เดวิด เอลาซาร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เดวิด เอลาซาร์
เดวิด เอลาซาร์ (เดโด)
ชื่อเล่นเดโด, บิ๊กดี
เกิด27 สิงหาคม ค.ศ. 1925(1925-08-27)
ซาราเยโว ราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีน
เสียชีวิต15 เมษายน ค.ศ. 1976(1976-04-15) (50 ปี)
เยรูซาเลม ประเทศอิสราเอล
รับใช้พอลแมค
กองกำลังป้องกันอิสราเอล
ประจำการค.ศ. 1942–1973
ชั้นยศพลโท
บังคับบัญชาผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ
เสนาธิการ
การยุทธ์สงครามอาหรับ–อิสราเอล ค.ศ. 1948
วิกฤตการณ์คลองสุเอซ
สงครามหกวัน
สงครามยมคิปปูร์

เดวิด "เดโด" เอลาซาร์ (ฮีบรู: דוד אלעזר; เกิด 27 สิงหาคม ค.ศ. 1925 – 15 เมษายน ค.ศ. 1976) เป็นเสนาธิการคนที่เก้าของกองกำลังป้องกันอิสราเอล (IDF) ซึ่งทำหน้าที่ในอัตราตั้งแต่ ค.ศ. 1972 ถึง 1974 เขาถูกบังคับให้ลาออกในผลพวงของสงครามยมคิปปูร์

ชีวิตช่วงต้น[แก้]

เดวิด (เดโดย) เอลาซาร์ เกิดที่เมืองซาราเยโว และเป็นผู้สืบสายเลือดเซฟาร์ดี เขาอพยพไปยังปาเลสไตน์ในปี ค.ศ. 1940 กับโครงการเยาวชนเอลียาห์และอาศัยอยู่ที่คิบบุตซ์เอียน เซมเมอร์ ต่อมาเขาได้เข้าร่วมกับพอลแมค และต่อสู้ในยุทธการที่สำคัญมากมายในช่วงสงครามประกาศอิสรภาพของอิสราเอล รวมทั้งยุทธการที่อารามซาน ไซมอน ในเยรูซาเลม ในฐานะทหารคนหนึ่ง เขาได้รับยศในระดับสูง แล้วในที่สุด ก็ได้ทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการกองพันฮาพอร์ตซิมที่มีชื่อเสียงของกองพลน้อยฮาเรล

เดวิด เอลาซาร์ กล่าวกับสมาชิกของกองพลน้อยฮาเรลในปี ค.ศ. 1948 โดยมีราฟาเอล อีทาน ยืนอยู่ทางซ้าย

เอลาซาร์ยังคงอยู่ในกองกำลังป้องกันอิสราเอลหลังสงคราม โดยถ่ายโอนไปยังกองกำลังติดอาวุธในสงครามไซนายปี ค.ศ. 1956 เขาทำหน้าที่ในฐานะรองผู้บัญชาการกองกำลังของคาอิม บาร์-เลฟ โดยเข้ารับตำแหน่งผู้บัญชาการกองพลยานเกราะในปี ค.ศ. 1961 เขายังคงอยู่ในตำแหน่งนี้จนกระทั่งปี ค.ศ. 1964 เมื่อเขาได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าของหน่วยบัญชาการภาคเหนือ[1] ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เขาดำรงอยู่จนถึงปี ค.ศ. 1969[2] ในช่วงสงครามหกวันของปี ค.ศ. 1967 เขาเป็นผู้สนับสนุนที่สำคัญสำหรับการยึดครองยุทธศาสตร์ที่ราบสูงโกลัน[3] ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประเทศซีเรีย และเขาคุมการเข้ายึดครองในเวลาเพียงสองวัน

หลังสงคราม เอลาซาร์ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของบุคลากรทั่วไป และวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1972 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นเสนาธิการทหาร[4]

เสนาธิการทหาร[แก้]

เดือนแรกของการดำรงตำแหน่งของเขาถูกใช้ต่อสู้กับการก่อการร้าย เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม กองทัพแดงญี่ปุ่นได้สังหารพลเรือน 25 คนและบาดเจ็บอีก 71 คนในการโจมตีท่าอากาศยานลอด ซึ่งเป็นศูนย์กลางการขนส่งชั้นนำของอิสราเอล (ดู: การสังหารหมู่ที่ท่าอากาศยานลอด) เมื่อวันที่ 5 กันยายนของปีดังกล่าว ได้มีกลุ่มอื่นโจมตีนักกีฬาอิสราเอลในโอลิมปิกฤดูร้อน 1972 ที่มิวนิก การโจมตีดังกล่าวเป็นที่รู้จักในฐานะการสังหารหมู่ที่มิวนิก เพื่อตอบสนองต่อการโจมตีเหล่านี้ เอลาซาร์ได้สั่งการปะทะฐานปาเลสไตน์ในประเทศซีเรียและเลบานอนครั้งใหญ่สุด เครื่องบินไอพ่นสามลำของซีเรียถูกยิงตก และเฟดายีนหลายสิบคนถูกฆ่าตายด้วยการระดมยิงปืนใหญ่อย่างหนัก ในปฏิบัติการสปริงออฟยูธ ซึ่งเกิดขึ้นในคืนวันที่ 9–10 เมษายน ค.ศ. 1973 ชาวปาเลสไตน์อีกหลายสิบคนซึ่งรวมถึงผู้นำปาเลสไตน์หลายคนถูกลอบสังหารในเบรุตโดยกองกำลังป้องกันอิสราเอล[5]

หนึ่งในการตัดสินใจของเอลาซาร์ในระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่งคือการสั่งให้สอยเครื่องบินไอพ่นโดยสารของประเทศลิเบียซึ่งหลงเข้าไปในน่านฟ้าอิสราเอล และถูกสงสัยว่าอยู่ในภารกิจการก่อการร้ายเมื่อเครื่องบินดังกล่าวไม่ตอบสนอง เครื่องบินถูกยิงร่วงโดยกองทัพอากาศอิสราเอลเหนือคาบสมุทรไซนายภายใต้คำสั่งโดยตรงจากเอลาซาร์ ซึ่งสังหารพลเรือนไปกว่า 100 คน หลังจากนั้นไม่นานก็พบว่านี่เป็นเครื่องบินพลเรือนที่เกิดข้อผิดพลาดในการนำทางเท่านั้น

ในวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1973 กองกำลังป้องกันอิสราเอลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและกองกำลังสำรองถูกเรียกขึ้นมาเพื่อตอบโต้การเคลื่อนไหวของกองทหารอียิปต์ ทว่าภาวะฉุกเฉินถูกยกเลิกเมื่อเห็นได้ชัดว่านี่เป็นเพียงการฝึกซ้อม เหตุการณ์นี้มีผลกระทบอย่างมากต่อกองเสนาธิการ เนื่องจากทำให้พวกเขาเชื่อว่ากองกำลังอียิปต์ไม่ได้เตรียมพร้อมสำหรับการทำสงครามในช่วงยมคิปปูร์ของปลายปีนั้น อย่างไรก็ตาม หลังจากสงครามมันก็เห็นได้ชัดว่าการซ้อมรบเหล่านี้ดำเนินการบ่อยครั้ง โดยชาวอียิปต์เป็นส่วนหนึ่งของอุบายอย่างรอบคอบ อันหมายถึงการสร้างความพึงพอใจในบรรดาชาวอิสราเอลเกี่ยวกับความตั้งใจที่แท้จริง ของการเคลื่อนไหวของกองทหารอียิปต์ในเวลาที่เกิดการโจมตีจริง

ส่วนวันที่ 13 กันยายน ทางอิสราเอลได้ยิงเครื่องบินไอพ่นขับไล่ของซีเรียร่วงสิบสามลำ ซึ่งพยายามจมอากาศยานอิสราเอล

สงครามยมคิปปูร์[แก้]

เหตุการณ์ที่นำไปสู่สงคราม[แก้]

ในปี ค.ศ. 1957 อิสราเอลถูกบังคับภายใต้ความกดดันของอเมริกา ให้ถอนตัวจากคาบสมุทรไซนายที่ได้ครอบครองหลังจากได้โจมตีประเทศอียิปต์เมื่อปีก่อน การปิดช่องแคบติรานต่อเรืออิสราเอลโดยประธานาธิบดีอียิปต์ ญะมาล อับดุนนาศิร ในปี ค.ศ. 1967 เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของสงครามปี ค.ศ. 1967 ในระหว่างที่อิสราเอลยึดครองคาบสมุทรไซนายอีกครั้ง

อ้างอิง[แก้]

  1. "David "Dado" Elazar" (ภาษาฮิบรู). Palmach.org.il. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-10. สืบค้นเมื่อ 2018-12-05.
  2. Talhami, Ghada Hashem (2017). American Presidents and Jerusalem (ภาษาอังกฤษ). Lexington Books. p. 80. ISBN 9781498554299.
  3. Maoz, Zeev (2006). Defending the Holy Land (ภาษาอังกฤษ). University of Michigan Press. pp. 109–110. ISBN 0472115405.
  4. "David Elazar, The IDF's 9th Chief of Staff". IDF Official Website. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-30.
  5. Gal Perl Finkel, Don't 'poke the bear' in Syria, The Jerusalem Post, October 6, 2018.

หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]