เหตุผลวิบัติอรูปนัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เหตุผลวิบัติอรูปนัย (อังกฤษ: informal fallacy) เป็นการให้เหตุผล โดยที่เหตุที่ให้ไม่สนับสนุนผลที่แสดง[1] เหตุผลวิบัติอรูปนัยมักเป็นผลจากความผิดพลาดด้านความคิดที่ทำให้ผลที่กล่าวถึงไม่น่าเชื่อถือ เปรียบเทียบกับ "เหตุผลวิบัติรูปนัย" (formal fallacy) ซึ่งเป็นความผิดพลาดทางตรรกะ

ความแตกต่างระหว่างเหตุผลวิบัติรูปนัยและอรูปนัย[แก้]

เหตุผลวิบัติรูปนัยเป็นการให้เหตุผลเชิงนิรนัย (deductive reasoning) ที่เกิดความผิดพลาดในทางตรรกะ ที่ควรจะให้ผลที่เป็นจริงเมื่อมีเหตุที่เป็นจริง ซึ่งทำให้เหตุผลนั้นเป็นโมฆะ

ส่วนเหตุผลโดยอุปนัยซึ่งเป็นวิธีการให้เหตุผลแบบอรูปนัย ไม่ได้ตัดสินตามหลักของตรรกะเช่นนั้น คือ ความสมควรของเหตุผลนั้นตัดสินโดยความน่าเชื่อถือทางความคิด หรือตามกำลังของหรือตามวิธีการทางอุปนัย (ยกตัวอย่างเช่น การอนุมานโดยใช้สถิติ) ยกตัวอย่างเช่น เหตุผลวิบัติโดยการวางนัยทั่วไปเร็วเกินไป (hasty generalization) สามารถกล่าวได้ดังนี้

  1. "ก" เป็น "ข"
  2. และ "ก" ก็เป็น "ค" ด้วย
  3. ดังนั้น "ข" ทั้งหมดก็จะเป็น "ค" ด้วย

แม้ว่า โดยนิรนัยแล้ว นี้ไม่มีทางสมเหตุผล แต่ว่า ถ้าสามารถทำการอนุมานได้โดยใช้สถิติที่สมควร การให้เหตุผลโดยวิธีนี้อาจจะเป็นสิ่งที่น่าเชื่อถือได้

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. Kelly, D. (1994) The Art of Reasoning. W W Norton & Company, Inc. ISBN 0-393-96466-3

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]