เมกะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เมกะ (อังกฤษ: Mega, สัญลักษณ์ M) เป็นคำนำหน้าหน่วยที่ใช้ในระบบเมตริก ที่เรียกกันว่า คำอุปสรรคเอสไอ แสดงถึงค่าหนึ่งล้าน (106 หรือ 1000000) คำดังกล่าวเริ่มใช้อย่างเป็นทางการในระบบเอสไอตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 (พ.ศ. 2503) คำว่า เมกะ มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกว่า μέγας (megas, เมกัส) ซึ่งแปลว่า "ใหญ่, ยิ่งใหญ่"[1]

ตัวอย่างการใช้[แก้]

หากคำนำหน้าดังกล่าวถูกใช้ร่วมกับหน่วยที่มีการยกกำลัง เช่นในหน่วยของพื้นที่หรือปริมาตร คำนำหน้านั้นจะถือว่ารวมกับการยกกำลัง เช่น

  • 1 Mm2 คือ พื้นที่ขนาด 1 ตารางเมกะเมตร เทียบได้กับพื้นที่ที่กว้าง 1 ล้านเมตร ยาว 1 ล้านเมตร หรือ 1 ล้านล้านตารางเมตร (1012 m2) ไม่ได้หมายถึง 1 ล้านตารางเมตร แต่อย่างใด
  • 1 Mm3 คือ ปริมาตรขนาด 1 ลูกบาศก์เมกะเมตร เทียบได้กับปริมาตรขนาด 1 ล้านเมตร x 1 ล้านเมตร x 1 ล้านเมตร หรือ 1 ล้านล้านล้านลูกบาศก์เมตร (1018 m3) ไม่ได้หมายถึง 1 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่อย่างใด

วิชาการคอมพิวเตอร์[แก้]

ในสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ คำว่า เมกะ เมื่อใช้กับหน่วยความจำ จะมีค่าเท่ากับ 1,048,576 (หรือ 220) เช่น หนึ่งเมกะไบต์ = 1,048,576 ไบต์ แต่เมื่อใช้กับหน่วยปริมาณอื่นแล้ว เมกะจะมีค่าเท่ากับ 1,000,000 (หรือ 106) เช่น อัตราการส่งข้อมูล 1 เมกะบิตต่อวินาที (Mbit/s หรือ Mbps) = 1,000,000 บิตต่อวินาที

อ้างอิง[แก้]