เสาตรายานุส

พิกัด: 41°53′45″N 12°29′3″E / 41.89583°N 12.48417°E / 41.89583; 12.48417
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เสาไตรยานุส)
เสาตรายานุส
เสาตรายานุส มองทางเหนือจากสภาโรมัน
เสาตรายานุสตั้งอยู่ในโรม
เสาตรายานุส
เสาตรายานุส
แสดงที่ตั้งภายในโรม
แผนที่
ที่ตั้งสภาตรายานุส
พิกัด41°53′45″N 12°29′3″E / 41.89583°N 12.48417°E / 41.89583; 12.48417
ประเภทอนุสาวรีย์ชัยโรมัน
ความเป็นมา
ผู้สร้างจักรพรรดิตรายานุส
สร้างค.ศ. 107~113

เสาตรายานุส (อังกฤษ: Trajan's Column; อิตาลี: Colonna Traiana; ละติน: Columna Traiani) เป็นอนุสาวรีย์ชัยโรมันที่ตั้งอยู่ในกรุงโรมที่ก่อสร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่จักรพรรดิตรายานุสแห่งจักรวรรดิโรมันและอาจจะก่อสร้างภายใต้การควบคุมของสถาปนิกอพอลโลโดรัสแห่งดามาสคัส (Apollodorus of Damascus) ตามคำสั่งของวุฒิสภาโรมัน เสาตั้งอยู่ที่จัตุรัสตรายานุสไม่ไกลจากเนินคิรินาลทางด้านเหนือของจตุรัสโรมัน เสาตรายานุสสร้างเสร็จใน ค.ศ. 113 เป็นเสาอิสระที่มีชื่อเสียงตรงที่มีภาพสลักนูนเป็นเกลียวรอบเสาที่เป็นการสรรเสริญชัยชนะของตรายานุสในสงครามตรายานุสเดเซียน (Trajan's Dacian Wars) และเป็นอนุสาวรีย์ชัยที่มีอิทธิพลในการก่อสร้างอนุสาวรีย์ชัยอื่น ๆ ต่อมาตั้งแต่ในสมัยโบราณมาจนถึงสมัยใหม่

เสาตรายานุสสูงราว 30 เมตร (98 ฟุต) หรือ 35 เมตร (115 ฟุต) ถ้ารวมฐานขนาดใหญ่ ตัวเสาเป็นปล้องหินอ่อน 20 ปล้องจากหินอ่อนคาร์รารา[a] แต่ละปล้องหนักราว 32 ตัน[2] โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.7 เมตร (12.1 ฟุต) รูปสลักนูนเวียนรอบเสายาว 190 เมตร (620 ฟุต) วนรอบเสา 23 รอบ ภายในเสาเป็นช่องกลวงที่มีบันไดวน 185 ขั้นที่มีฐานชมทิวทัศน์อยู่ข้างบน ส่วนยอดของเสาตรายานุสมีน้ำหนัก 53.3 ตัน และต้องยกให้สูงประมาณ 34 เมตร (112 ฟุต)[3]

บนเหรียญโบราณแสดงภาพประติมากรรมรูปนกอยู่บนยอด ซึ่งอาจจะเป็นเหยี่ยว[4] หลังสร้างเสร็จ มีการตั้งอนุสาวรีย์จักรพรรดิตรายานุสไว้ตรงนี้ แต่หายไปในยุคกลาง เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1587 สมเด็จพระสันตะปาปาซิกส์ตุสที่ 5 ได้สั่งให้ตั้งรูปสัมริดของนักบุญปีเตอร์บนนั้น ซึ่งยังคงตั้งอยู่จนปัจจุบันนี้[5]

เดิมที เสาตรายานุสเคยตั้งขนาบข้างหอสมุดอุลเปียนสองบริเวณคือห้องกรีกและห้องละตินที่หันหน้าเข้าหากัน และมีผนังเรียงรายไปด้วยช่องและตู้หนังสือไม้สำหรับใส่ม้วนหนังสือ[6][7][8] ห้องละตินน่าจะมี Dacica อรรถกถาเกี่ยวกับสงครามโรมัน-ดาเกียของจักรพรรดิตรายานุส ที่นักวิชาการส่วนใหญ่ยอมรับว่าตั้งใจที่จะสะท้อนผ่านการออกแบบด้วยการสลักเรื่องราวแบบหมุนวนที่เสาตรายานุส[9]

จารึก[แก้]

แผ่นจารึกเหนือทางเข้า (ภาพส่วนบน)

ข้อความจารึกที่ฐานเสามีรายละเอียดดังนี้:

SENATVS·POPVLVS·QVE·ROMANVS

IMP·CAESARI·DIVI·NERVAE·F·NERVAE TRAIANO·AVG·GERM·DACICO·PONTIF MAXIMO·TRIB·POT·XVII·IMP·VI·COS·VI·P·P AD·DECLARANDVM·QVANTAE·ALTITVDINIS

MONS·ET·LOCVS·TANT<IS·OPER>IBVS·SIT·EGESTVS[10]

ภาพ[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. ในสมัยโบราณ หินอ่อนคาร์รารามีชื่อเรียกว่า หินอ่อนลูนา ตามท่าเรือลูนา อิทรูเรีย ที่มีการนำเข้าหินที่ผ่านการตัดที่เทือกเขาคาร์ราราจากท่าเรือลูนี[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. Diana E. E. Kleiner. The Ascent of Augustus and Access to Italian Marble (Multimedia presentation). Yale University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-09. สืบค้นเมื่อ 2022-06-22.
  2. Jones 1993, p. 32
  3. Lancaster 1999, pp. 426–428
  4. Platner 1929
  5. Paoletti & Radke 2005, p. 541
  6. McGeough, Kevin M. (2004). The Romans: New Perspectives (ภาษาอังกฤษ). ABC-CLIO. ISBN 978-1-85109-583-4.
  7. Yegül, Fikret; Favro, Diane (2019-09-05). Roman Architecture and Urbanism: From the Origins to Late Antiquity (ภาษาอังกฤษ). Cambridge University Press. p. 341. ISBN 978-0-521-47071-1.
  8. Sear, Frank (2002-01-04). Roman Architecture (ภาษาอังกฤษ). Routledge. ISBN 978-1-134-63578-8.
  9. Marasco, Gabriele (2011-09-23). Political Autobiographies and Memoirs in Antiquity: A Brill Companion (ภาษาอังกฤษ). BRILL. p. 368. ISBN 978-90-04-18299-8.
  10. CIL VI.960

ข้อมูล[แก้]

  • Beckmann, Martin (2002), "The 'Columnae Coc(h)lides' of Trajan and Marcus Aurelius", Phoenix, 56 (3/4): 348–357, doi:10.2307/1192605, JSTOR 1192605
  • Bennett, Julian (1997), Trajan. Optimus Princeps, Routledge, ISBN 978-0-415-16524-2
  • Cichorius, Conrad (1896), Die Reliefs der Traianssäule. Erster Tafelband: "Die Reliefs des Ersten Dakischen Krieges", Tafeln 1–57, Berlin: Verlag von Georg Reimer
  • Cichorius, Conrad (1900), Die Reliefs der Traianssäule. Zweiter Tafelband: "Die Reliefs des Zweiten Dakischen Krieges", Tafeln 58–113, Berlin: Verlag von Georg Reimer
  • Davies, Penelope J. E. (1997), "The Politics of Perpetuation: Trajan's Column and the Art of Commemoration", American Journal of Archaeology, Archaeological Institute of America, 101 (1): 41–65, doi:10.2307/506249, JSTOR 506249, S2CID 155391228
  • Förtsch, Reinhard (2007), Die Trajanssäule, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-16, สืบค้นเมื่อ 2009-09-30
  • Jones, Mark Wilson (1993), "One Hundred Feet and a Spiral Stair: The Problem of Designing Trajan's Column", Journal of Roman Archaeology, 6: 23–38, doi:10.1017/S1047759400011454
  • Jones, Mark Wilson (2000), Principles of Roman Architecture, Yale University Press, ISBN 0-300-08138-3
  • Lancaster, Lynne (1999), "Building Trajan's Column", American Journal of Archaeology, Archaeological Institute of America, 103 (3): 419–439, doi:10.2307/506969, JSTOR 506969, S2CID 192986322
  • Lepper, Frank; Frere, Sheppard (1988), Trajan's Column. A New Edition of the Cichorius Plates. Introduction, Commentary and Notes, Gloucester: Alan Sutton Publishing, ISBN 0-86299-467-5
  • Paoletti, John T.; Radke, Gary M. (2005), Art in Renaissance Italy (3rd ed.), Laurence King Publishing, ISBN 978-1-85669-439-1
  • Platner, Samuel Ball (1929), A Topographical Dictionary of Ancient Rome, LacusCurtius, สืบค้นเมื่อ 2009-03-06
  • Rossi, Lino (1971), Trajan's Column and the Dacian Wars, Cornell University Press, ISBN 0-801-40594-7

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Claridge, Amanda (1993), "Hadrian's Column of Trajan", Journal of Roman Archaeology, 6: 5–22, doi:10.1017/S1047759400011442
  • Hamberg, Per Gustaf (1945), Studies in Roman Imperial Art: with special reference to the State Reliefs of the Second Century, Almqvist & Wiksell, Uppsala

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เสาตรายานุส