เดอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เดอ
D'eux
ไฟล์:F04-D'eux.jpg
ภาพปกอัลบั้ม เดอ
สตูดิโออัลบั้มโดย
วางตลาดฝรั่งเศส 27 มีนาคม พ.ศ. 2538
แคนาดา 28 มีนาคม พ.ศ. 2538
สหรัฐ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2538
สหราชอาณาจักร 2 ตุลาคม พ.ศ. 2538
ญี่ปุ่น 2 ตุลาคม พ.ศ. 2539
แนวเพลงป็อป
ค่ายเพลงโคลัมเบีย, อีพิก
โปรดิวเซอร์ฌ็อง-ฌัก กอลด์มาน, เอริก บ็องซี
ลำดับอัลบั้มของเซลีน ดิออน
อาลอแล็งปียา
(2537)อาลอแล็งปียาString Module Error: Match not found
เดอ
(2538)
โกลด์ ชุดที่ 1
(2538)โกลด์ ชุดที่ 1String Module Error: Match not found
ซิงเกิลจากเล็ตส์ทอล์กอะเบาต์เลิฟ
  1. "ปูร์เกอตูแมม็องกอร์"
    จำหน่าย: 13 มีนาคม พ.ศ. 2538
  2. "เฌอแซปา"
    จำหน่าย: 2 ตุลาคม พ.ศ. 2538
  3. "แด็สแต็ง"
    จำหน่าย: 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538
  4. "เลอบาแล"
    จำหน่าย: 29 มกราคม พ.ศ. 2539
  5. "ฌีเรอูตูว์อีรา"
    จำหน่าย: 8 เมษายน พ.ศ. 2539

เดอ (ฝรั่งเศส: D'eux, "พวกเขาเหล่านั้น") คืออัลบั้มภาษาฝรั่งเศสของเซลีน ดิออน วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2538 โดยใช้ชื่อใหม่ในอัลบั้มที่วางจำหน่ายในสหรัฐว่า "เดอะเฟรนช์อัลบั้ม (อังกฤษ: The French Album) อัลบั้มนี้คืออัลบั้มที่ 17 ของเซลีน ที่เป็นภาษาฝรั่งเศส และเป็นอัลบั้มที่ 20 ของทั้งหมด

ข้อมูลอัลบั้ม[แก้]

เดอ ประพันธ์และอำนวยการสร้างโดย ฌ็อง-ฌัก กอลด์มาน ซึ่งเป็นอัลบั้มที่รวบรวมเพลงภาษาฝรั่งเศสที่ประสพความสำเร็จอัลบั้มหนึ่งในโลก ได้แก่เพลง "ปูร์เกอตูแมม็องกอร์" และ "เฌอแซปา" ทั้งสองเพลงนี้กลายเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของเซลีน นอกจากนี้แล้ว ยังมีเพลงอื่นๆที่เผยแพร่ในแบบซิงเกิล และบางเพลงก็เป็นซิงเกิลวิทยุ เช่น ในฝรั่งเศส เพลง "เลอบาแล", ในแคนาดา เพลง "แด็สแต็ง" และ "ฌีเรอูตูว์อีรา" และในอัลบั้มนี้ก็ได้บรรจุเพลงพิเศษอย่าง "โวล" (ในฉบับภาษาอังกฤษที่บรรตุในอัลบั้ม ฟอลลิงอินทูยู ใช้ชื่อใหม่ว่า "ฟลาย") เป็นเพลงที่เซลีนอุทิศให้แก่คาเรน หลานสาวของเธอซึ่งเสียชีวิตลง

ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2538 ได้มีการแพร่ภาพรายการพิเศษเพื่ออัลบั้มใหม่เซลีน ดิออน เป็นเวลา 1 ชั่วโมงในโทรทัศน์ฝรั่งเศส

เพลงในอัลบั้มเดอที่ได้รับความนิยมมาก ได้มีการนำมาร้องใหม่อีกครั้ง ในอัลบั้มฟอลลิ่งอินทูยู ซึ่งเป็นอัลบั้มภาษาอังกฤษ ได้แก่เพลง "ปูร์เกอตูแมม็องกอร์" ในชื่อใหม่ว่า "อิฟแดทส์วอทอิดเทก", เพลง "เฌอแซปา" ในชื่อใหม่ "ไอด็อนโน", เพลง "โวล" ในชื่อใหม่ว่า "ฟลาย"

เซลีนจัดคอนเสิร์ตทัวร์เดอเพื่อสนับสนุนยอดขายอัลบั้ม และบันทึกการแสดงที่โรงละคร Zenith ในปารีส และออกจำหน่ายในอัลบั้มบันทึกการแสดงสด ลายวาปารี ซึ่งประกอบไปด้วยเพลงจากอัลบั้มเดอ และมีซิงเกิลสนับสนุนการขายอัลบั้มบันทึกการแสดงสดนี้ได้แก่ "เลแดร์นีเยเซอรงเลเปรอมีเย" (สด), "ฌาต็องแด" (สด) และ " "เฌอแซปา" (สด)

เดอ และซิงเกิลแรก "ปูร์เกอตูแมม็องกอร์" ได้รับรางวัลมากมาย เช่น "รางวัลจูโน่", "รางวัลเฟลิกซ์", "Victoires de la Musique" และอื่นๆอีกมากมาย เซลีนได้รับเหรียญรางวัลแห่งศิลปะและอักษรจากกระทรวงวัฒนธรรมของฝรั่งเศส และเป็นที่ประจักษ์ว่า "เดอ" คืออัลบั้มภาษาฝรั่งเศสที่ขายดีที่สุดในประวัติศาสตร์

หลายเพลงจากอัลบั้ม เดอ นี้ได้บรรจุลงในอัลบั้มรวมเพลงยอดนิยมในปี พ.ศ. 2548 องเนอช็องฌ์ปา

อัลบั้มนี้ได้วางจำหน่ายอีกครั้งในเดือนมกราคม พ.ศ. 2547 ในรูปแบบซีดี 2 แผ่น คู่กับอัลบั้ม ซีลซูว์ฟีแซแดเม และวางจำหน่ายอีกครั้งในเดือนกันยายน พ.ศ. 2549 ในรูปแบบซีดี 3 แผ่น พร้อมกับอัลบั้ม ซีลซูว์ฟีแซแดเม และ อูนฟีเยกัทร์ติป โซนีบีเอ็มจียังออกซีดีทองคำในรูปแบบพิเศษของ เดอ ในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ในฝรั่งเศส และเข้าสู่ชาร์ตกลับเข้ารายการขายอีกครั้ง อันดับสูงสุดที่ 7 และอยู่ในชารืตจนกระทั่งสิ้นปี พ.ศ. 2549

อัลบั้มในปี พ.ศ. 2550 แดล เป็นอัลบั้มที่คล้ายคลึงกับ เดอ แต่เป็นในฉบับของผู้หญิง

ความสำเร็จในชาร์ต[แก้]

เดอ คืออัลบั้มภาษาฝรั่งเศสที่ขายดีที่สุดตลอดกาล เป็นอัลบั้มอันดับที่ 1 ในแคนาดา และโลก เป็นอัลบั้มที่ขายดีที่สุดในฝรั่งเศส ยอดขายกว่า 4,412,100 แผ่น และทั่วโลกแล้วมียาดขายมากกว่า 9 ล้านแผ่น ขึ้นอันดับที่ 1 ใน 4 ประเทศ อันได้แก่ ฝรั่งเศส (อยู่อันดับที่ 1 ถึง 44 สัปดาห์), เบลเยี่ยม (อยู่อันดับที่ 1 ถึง 37 สัปดาห์ และ 131 สัปดาห์ในชาร์ต ไม่เคยมีอัลบั้มใดทำสถิตินี้ได้ในชาร์ตวอลโลนี), เนเธอร์แลนด์ และสวิตเซอร์แลนด์ นอกจากนี้ยังขึ้นชาร์ตในประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ อันได้แก่สหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์ ขึ้นชาร์ตสูงสุดอันดับที่ 7 และ "เดอ" กลายเป็นอัลบั้มภาษาฝรั่งเศสแรกในประวัติศาสตร์ที่ได้รับการรับรองสถานะโกลด์ในสหราชอาณาจักร และอัลบั้มต่อมา "ฟอลลิ่งอินทูยู" ก็ขึ้นชาร์ตในฝรั่งเศสได้เพียงที่ 2 เท่านั้น เพราะ "เดอ" ยังคงครองอันดับที่ 1 ไว้

เพลงนี้ได้บรรจุซิงเกิลอันดับที่ 1 ไว้ถึง 2 ซิงเกิลในฝรั่งเศส, เบลเยี่ยม และเกแบ็ก อันได้แก่ "ปูร์เกอตูแมม็องกอร์" และ "เฌอแซปา" ซิงเกิลแรกขึ้นชาร์ต 1 ใน 10 ของสหราชอาณาจักร และไอร์แลนด์ "ปูร์เกอตูแมม็องกอร์" อยู่ในชาร์ตอันดับที่ 1 กว่า 15 สัปดาห์ในชาร์ตเบลเยี่ยมวอลโลนี และ 12 สัปดาห์ของชาร์ตฝรั่งเศส และยอดขายของซิงเกิล "เฌอแซปา" รวมแล้วกว่า 1 ล้านแผ่น โดยครึ่งหนึ่งมาจากยอดขายในประเทศฝรั่งเศสเพียงประเทศเดียว

รายชื่อเพลง[แก้]

# ชื่อเพลง ผู้ประพันธ์ ความยาว
1. "Pour que tu m'aimes encore"
("เพื่อที่จะให้คุณยังคงรักฉัน")
ฌ็อง-ฌัก กอลด์มาน 4:14
2. "Le ballet"
("บัลลาร์ด")
ฌ็อง-ฌัก กอลด์มาน 4:25
3. "Regarde-moi"
("มองที่ฉัน")
ฌ็อง-ฌัก กอลด์มาน 3:56
4. "Je sais pas"
("ฉันไม่รู้")
ฌ็อง-ฌัก กอลด์มาน, โรเบิร์ต กอลด์มาน 4:33
5. "La mémoire d'Abraham"
("ความทรงจำของอับราฮัม")
ฌ็อง-ฌัก กอลด์มาน 3:49
6. "Cherche encore"
("ค้นหาอีกครั้ง")
เอริก บ็องซี 3:24
7. "Destin"
("โชคชะตา")
ฌ็อง-ฌัก กอลด์มาน 4:15
8. "Les derniers seront les premiers"
("สิ่งสุดท้ายจะเป็นสิ่งเริ่มต้น")
ฌ็อง-ฌัก กอลด์มาน 3:32
9. "J'irai où tu iras" (ร้องกับ ฌ็อง-ฌัก กอลด์มาน)
("ฉันจะไปที่ที่คุณไป")
ฌ็อง-ฌัก กอลด์มาน 3:27
10. "J'attendais"
("ฉันรอ")
ฌ็อง-ฌัก กอลด์มาน 4:24
11. "Prière païenne"
("อธิษฐานของคนนอกศาสนาคริสต์")
ฌ็อง-ฌัก กอลด์มาน 4:12
12. "Vole"
("บิน")
ฌ็อง-ฌัก กอลด์มาน 2:58

ชาร์ต[แก้]

ประเทศ อันดับ
สูงสุด
จำนวน
สัปดาห์
สถานะ ยอดขาย
เบลเยี่ยมวอลโลนี 1 (37w) 131 6x พลาตตินัม 300,000
เบลเยี่ยมแฟลนเดอร์ 1 (5w) 86 - -
ฝรั่งเศส 1 (44w) 137 ไดมอนด์ 4,412,100
เนเธอร์แลนด์ 1 52 พลาตตินัม 100,000
สวิตเซอร์แลนด์ 1 (5w) 89 4x พลาตตินัม 200,000
เดนมาร์ก 5 7 ไม่ทราบ ไม่ทราบ
ฝรั่งเศส (กลับมาขายอีกครั้ง) 7 43 - -
สหราชอาณาจักร 7 17 โกลด์ 250,000
สวีเดน 9 45 ไม่ทราบ ไม่ทราบ
นิวซีแลนด์ 17 9 โกลด์ 7,500
ฟินแลนด์ 23 10 - ไม่ทราบ
แคนาดา 31 76 7x Platinum 700,000
ออสเตรีย 35 8 - ไม่ทราบ
อิตาลี 38 1 - ไม่ทราบ
ญี่ปุ่น 50 3 - 18,420
เยอรมนี 69 9 - ไม่ทราบ
ยุโรป ไม่ทราบ ไม่ทราบ 8x พลาตตินัม 8,000,000
โปแลนด์ ไม่ทราบ ไม่ทราบ พลาตตินัม 100,000
สหรัฐอเมริกา - - - 237,570

รางวัล[แก้]

ปี (พ.ศ.) งานประกาศรางวัล รางวัล
2538 รางวัลเฟลิกซ์ อัลบั้มป๊อปร็อกแห่งปี "เดอ"
2538 รางวัลเฟลิกซ์ เพลงยอดนิยมแห่งปี "ปูร์เกอตูแมม็องกอร์"
2538 รางวัลเฟลิกซ์ นักร้องชาวเกแบ็กที่ประสพความสำเร็จมากที่สุดนอกเขตเกแบ็ก
2539 เวิลด์ มิวสิก อวอร์ดส นักร้องแคนาดายอดขายทั่วโลกสูงสุดแห่งปี
2539 รางวัลมิเด็ม รางวัลสำหรับยอดขายมากกว่า 4 ล้านแผ่นทั่วโลกสำหรับอัลบั้ม "เดอ"
2539 รางวัลจูโน่ ยอดขายอัลบั้มภาษาฝรั่งเศสสูงสุดแห่งปี "เดอ"
2539 รางวัลจูโน่ ยอดขายอัลบั้มสูงสุดแห่งปี "เดอ"
2539 รางวัลเฟลิกซ์ ยอดขายอัลบั้มสูงสุดแห่งปี "เดอ"
2539 รางวัลเฟลิกซ์ นักร้องหญิงแห่งปี
2539 รางวัลเฟลิกซ์ การแสดงแห่งปี
2539 รางวัลเฟลิกซ์ นักร้องชาวเกแบ็กที่ประสพความสำเร็จมากที่สุดนอกเขตเกแบ็ก
2539 รางวัลเฟลิกซ์ นักร้องชาวเกแบ็กที่ประสพความสำเร็จนอกจากภาษาฝรั่งเศส
2539 Victoires de la Musique ศิลปินที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสแห่งปี
2539 Victoires de la Musique เพลงยอดนิยมแห่งปี "ปูร์เกอตูแมม็องกอร์"
2539 วิทยุฝรั่งเศสสากล เพลงยอดนิยมแห่งปี "ปูร์เกอตูแมม็องกอร์"
2539 เหรียญรางวัลแห่งศิลปะและอักษร จากกระทรวงวัฒนธรรมประเทศฝรั่งเศสเพื่อระลึกถึงศิลปินที่มียอดขายอัลบั้มภาษาฝรั่งเศสสูงสุดในประวัติศาสตร์

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]