เทศบาลเมืองวารินชำราบ

พิกัด: 15°12′02″N 104°51′41″E / 15.20056°N 104.86139°E / 15.20056; 104.86139
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลเมืองวารินชำราบ
สถานีรถไฟอุบลราชธานี
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลเมืองวารินชำราบ
ตรา
ทม.วารินชำราบตั้งอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี
ทม.วารินชำราบ
ทม.วารินชำราบ
ที่ตั้งของเทศบาลเมืองวารินชำราบ
พิกัด: 15°12′02″N 104°51′41″E / 15.20056°N 104.86139°E / 15.20056; 104.86139
ประเทศ ไทย
จังหวัดอุบลราชธานี
อำเภอวารินชำราบ
จัดตั้ง
  •  • พ.ศ. 2480 (ทต.ธาตุ)
  •  • พ.ศ. 2486 (ทต.วารินชำราบ)
  •  • พ.ศ. 2538 (ทม.วารินชำราบ)
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีจีระชัย ไกรกังวาร
พื้นที่
 • ทั้งหมด12.9 ตร.กม. (5.0 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2560)[1]
 • ทั้งหมด27,249 คน
 • ความหนาแน่น2,112.33 คน/ตร.กม. (5,470.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04341501
ทางหลวง
ที่อยู่
สำนักงาน
สำนักงานเทศบาลเมืองวารินชำราบ ถนนประทุมเทพภักดี ตำบลวารินชำราบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี 34190
โทรศัพท์0 4532 1031
เว็บไซต์www.warincity.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลเมืองวารินชำราบ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลเมือง ตั้งอยู่ที่อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี มีอาณาเขตครอบคลุมเขตตำบลวารินชำราบทั้งหมด โดยห่างจากเทศบาลนครอุบลราชธานีเพียงแค่ 2 กิโลเมตรเท่านั้น และเป็นเมืองที่ใหญ่อันดับ 2 ของจังหวัดอุบลราชธานี รองจากเทศบาลนครอุบลราชธานี เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจอย่างมากในจังหวัดอุบลราชธานี

ประวัติ[แก้]

  • เทศบาลเมืองวารินชำราบเดิมชื่อ "บ้านคำน้ำแซบ" ต่อมาเป็นชุมชนที่มีความสำคัญ กระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศใช้ในราชกิจานุเบกษา เล่มที่ 45 ตอนที่ 76 ลงวันที่ 14 มีนาคม 2480 ยกฐานะบ้านคำน้ำแซบขึ้นเป็นเทศบาล โดยใช้ชื่อว่า เทศบาลตำบลธาตุ มีพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร[2] พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลธาตุ จังหวัดอุบลราชธานี พุทธศักราช ๒๔๘๐] โดยมีนายกเทศมนตรีคนแรกคือพระยาประทุมเทพภักดี
  • ต่อมา พ.ศ. 2486 ได้ประกาศในราชกิจานุเบกษา เล่มที่ 60 ตอนที่ 44 ลงวันที่ 24 สิงหาคม 2486 ได้ทำการเปลี่ยนชื่อจาก เทศบาลตำบลธาตุ เป็น เทศบาลตำบลวารินชำราบ[3] เพื่อให้ตรงกับชื่อของอำเภอวารินชำราบ
  • พ.ศ. 2490 มีพระราชกฤษฎีกาขยายเขตเทศบาลเพิ่มขึ้นอีก มีเนื้อที่ 5.7 ตารางกิโลเมตร[4]
  • พ.ศ. 2534 มีพระราชกฤษฎีกาขยายเขตเทศบาลเพิ่มขึ้นอีก มีเนื้อที่ 12.9 ตารางกิโลเมตร[5] โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 ถึงปัจจุบัน
  • พ.ศ. 2538 มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะจากเทศบาลตำบลวารินชำราบเป็น เทศบาลเมืองวารินชำราบ เป็นต้นมา[6]

ตราประจำเทศบาล[แก้]

  • ตราประจำเทศบาลเมืองวารินชำราบเป็นรูป "พระแม่ธรณีหลั่งน้ำสังข์" หมายถึง มีน้ำไหลตลอดไม่ขาด ข้อเท็จจริงแล้วในเขตเทศบาลเมืองวารินชำราบมีลำธารเล็ก ๆ เรียกว่า ลำคำน้ำแซบ ไหลผ่านเป็นลำธารที่มีน้ำซับไหลซึมจากใต้พื้นดินอยู่ชั่วตลอดนาตาปี ก่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ต่อท้องถิ่นและประชาชนทั่วไปได้ใช้น้ำตลอดทั้งปี

การศึกษา[แก้]

สถานศึกษาในสังกัดเทศบาลเมืองวารินชำราบ 3 โรงเรียน คือ

  • โรงเรียนเทศบาลวารินวิชาชาติ
  • โรงเรียนเทศบาลบ้านสุขสำราญ
  • โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองตาโผ่นมิตรภาพที่ 5

การคมนาคม[แก้]

  • ทางบกในเขตเทศบาลเมืองวารินชำราบ มีการบริการด้วยรถโดยสารสองแถวประจำทาง รถจักรยานยนต์รับจ้าง รถแท็กซี่มิเตอร์ และรถสามล้อเครื่อง
  • ทางรถไฟ โดยมีรถไฟบริการ ณ สถานีรถไฟอุบลราชธานี จากกรุงเทพมหานคร (หัวลำโพง) - อุบลราชธานี ทุกวัน

อ้างอิง[แก้]

  1. รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2560 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองวารินชำราบ ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง
  2. พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลธาตุ จังหวัดอุบลราชธานี พุทธศักราช ๒๔๘๐
  3. พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อเทศบาลตำบลธาตุ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นเทศบาลตำบลวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี พุทธศักราช ๒๔๘๖
  4. พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. ๒๕๐๙
  5. พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๔
  6. พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. ๒๕๓๘

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]