เหตุระเบิดท่าอากาศยานนานาชาติโดโมเดโดโว พ.ศ. 2554

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหตุระเบิดท่าอากาศยานนานาชาติโดโมเดโดโว พ.ศ. 2554
เป็นส่วนหนึ่งของการก่อจลาจลในคอเคซัสตอนเหนือ
ห้องโดยสารของท่าอากาศยานนานาชาติโดโมเดโดโว (2007)
สถานที่ท่าอากาศยานนานาชาติโดโมเดโดโว
อำเภอโดโมเดโดฟสกีย์, Moscow Oblast, รัสเซีย
วันที่วันจันทร์ 24 มกราคม ค.ศ.2011
16:32 MSK[1] (UTC+03:00)
เป้าหมายท่าอากาศยานนานาชาติโดโมเดโดโว
ประเภทระเบิดฆ่าตัวตาย
อาวุธImprovised explosive device
ตาย37[2]
เจ็บ173
ผู้ก่อเหตุCaucasus Emirate
Riyad-us Saliheen Brigade[3]

เหตุระเบิดท่าอากาศยานนานาชาติโดโมเดโดโว พ.ศ. 2554 เป็นเหตุการณ์ซึ่งต้องสงสัยว่าเป็นเหตุโจมตีพลีชีพซึ่งเกิดขึ้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติโดโมเดโดโว ในเขตโดโมเดโวฟสกี มณฑลมอสโก นอกกรุงมอสโก เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554 เวลา 16.30 น. ตามเวลามอสโก[1] เหตุระเบิดดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 35 คน และได้รับบาดเจ็บอีกมากกว่า 180 คน ซึ่ง 86 คนในจำนวนนี้ได้ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล[4] สถานที่เสียชีวิตนั้น 31 คนเสียชีวิตที่ท่าอากาศยาน 3 คนเสียชีวิตที่โรงพยาบาล และอีก 1 คนเสียชีวิตขณะอยู่ในรถพยาบาล[5]

เหตุระเบิดสร้างความเสียหายแก่บริเวณรับสัมภาระของอาคารผู้โดยสารขาเข้าระหว่างประเทศ[1] มีบางรายงานระบุว่าเหตุระเบิดเป็นการกระทำของมือระเบิดพลีชีพ โดยเจ้าหน้าที่สืบสวนกล่าวว่า เหตุระเบิดเกิดขึ้นจาก "ระเบิดแสวงเครื่องบรรจุด้วยเศษกระสุน ชิ้นส่วนจากสายไฟที่ถูกสับ" และมีความรุนแรงอยู่ระหว่างทีเอ็นที 2 ถึง 5 กิโลกรัม ตำรวจกำลังติดตามผู้ต้องสงสัยเป็นชายสามคน[6][7] หัวหน้าฝ่ายสืบสวนของรัสเซียได้กล่าวว่า เหตุระเบิดเป็นผลงานของกลุ่มก่อการร้าย[4] เจ้าหน้าที่สืบสวนพบศีรษะของมนุษย์เพศชาย และปัจจุบันเชื่อกันว่าอาจเป็นศีรษะของมือระเบิดพลีชีพ[7][8]

ตามข้อมูลของหนังสือพิมพ์รัสเซียฉบับหนึ่ง มีมือระเบิดดำเนินการอยู่สองคน ชายและหญิงอย่างละหนึ่งคน ส่วนผู้สมรู้ร่วมคิดที่อยู่ห่างจากจุดเกิดเหตุระเบิดอีกสามคนกำลังอยู่ในระหว่างถูกไล่ล่า[9] แหล่งที่มาของการโจมตีดังกล่าวยังไม่ชัดเจน ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงคาดการณ์ว่ามือระเบิดอาจเป็นผู้ทำสงครามมุสลิมจากคอเคซัสเหนือ ถึงแม้ว่าข้อมูลดังกล่าวจะยังไม่ได้รับการยืนยันก็ตาม เหตุโจมตีดังกล่าวอาจเป็นพฤติการณ์แก้แค้นจากปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายล่าสุด รวมทั้งการสังหารปะฮ์รูดิน กัดจีเยฟ ในดาเจสถาน เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว กัดจีเยฟต้องสงสัยว่าจัดการโจมตีพลีชีพเมื่อปีที่แล้ว ตามข้อมูลรายงาน[7]

ท่าอากาศยานดังกล่าวตั้งอยู่ห่างจากใจกลางกรุงมอสโก 40 กิโลเมตร และมีการสัญจรหนาแน่นโดยผู้ทำงานต่างชาติและนักท่องเที่ยว[4] เหตุระเบิดดังกล่าวส่งผลให้ตลาดหลักทรัพย์มอสโกร่วงลงเกือบ 2% หลังจากเหตุระเบิด ประธานาธิบดีรัสเซีย ดมิทรี เมดเวเดฟ ประกาศว่า เขาจะชะลอการเดินทางออกนอกประเทศเพื่อไปเข้าร่วมสภาเศรษฐกิจโลก ในดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

เหยื่อ[แก้]

ผู้เสียชีวิตที่ได้รับการยืนยันรายแรกเป็นผู้เขียนบทชาวยูเครนวัย 29 ปี อันนา ยาบลอนสกายา ผู้ประพันธ์บทละครเป็นจำนวนมาก ครึ่งชั่วโมงก่อนหน้าเหตุระเบิด ยาบลอนสกายามาถึงท่าอากาศยานจากเมืองเกิด โอเดสซา เพื่อเข้าร่วมพิธีมอบรางวัลนักเขียนบทรุ่นใหม่ เธอเป็นหนึ่งในผู้ชนะรางวัลดังกล่าวซึ่งเป็นรางวัลที่จัดโดยนิตยสารซินีมาอาร์ต[10][11]

25 มกราคม กระทรวงสถานการณ์ฉุกเฉิน (EMECOM) ตีพิมพ์รายชื่อผู้เสียชีวิต[12] โดยผู้เสียชีวิตจำนวน 26 คน จาก 35 คน ได้รับการยืนยัน

ตามการระบุของตัวแทนคณะกรรมการสืบสวนสหพันธรัฐรัสเซีย วลาดีมีร์ มาร์กิน ระบุว่า มีพลเมืองชาวอังกฤษเสียชีวิตในเหตุระเบิด 2 คน[13] อย่างไรก็ตาม บทความในบีบีซีภายหลังได้ระบุว่ามีพลเมืองชาวอังกฤษเสียชีวิตเพียงคนเดียว ส่วนอีกคนหนึ่งเป็นพลเมืองเยอรมัน[14] มีเพียง Gordon Cousland นักวิเคราะห์ของ CACI เท่านั้น ที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นพลเมืองชาวอังกฤษ[15] ในขณะที่เหยื่ออีกรายหนึ่ง คิริล โบดราชอฟ ถูกบรรจุเป็นพลเมืองอังกฤษโดยกระทรวงสถานการณ์ฉุกเฉิน[12] ซึ่งเป็นพลเมืองรัสเซียที่อาศัยอยู่ในลอนดอนเป็นเวลาหลายปี[16] กระทรวงการต่างประเทศบัลแกเรียรายงานว่ามีชายชาวบัลแกเรียเสียชีวิตด้วย 1 คน[17] อย่างไรก็ตาม มีการระบุภายหลังว่าชายเชื้อสายบัลแกเรียนั้นแท้จริงแล้วเป็นพลเมืองออสเตรีย[18]

ตามข้อมูลของสถานทูตสโลวาเกียในมอสโก นักแสดงหญิงชาวสโลวัก ซูซานนา เฟียโลวา ได้รับบาดเจ็บในเหตุระเบิดด้วย[19]

ผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บแบ่งตามประเทศ[20][21]
ประเทศ เสียชีวิต บาดเจ็บ
 รัสเซีย 15[12][16] 58
 ทาจิกิสถาน 1[12] 4[22]
 เยอรมนี 1[12] 1[22]
 บริเตนใหญ่ 1[12][16] 1
 อุซเบกิสถาน 1[12] 1[22]
 ออสเตรีย 1[18]
 คีร์กีซสถาน 1[12]
 ยูเครน 1[12]
 ไนจีเรีย 2[22]
 สโลวาเกีย 2
 ฝรั่งเศส 1[22]
 อิตาลี 1[22]
 มอลโดวา 1[22]
 เซอร์เบีย 1[22]
 สโลวีเนีย 1[22]
ไม่ทราบสถานะพลเมือง/เหยื่อที่ไม่สามารถระบุอัตลักษณ์ 13[12] 13
รวม 35 87[23]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Ferris-Rotman, Amie (24 January 2011). "Suicide bomber kills 31 at Russia's biggest airport". Reuters. สืบค้นเมื่อ 24 January 2011.
  2. Число жертв теракта в Домодедово возросло до 37 (ภาษารัสเซีย). RIA Novosti. 24 February 2011. สืบค้นเมื่อ 24 February 2011.
  3. "Запутанный чеченский след". Газета.ru. 25 กรกฎาคม 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 July 2011. สืบค้นเมื่อ 25 July 2011.
  4. 4.0 4.1 4.2 "Domodedovo blast: Explosion rocks Moscow's main airport". BBC News. 24 January 2011. สืบค้นเมื่อ 24 January 2011.
  5. "На месте взрыва в Домодедово погиб 31 человек, сообщил Минздрав" (ภาษารัสเซีย). RIA Novosti. 24 January 2011. สืบค้นเมื่อ 24 January 2011.
  6. "Criminal case opened over Moscow airport suicide bombing". en.rian.ru. 24 January 2011. สืบค้นเมื่อ 24 January 2011.
  7. 7.0 7.1 7.2 "Live: Moscow airport explosion". BBC News. 24 January 2011. สืบค้นเมื่อ 24 January 2011.
  8. "В Домодедово найдены останки предполагаемого террориста" (ภาษารัสเซีย). RIA Novosti. สืบค้นเมื่อ 24 January 2011.
  9. Airport bombers were trained in Pak: Russia เก็บถาวร 2011-01-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, by Dipankar De Sarkar, Hindustan Times London, January 26, 2011
  10. "Одной из жертв теракта в "Домодедово" стала драматург Анна Яблонская" (ภาษารัสเซีย). RIA Novosti. 25 January 2011. สืบค้นเมื่อ 25 January 2011.
  11. "В Домодедово погибла драматург Анна Яблонская" (ภาษารัสเซีย). fontanka.ru. 25 January 2011. สืบค้นเมื่อ 25 January 2011.
  12. 12.00 12.01 12.02 12.03 12.04 12.05 12.06 12.07 12.08 12.09 "МЧС обнародовало список погибших при теракте в Домодедово" (ภาษารัสเซีย). RIA Novosti. 25 January 2011. สืบค้นเมื่อ 25 January 2011.
  13. "Двое британцев погибли при взрыве в Домодедово" (ภาษารัสเซีย). RIA Novosti. 24 January 2011. สืบค้นเมื่อ 24 January 2011.
  14. "Russia bomb: Medvedev blames airport 'breaches'". BBC. 25 January 2011. สืบค้นเมื่อ 25 January 2011.
  15. "Moscow bombing: British worker Gordon Cousland killed". BBC. 25 January 2011. สืบค้นเมื่อ 25 January 2011.
  16. 16.0 16.1 16.2 "Businessman dies in Moscow bombing". Press Association. 25 January 2011. สืบค้นเมื่อ 25 January 2011.
  17. "One Bulgarian-Austrian Among Killed in Moscow Attack". Sofia News Agency. 2011-01-25. สืบค้นเมื่อ 25 January 2011.
  18. 18.0 18.1 "Погибший в Домодедово болгарин был гражданином Австрии" (ภาษารัสเซีย). RIA Novosti. 25 January 2011. สืบค้นเมื่อ 25 January 2011.
  19. "Словацкая актриса ранена при взрыве в Домодедово" (ภาษารัสเซีย). RIA Novosti. สืบค้นเมื่อ 24 January 2011.
  20. Списки жертв теракта в Домодедово
  21. "МЧС России :: СПИСОК госпитализированных в ЛПУв результате взрыва в аэропорту «Домодедово» (по состоянию на 6.00 25.01.2011)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-27. สืบค้นเมื่อ 2011-01-28.
  22. 22.0 22.1 22.2 22.3 22.4 22.5 22.6 22.7 22.8 "Минздрав сообщает о 13 иностранцах, пострадавших в Домодедово" (ภาษารัสเซีย). RIA Novosti. 25 January 2011. สืบค้นเมื่อ 25 January 2011.
  23. "Moscow airport blast victims remain in critical condition". January 25, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-26. สืบค้นเมื่อ January 25, 2011.