เทศบาลนครตรัง

พิกัด: 7°33′27″N 99°36′37″E / 7.55750°N 99.61028°E / 7.55750; 99.61028
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลนครตรัง
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลนครตรัง
ตรา
สมญา: 
เมืองทับเที่ยง
ทน.ตรังตั้งอยู่ในจังหวัดตรัง
ทน.ตรัง
ทน.ตรัง
ที่ตั้งของเทศบาลนครตรัง
ทน.ตรังตั้งอยู่ในประเทศไทย
ทน.ตรัง
ทน.ตรัง
ทน.ตรัง (ประเทศไทย)
พิกัด: 7°33′27″N 99°36′37″E / 7.55750°N 99.61028°E / 7.55750; 99.61028
ประเทศ ไทย
จังหวัดตรัง
อำเภอเมืองตรัง
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีสัญญา ศรีวิเชียร
พื้นที่
 • ทั้งหมด14.77 ตร.กม. (5.70 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2560)[1]
 • ทั้งหมด59,894 คน
 • ความหนาแน่น4,055.11 คน/ตร.กม. (10,502.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.03920102
สนามบินท่าอากาศยานตรัง
ทางหลวง
ที่อยู่
สำนักงาน
สำนักงานเทศบาลนครตรัง 103 ถนนวิเศษกุล ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง 92000
เว็บไซต์www.trangcity.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ตรัง เป็นเทศบาลนครแห่งหนึ่งในอำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดตรัง มีพื้นที่ 14.77 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมเขตตำบลทับเที่ยง ซึ่งอาจเรียกตัวเมืองตรังได้อีกชื่อหนึ่งว่า "เมืองทับเที่ยง"[2] มีประชากรในปี พ.ศ. 2560 จำนวน 59,894 คน[1]

ประวัติ[แก้]

เทศบาลนครตรัง เดิมเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบสุขาภิบาล ซึ่งสุขาภิบาลเมืองตรังได้ถูกจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2474 สมัยรัชกาลที่ 7 ต่อมาเมื่อมีพระราชบัญญัติระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 สุขาภิบาลเมืองตรังได้รับการยกฐานะมาเป็นเทศบาลเมืองตรัง เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2476 ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองตรัง ซึ่งประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478 ซึ่งได้เปิดดำเนินการครั้งแรกโดยใช้ที่ทำการสุขาภิบาลเมืองตรังเดิมเป็นสำนักงานเทศบาลเมืองตรัง ตั้งอยู่ถนนวิเศษกุล ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง มีพื้นที่รับผิดชอบ ทั้งสิ้น 6.86 ตารางกิโลเมตร และในปี พ.ศ. 2484 เทศบาลได้ทำการก่อสร้างอาคารสำนักงานเทศบาลเมืองตรังขึ้นมาใหม่ในที่เดิม โดยสร้างเป็นอาคารไม้ชั้นเดียวแล้วดำเนินการเรื่อยมา

จากนั้นในปี พ.ศ. 2511 เทศบาลได้มีการขยายอาณาเขตเทศบาลออกไปอีก 7.91 ตารางกิโลเมตร เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2511 รวมเป็นพื้นที่รับผิดชอบทั้งสิ้น 14.77 ตารางกิโลเมตร หลังจากนั้นมาเทศบาลนครตรังเจริญขึ้นตลอดเวลา ประกอบกับอาคารสำนักงานเทศบาลเดิมสภาพคับแคบและทรุดโทรม จึงได้ทำการก่อสร้างสำนักงานเทศบาลขึ้นใหม่ ก่อสร้างเสร็จเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2521 และได้ทำพิธีเปิดดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2522 และได้รับการประกาศให้เป็นเทศบาลนครตรัง ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับกฤษฎีกา เล่ม 116 ตอนที่ 110 ก เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542

ภูมิอากาศ[แก้]

ข้อมูลภูมิอากาศของเทศบาลนครตรัง
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 35.6
(96.1)
37.6
(99.7)
38.6
(101.5)
39.2
(102.6)
38.4
(101.1)
35.6
(96.1)
35.2
(95.4)
34.9
(94.8)
34.8
(94.6)
35.6
(96.1)
34.6
(94.3)
34.7
(94.5)
39.2
(102.6)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 31.9
(89.4)
34.0
(93.2)
35.2
(95.4)
35.2
(95.4)
33.0
(91.4)
32.1
(89.8)
31.6
(88.9)
31.5
(88.7)
31.2
(88.2)
31.4
(88.5)
30.8
(87.4)
30.7
(87.3)
32.38
(90.29)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 26.5
(79.7)
27.5
(81.5)
28.4
(83.1)
28.6
(83.5)
27.6
(81.7)
27.3
(81.1)
26.9
(80.4)
26.9
(80.4)
26.5
(79.7)
26.4
(79.5)
26.1
(79)
26.2
(79.2)
27.08
(80.74)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 21.2
(70.2)
21.2
(70.2)
22.0
(71.6)
23.1
(73.6)
23.5
(74.3)
23.3
(73.9)
23.0
(73.4)
23.1
(73.6)
23.0
(73.4)
22.9
(73.2)
22.7
(72.9)
22.3
(72.1)
22.61
(72.7)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 15.9
(60.6)
15.0
(59)
17.0
(62.6)
18.7
(65.7)
19.2
(66.6)
20.2
(68.4)
19.0
(66.2)
19.5
(67.1)
20.0
(68)
20.2
(68.4)
19.0
(66.2)
17.4
(63.3)
15
(59)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 46
(1.81)
21
(0.83)
49
(1.93)
118
(4.65)
249
(9.8)
221
(8.7)
273
(10.75)
266
(10.47)
352
(13.86)
279
(10.98)
208
(8.19)
106
(4.17)
2,188
(86.14)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) 3 2 4 10 17 15 16 17 19 19 15 9 146
แหล่งที่มา: NOAA (1961-1990)[3]

การขนส่ง[แก้]

ถนนสายหลักที่ผ่านตัวเมืองตรัง คือ ถนนเพชรเกษม (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4) ซึ่งเป็นเส้นทางเชื่อมจากจังหวัดกระบี่ผ่านจังหวัดตรังต่อไปยังจังหวัดพัทลุง

เมืองตรังมีสถานีรถไฟตรังในเส้นทางรถไฟสายอันดามัน ซึ่งเป็นทางแยกจากสถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง และมีปลายทางที่สถานีรถไฟกันตัง

นอกจากนี้ ยังมีท่าอากาศยานตรัง ตั้งอยู่ในตำบลโคกหล่อ อำเภอเมืองตรัง ซึ่งห่างจากตัวเมืองไปทางใต้ประมาณ 7 กิโลเมตร มี 3 สายการบินให้บริการคือ ไทยแอร์เอเชีย ไทยไลอ้อนแอร์ และนกแอร์

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2560 ท้องถิ่นเทศบาลนครตรัง ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง
  2. “ทับเที่ยง” เล่าเรื่องเมืองร้อยปี..(ตอนที่ 1) / จำนง ศรีนคร ผู้จัดการออนไลน์
  3. "Climate Normals for Trang". National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ 8 February 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]