เมืองหลวง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เมืองหลวง หรือ ราชธานี คือ เมืองหลักที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล ส่วนใหญ่เป็นที่ตั้งของทำเนียบรัฐบาล คำในภาษาอังกฤษ capital มาจากภาษาละติน caput หมายถึง "หัว" และอาจเกี่ยวข้อง เนินเขาแคปิทอไลน์ เนินเขาที่สูงที่สุดในโรมโบราณ ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์และศาสนา

ในภาษาไทย มีหลายคำที่ใช้ในความหมายนี้ เช่น กรุง หรือ พระนคร สำหรับคำว่าเมืองหลวงนั้นยังก็มีความหมายเป็นสองนัย กล่าวคือ หมายถึงเมืองใหญ่ (หลวง หมายถึง ใหญ่) หรือเมืองของหลวง (คือเมืองของพระเจ้าแผ่นดิน, เพราะเป็นที่ประทับของกษัตริย์) เมืองหลวงในบางประเทศ มีขนาดเล็กกว่าเมืองอื่น เช่นใน สหรัฐอเมริกา อินเดีย บราซิล สำหรับคำว่าเมืองหลวงนี้ อาจเป็นเมืองหลวงของรัฐ (ในประเทศที่ปกครองแบบสาธารณรัฐ เป็นต้น) หรือเมืองหลวงของเขตการปกครองระดับใด ๆ ก็ได้ เช่น อำเภอเมือง เปรียบเสมือนเป็นเมืองหลวงของจังหวัด

เมืองหลวงที่ไม่ใช่เมืองใหญ่ที่สุด[แก้]

แผนที่ประเทศที่เมืองหลวงไม่ใช่เมืองใหญ่ที่สุด

เมืองหลวงที่วางแผนไว้[แก้]

เมืองหลวงที่ใหญ่ที่สุดในแต่ละทวีป[แก้]

ชื่อทวีป ชื่อเมืองหลวง และจำนวนประชากรในวงเล็บ

เปรียบเทียบกับ กรุงเทพมหานคร ที่มีประชากร 5,716,248 คน เมื่อ พ.ศ. 2550 จากข้อมูลของสำนักทะเบียนกลาง[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่าง ๆ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-28. สืบค้นเมื่อ 2008-11-25.

ดูเพิ่ม[แก้]