แคลอรีมิเตอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แคลอรีมิเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติของสาร ซึ่งก็คือ การวัดความร้อนของปฏิกิริยาเคมีหรือการเปลี่ยนแปลงทางการยภาพเช่นเดียวกับความร้อนจำเพาะ คำว่า calorimeter มาจากคำในภาษาละตินว่า calor แปลว่า ความร้อน แคลอรีมิเตอร์ประเภทที่ใช้กันโดยทั่วไปมากที่สุด ได้แก่ ดิฟเฟอเรนเชียล สแกนนิง แคลอรีเมทรี, ไอโซเธอร์มัล ไมโครแคลอรีมิเตอร์, แคลอรีมิเตอร์ไทเทรต และแคลอรีมิเตอร์อัตราเร่ง แคลอรีมิเตอร์รูปแบบง่าย ๆ ประกอบด้วยเทอร์โมมิเตอร์ติดเข้ากับภาชนะโลหะซึ่งมีน้ำบรรจุอยู่เต็มแขวนอยู่เหนือห้องเผาไหม้

เพื่อหาการเปลี่ยนแปลงเอนทัลปีต่อโมลของสสาร A ในปฏิกิริยาระหว่างสองสสาร A และ B สสารจะถูกเพิ่มเข้าไปในแคลอรีมิเตอร์และบันทึกอุณหภูมิก่อนปฏิกิริยาและหลังปฏิกิริยา ค่าพลังงานที่ดูดหรือคายจากปฏิกิริยาสามารถหาได้จาก ผลคูณของผลต่างอุณหภูมิหารด้วยมวลและความร้อนจำเพาะของสสาร การเปลี่ยนแปลงเอนทัลปีของปฏิกิริยาสามารถหาได้จาก ผลหารระหว่างผลต่างอุณหภูมิต่อจำนวนโมลของสสาร A วิธีการดังกล่าวถูกใช้ในการสอนทางวิชาการเป็นหลัก เนื่องจากเป็นทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงสมบัติของสาร แต่แนวคิดนี้ไม่ได้รวมถึงความร้อนซึ่งสูญเสียผ่านทางภาชนะหรือความร้อนจำเพาะของเทอร์โมมิเตอร์และภาชนะ นอกเหนือจากนั้น วัตถุซึ่งวางอยู่ภายในแคลอรีมิเตอร์แสดงว่าวัตถุได้มีการแลกเปลี่ยนความร้อนกับแคลอรีมิเตอร์และเข้าไปในของเหลว และความร้อนจะถูกดูดกลืนโดยแคลอรีมิเตอร์และของเหลวเท่ากับที่ความร้อนซึ่งโลหะคายออกมา