เหมืองถ่านหินอมบีลิน

พิกัด: 0°41′S 100°46′E / 0.683°S 100.767°E / -0.683; 100.767
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มรดกการทำเหมืองถ่านหินอมบีลิน
แห่งซาวะฮ์ลุนโต
Ombilin Coal Mining Heritage of Sawahlunto *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
ทางเข้าเหมืองถ่านหินอมบีลินใน ค.ศ. 1971
พิกัด0°41′S 100°46′E / 0.683°S 100.767°E / -0.683; 100.767
ประเทศ อินโดนีเซีย
ภูมิภาค **เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(ii), (iv)
อ้างอิง1610
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2562 (คณะกรรมการสมัยที่ 43)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

เหมืองถ่านหินอมบีลิน (อังกฤษ: Ombilin Coal Mine) คือเหมืองใกล้เมืองซาวะฮ์ลุนโต (Sawahlunto) ในจังหวัดสุมาตราตะวันตก ประเทศอินโดนีเซีย สถานที่แห่งนี้ตั้งอยู่ในหุบเขาแคบๆ ของภูเขาบูกิต บาริซาน (Bukit Barisan) ใกล้กับเมืองปาดัง ทางตะวันออกเฉียงเหนือ 70 กิโลเมตร ถ่านหินถูกค้นพบในกลางศตวรรษที่ 19 โดยวิลเลม เฮนริก เดอ เกรฟ (Willem Hendrik de Greve) และการทำเหมืองได้รับการบุกเบิกในบริเวณนี้ใน ค.ศ. 1876 เหมืองเป็นที่รู้จักในฐานะที่ตั้งการทำเหมืองถ่านหินที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[1]

ประวัติ[แก้]

เหมืองถ่านหินอมบีลินใน ค.ศ. 1915

ถ่านหินถูกค้นพบในบริเวณนี้ใน ค.ศ. 1868 โดยวิลเลม เฮนริก เดอ เกรฟ นักธรณีวิทยาชาวดัตช์ การทำเหมืองเปิดเริ่มใน ค.ศ. 1892 หลังจากการก่อสร้างทางรถไฟ ในช่วงก่อนประกาศอิสรภาพ การผลิตถ่านหินถึงจุดสูงสุดใน ค.ศ. 1930 ที่มากกว่า 620,000 ตันต่อปี นักโทษจากชวาและสุมาตราถูกส่งมาที่เหมืองด้วยขา มือ และคอที่ล่ามโซ่ไว้ พวกเขาหลายเป็นแรงงานหลักของเหมืองนี้ การผลิตถ่านหินของเหมืองนี้สามารถเติมเต็มความต้องการทางพลังงาน 90 เปอร์เซ็นต์ของหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ (Dutch East Indies)

ใน ค.ศ. 1942-1945 เหมืองถูกควบคุมโดยญี่ปุ่น และความรุ่งเรืองของเหมืองได้เสื่อมลง ใน ค.ศ. 1945-1958 เหมืองถูกบริหารโดยคณะกรรมการการทำเหมือง และใน ค.ศ. 1958-1968 สำนักงานกิจการการทำเหมืองของรัฐ ใน ค.ศ. 1968 เหมืองกลายเป็นกองการผลิตอมบีลิน ของกิจการการทำเหมืองของรัฐ การผลิตพุ่งสุ่จุดสูงสุดใน ค.ศ. 1976 ที่ 1,201,846 ตันต่อปี[2]

จนกระทั่งใน ค.ศ. 2002 เหมืองถูกดำเนินการในฐานะเหมืองเปิด หลังจากนั้นเหมืองใต้ดินเท่านั้นที่ยังคงดำเนินการอยู่ ในเร็วๆนี้ บริษัท CNTIC ได้ลงทุน 100 ล้านดอลลาร์กับเหมืองนี้ เจ้าของเหมืองแห่งนี้คือ PT Tambang Batubara Bukit Asam (PTBA) และดำเนินการโดย China National Technology Import-Export Corporation (CNTIC) ของจีน ปัจจุบันเหมืองแห่งนี้ผลิตถ่านหินได้ประมาณ 5 แสนตันต่อปี

มรดกโลก[แก้]

การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 43 ค.ศ. 2019 มรดกการทำเหมืองถ่านหินอมบีลินแห่งซาวะฮ์ลุนโตได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา[3] ดังนี้

  • (ii) - เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
  • (iv) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

อ้างอิง[แก้]