แคท สตีเวนส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยูซุฟ อิสลาม / แคท สตีเวนส์
ปี 1976
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดSteven Demetre Georgiou
เกิด (1948-07-21) 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1948 (75 ปี)
ที่เกิดลอนดอน ประเทศอังกฤษ
แนวเพลงโฟล์ก ป็อป
อาชีพนักร้อง นักดนตรี นักแต่งเพลง
เครื่องดนตรีกีตาร์ เปียโน เพอร์คัสชั่น
ช่วงปี1966–1980 (Cat Stevens)
1995–2006 (Yusuf Islam)
2006–ปัจจุบัน (Yusuf)

ยูซุฟ อิสลาม หรือ ยูซุฟ (อังกฤษ: Yusuf Islam) นักร้อง นักดนตรี และนักแต่งเพลงชาวอังกฤษ เป็นที่รู้จักกันในชื่อ แคท สตีเวนส์ (อังกฤษ: Cat Stevens) มีชื่อจริงว่า สตีเวน ดีมีทรี จอร์จิโอ บิดามีเชื้อสายกรีก-ไซปรัส มารดามีเชื้อสายสวีเดน

แคท สตีเวนส์มีชื่อเสียงในช่วงต้นทศวรรษ 1970 โดยอัลบั้ม Tea for the Tillerman (1970) และ Teaser and the Firecat (1971) ของเขาได้การรับรองแผ่นเสียงทองคำขาวจากสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของสหรัฐอเมริกา และอัลบั้ม Catch Bull at Four (1972) ขึ้นถึงอันดับหนึ่งของนิตยสารบิลบอร์ดติดต่อกันสามสัปดาห์ [1] ผลงานของเขาได้รับการบันทึกเป็นหนึ่งใน 500 อัลบั้มที่ดีที่สุดตลอดกาล โดยนิตยสารโรลลิงสโตน [2] ผลงานเพลงที่มีชื่อเสียง เช่น "Morning Has Broken", "Moonshadow", "The First Cut Is the Deepest" และ "Peace Train"

ในปี ค.ศ. 1968 แคท สตีเวนส์ล้มป่วยเป็นวัณโรค จึงตั้งข้อสงสัยกับตัวเองเกี่ยวกับชีวิตและพระเจ้า หลังจากหายจากโรคเขาจึงปฏิญาณตนว่าจะอุทิศตนเพื่อรับใช้พระผู้เป็นเจ้า [3] ในปี ค.ศ. 1977 แคท สตีเวนส์ได้เปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม [4] เปลี่ยนชื่อเป็น ยูซุฟ อิสลาม ในปลายปี ค.ศ. 1979 และหันหลังให้กับวงการดนตรีขณะกำลังมีชื่อเสียง โดยอุทิศตนให้กับการเผยแพร่ศาสนา ทำมูลนิธิเพื่อการกุศล และช่วยเหลือเด็กกำพร้า

ในปี ค.ศ. 2000 เขาเคยถูกทางการอิสราเอลปฏิเสธการเดินทางเข้าประเทศ ด้วยข้อกล่าวหาว่าเขาให้ทุนสนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่มติดอาวุธฮามาส [5] ซึ่งทำให้ชื่อของเขาอยู่ในรายชื่อเฝ้าระวังของเอฟบีไอ ต่อมาในปี ค.ศ. 2004 ระหว่างการเดินทางจากอังกฤษไปยังสหรัฐอเมริกา พร้อมกับดอลลี พาร์ตัน ระบบคอมพิวเตอร์ของกองตรวจคนเข้าเมืองสหรัฐ ได้ปฏิเสธการเดินทางเข้าประเทศของเขา และถูกส่งตัวกลับ [6] เหตุการณ์นี้กลายเป็นข่าวใหญ่ในระดับนานาชาติ ทำให้นายแจ็ก สตรอว์ รัฐมนตรีต่างประเทศของอังกฤษต้องหารือในเรื่องนี้กับพลเอกคอลิน พอเวลล์ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอเมริกา [7] เขาได้ออกแถลงการณ์ว่าเหตุการณ์นี้น่าจะเกิดจากความเข้าใจผิด ชื่อของเขาในภาษาอาหรับสะกดเหมือนกับ "ยูซเซฟ อิสลาม" (Youssef Islam) ซึ่งเป็นบุคคลในรายชื่อเฝ้าระวัง [8] ต่อมาเขาได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้าสหรัฐอเมริกาในปลายปี ค.ศ. 2006 [9]

ในปี ค.ศ. 2006 เขากลับมาเล่นดนตรีเป็นครั้งแรกในรอบ 28 ปี โดยออกผลงานในชื่อ ยูซุฟ อัลบั้ม An Other Cup (2006) [10] และ Roadsinger (2009)

อ้างอิง[แก้]

  1. Review and Information regarding Catch Bull At Four Connolly, Dave
  2. Rolling Stone Magazine 500 Greatest Albums of All Time เก็บถาวร 2010-04-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Nov 18, 2003
  3. แคท (สตีเวนส์) กลับมาแล้ว! เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียบเรียงโดย วาริษาฮ์ อัมรีล
  4. Fitzsimmons, Mick; Harris, Bob (5 January 2001). "Cat Stevens - A Musical Journey". Taped documentary interview synopsis. BBC2. สืบค้นเมื่อ 20 December 2008.
  5. Dansby, Andrew (13 July 2000). "Israel Rejects the Former Cat Stevens". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-12-05. สืบค้นเมื่อ 12 October 2008.
  6. Goo, Sara Kehaulani (23 September 2004). "Cat Stevens leaves U.S. after entry denied". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 6 December 2007.
  7. "Cat Stevens "shock" at US refusal". BBC. 23 September 2004. สืบค้นเมื่อ 6 December 2007.
  8. "Interview With Yusuf Islam, Formerly Cat Stevens, Larry King Live". CNN. 7 October 2004. สืบค้นเมื่อ 7 January 2007.
  9. Pareles, Jon (20 December 2006). "Yusuf Islam Steps Back Into Cat Stevens's Old Sound". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 6 December 2007.
  10. New York Times Magazine Q&A with Yusuf Islam January 2007

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]