เพอร์คัชชัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ในทางดนตรี เครื่องเพอร์คัชชัน (percussion) หมายถึงวัตถุที่ให้เสียงจากการตี กระทบ ถู เขย่า หรือการกระทำลักษณะที่ใกล้เคียงกันที่ทำให้วัตถุสั่นและเกิดเสียง เพอร์คัชชันนั้นหมายความรวมทั้งเครื่องดนตรีที่รู้จักกันทั่วไป เช่น กลอง ฉาบ ฆ้อง แทมบูรีน ไซโลโฟน

เครื่องเพอร์คัชชันมีทั้งเครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงและไม่มีระดับเสียง เครื่องดนตรีที่มีระดับเสียง ซึ่งหมายถึงว่าเสียงที่ออกมานั้นมีความถี่ที่ซับซ้อนจนมาสามารถตั้งเป็นตัวโน้ตได้เช่น กลองทิมปานี มาริมบา ไซโลโฟน ระนาด และเครื่องที่ไม่มีระดับเสียง เช่น กลองสแนร์ ฉาบ ไทรแองเกิล เป็นต้น

คำว่าเพอร์คัชชัน มีที่มาจากภาษาละตินว่า "percussio" ซึ่งมีความหมายว่า"ตี" ในภาษาอังกฤษ คำว่าเพอร์คัชชันไม่ได้จำกัดการใช้เฉพาะในทางดนตรี ในภาษาไทย บางครั้งจะเรียกเครื่องเพอร์คัชชันว่า เครื่องกระทบ[1] เครื่องตี หรือเครื่องเคาะ[2] เก็บถาวร 2006-12-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน รวมถึงเครื่องให้จังหวะ [3] เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน และเครื่องประกอบจังหวะ [4] เก็บถาวร 2007-05-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

เพอร์คัชชันในดนตรีประเภทต่าง ๆ[แก้]

เพอร์คัชชันแบบออร์เคสตรา[แก้]

เครื่องเพอร์คัชชันแบบมีระดับเสียงในวงออร์เคสตรา โครเทล (บน) และกลอกเคนสปีล (ล่าง)

ในวงออร์เคสตรา เพอร์คัชชันถือเป็นหนึ่งในสี่ส่วนประกอบอันได้แก่ เครื่องสาย เครื่องเป่าลมไม้ เครื่องเป่าลมทองเหลือง และเพอร์คัชชัน เครื่องดนตรีที่มักจะใช้ในวงออร์เคสตราได้แก่ ทิมปานี กลองสแนร์ กลองใหญ่ ฉาบ ไทรแองเกิล แทมแทม กลอกเคนสปีล ไซโลโฟน เซเลสทา และไชมส์ นอกจากนี้ ฝ่ายเพอร์คัชชันยังรับผิดชอบการสร้างเสียงอื่นๆ เช่น คาวเบลล์ วูดบลอก และเครื่องดนตรีแปลกๆอีกหลายชนิด โดยทั่วไปนักเพอร์คัชชันจะถูกฝึกให้เล่นได้ทุกเครื่อง แต่นักทิมปานีมักจะเล่นทิมปานีเป็นหลักแม้ว่าจะถูกฝึกมาแบบนักเพอร์คัชชันก็ตาม นอกจากนักทิมปานี ผู้เล่นคนอื่นจะต้องพร้อมกับการเล่นทุกเครื่อง รวมถึงเครื่องดนตรีแปลกๆอย่างกลองบองโกหรือลูกซัด ในหนึ่งเพลงผู้เล่นอาจจะต้องเล่นมากกว่าหนึ่งเครื่องดนตรี ซึ่งหลายครั้งต้องเปลี่ยนระหว่างเครื่องอย่างรวดเร็ว หรือแม้แต่เล่นสองเครื่องในเวลาเดียวกัน

เพอร์คัชชันแบบมาร์ช[แก้]

เครื่องเพอร์คัชชันในวงมาร์ช โดยเครื่องดนตรีจะติดกับตัวผู้เล่น

เครื่องดนตรีเพอร์คัชชันแบบมาร์ช จะถูกออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับการเล่นในขณะที่มีการเคลื่อนไหว และมีเสียงดังเพราะกิจกรรมดนตรีแบบมาร์ชมักจะอยู่ภายนอกอาคาร เครื่องดนตรีประเภทนี้ ใช้ในวงมาร์ช ดรัมคอร์ป ในขณะที่อองซอมเบิลที่ใช้เครื่องดนตรีเพอร์คัชชันแบบมาร์ชมักรู้จักในชื่อดรัมไลน์

เครื่องดนตรีเพอร์คัชชันแบบมาร์ชชิงที่ใช้ ได้แก่ กลองสแนร์ กลองใหญ่ ฉาบ กลองเทเนอร์ เป็นต้น โดยเครื่องดนตรีแบบมาร์ชจะมีความแตกต่างจะเครื่องดนตรีชนิดเดียวกันที่ใช้ในวงออร์เคสตรา นอกจากนี้ ในวงมาร์ชและดรัมคอร์ป อาจจะมีเครื่องเพอร์คัชชันแบบออร์เคสตราตั้งอยู่ด้านข้างของสนาม มักเรียกว่า "พิท"

เครื่องตีในดนตรีไทย[แก้]

ในดนตรีไทย เครื่องตีเป็นหนึ่งสี่ประเภทเครื่องดนตรีอันได้แก่เครื่องดีด สี ตี และเป่า

อ้างอิง[แก้]