroidea
Rohdendorf, 1968
อันดับ: Ephemeroptera
Hyatt & Arms, 1891
อันดับย่อย

แมลงชีปะขาว (อังกฤษ: Mayflies, Shadflies, Fishflies) เป็นแมลงที่จัดอยู่ในอันดับ Ephemeroptera (/อี-ฟี-เมอ-รอป-เทอ-รา/; มาจากภาษากรีก คือ คำว่า Ephemera (εφήμερος; ephemeros) แปลว่า "มีชีวิตสั้น" และคำว่า ptera (πτερόν; pteron) แปลว่า "ปีก" รวมความแล้วหมายถึงว่า "ปีกที่มีช่วงชีวิตสั้น"[2]) เป็นกลุ่มของแมลงน้ำ ปัจจุบันแมลงชีปะขาวถูกพบกว่า 3,000 ชนิดทั่วโลก แบ่งออกเป็น 400 สกุล ใน 42 วงศ์ ใช้ชีวิตส่วนมากเป็นตัวอ่อนอาศัยอยู่ในน้ำ

วงจรชีวิตของแมลงชีปะขาว[แก้]

ตัวอ่อนของแมลงชีปะขาวจะมีช่วงชีวิตที่ยาวนานอาศัยในน้ำนาน 3-4 สัปดาห์ หรือนานสุด 1-2 ปี ซึ่งจะแตกต่างจากตัวเต็มวัย จะมีช่วงชีวิตเพียงแค่ 1-2 วันหลังจากโผล่พ้นจากน้ำเป็นตัวเต็มวัย แมลงชีปะขาวได้ชื่อเป็นแมลงที่มีอายุสั้นที่สุด เนื่องจากเมื่อเป็นตัวเต็มวัย ส่วนปากจะหดหายไป จึงไม่สามารถกินอาหารได้ และจะทำการผสมพันธุ์ ตัวผู้มักจะมาเกาะกลุ่มกันบนผิวน้ำ ส่วนตัวเมียจะบินเข้าไปในกลุ่มของตัวผู้ และเกิดการผสมพันธุ์อย่างชุลมุน จากนั้นก็จะพากันตายลง [2]

ถิ่นอาศัย[แก้]

แมลงชีปะขาวอาศัยอยู่ทั้งแหล่งน้ำนิ่งและแหล่งน้ำไหล

ลักษณะเฉพาะ[แก้]

แมลงชีปะขาวจะมีลักษณะเฉพาะ คือ ระยะที่มีปีกจะมี 2 ระยะ คือ ตัวรองตัวเต็มวัย (subimago) ในระยะนี้ปีกจะมีสีขุ่น ปกคลุมด้วยขนขนาดเล็ก กันน้ำได้ อวัยวะเพศยังเจริญไม่เต็มที่ จากนั้นจะลอกคราบอีกครั้งกลายเป็นตัวเต็มวัย ปีกใสเป็นเงา อวัยวะเพศเจริญเต็มที่พร้อมที่จะผสมพันธุ์และวางไข่[3] จัดเป็นแมลงที่มีวิวัฒนการต่ำสุดในบรรดาแมลงมีปีกทั้งหมด เนื่องจากเมื่อตัวเต็มวัยอยู่ในท่าพัก ปีกตั้งฉากกับลำตัว และไม่สามารถหลุบปีกไปคลุมแผ่นหลังได้ นอกจากนี้ยังมีเส้นปีกเป็นจำนวนมากอีกด้วย[2]

ประโยชน์และความสำคัญ[แก้]

แมลงชีปะขาวเป็นแมลงน้ำในกลุ่มที่มีความไวต่อมลพิษในน้ำ แมลงน้ำมีตัวอ่อนหลายชนิดที่มีความทนทานได้น้อยต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ ตัวอ่อนชีปะขาวที่ทนต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพสิ่งแวดล้อมพบในน้ำคุณภาพดีจนถึงคุณภาพพอใช้ เช่น ชีปะขาวเข็ม, ชีปะขาวกระโปรง ทนได้ในน้ำที่มีคุณภาพพอใช้ ชีปะขาวกรามโค้ง ชอบอยู่ในเนื้อไม้และชีปะขาวกรามงอน ชอบขุดรูอยู่ในพื้นทรายและตะกอนที่นุ่ม[4] ซึ่งทำให้แมลงเหล่านี้สามารถเป็นตัวชี้วัดของคุณภาพน้ำที่ดีได้ จึงมีการนิยมใช้แมลงชีปะขาวเพื่อการประเมินคุณภาพน้ำทางชีวภาพ อีกทั้งยังมีแมลงน้ำชนิดอื่น ๆ ที่มีความสำคัญและสามารถใช้เป็นตัวชี้วัดที่ดีของคุณภาพแหล่งน้ำได้ เช่น สโตนฟลาย ตัวอ่อนของแมลงหนอนปลอกน้ำ เป็นต้น

การจัดหมวดหมู่[แก้]

รายชื่อข้างล่างมาจากข้อมูลของ Peters และ Campbell (1991) ใน Insects of Australia.[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. Hoell, H. V.; Doyen, J. T.; Purcell, A. H. (1998). Introduction to Insect Biology and Diversity (2nd ed.). Oxford University Press. pp. 320, 345–348. ISBN 978-0-19-510033-4.
  2. 2.0 2.1 2.2 "นักวิจัย มก. พบแมลงชีปะขาวสกุลใหม่ของโลก". บ้านเมือง. 2016-10-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-07. สืบค้นเมื่อ 2016-10-12.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-06. สืบค้นเมื่อ 2012-09-23.
  4. http://www.dnp.go.th/FOREMIC/center2/water_in.htm
  5. "Ephemoptera: Mayflies". The Tree of Life Web Project. 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-29. สืบค้นเมื่อ 1 June 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]