เชิงเทิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพวาดของเชิงเทิน
ด้านข้างของภาพวาดของเชิงเทินปราสาทปีแยร์ฟง (Château de Pierrefonds) ที่เป็นเชิงเทินสามชั้น

เชิงเทิน (อังกฤษ: battlement หรือ crenellation) เป็นสิ่งก่อสร้างทางยุทธศาสตร์เช่นบนกำแพงเมืองหรือปราสาทที่ประกอบด้วยกำแพงกันตกที่เป็นกำแพงเตี้ยที่บากออกเป็นช่อง ๆ เป็นระยะ ๆ เพื่อใช้ในการยิงธนูหรือเครื่องยิงอื่น ๆ ออกจากกำแพง ส่วนที่บากหรือตัดออกไปเรียกว่า "ช่องกำแพง" ส่วนที่เป็นกำแพงเรียกว่า "ใบสอ" พื้นเชิงเทินมักจะมีช่องที่เปิดได้ระหว่างคันทวย ที่ใช้ในการหย่อนหินหรือของร้อนลงมายังหรือยิงศัตรูที่อยู่ข้างล่าง ส่วนนี้เรียกว่า "ช่องซัดอาวุธ"

คำว่า battlement มาจากภาษาฝรั่งเศสเก่า batailler ที่แปลว่าสร้างเสริมด้วย batailles หรือหอเล็ก ๆ

ประวัติ[แก้]

เชิงเทินเป็นส่วนประกอบที่ใช้กันมาเป็นเวลาหลายพันปี ตัวอย่างแรกที่สุดเท่าที่ทราบคือที่ปราสาทเมดิเน็ต-อบูที่ธีบส์ (Thebes) ในอียิปต์ที่อ้างว่ามาจากป้อมในซีเรีย เชิงเทินใช้ในการก่อสร้างกำแพงรอบเมืองในอัสซีเรียที่เห็นได้จากภาพนูนจากนิมรัด (Nimrud) และที่อื่น ที่อื่นที่ยังเหลือร่องรอยให้เห็นอยู่บ้างก็ได้แก่ไมซีน (Mycenae) ในกรีซ และภาพบนแจกันกรีกโบราณ

โรมันโบราณในสมัยแรกใช้กำแพงเตี้ยที่ทำด้วยไม้แหลม ในการก่อสร้างเชิงเทินที่ปอมเปอีก็มีการเพิ่มค้ำยันด้านใน เชิงเทินในสมัยกลางช่องกำแพงจะกว้างราวหนึ่งในสามของใบสอ ตัวใบสออาจจะมีช่องธนูที่เป็นรูปร่างหลายแบบที่อาจจะกลมหรือเป็นกางเขนขึ้นอยู่กับอาวุธที่ใช้ ใบสอสมัยต่อมาสามารถใช้ในการยิงด้วยปืนได้ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 13 ใบสอก็อาจจะมีหน้าต่างไม้ที่เปิดปิดได้เพื่อใช้ในการป้องกันเมื่อปิด

ช่องธนูมักจะใช้ในเชิงเทินของอิตาลีที่มักจะสร้างใบสอที่สูงพร้องกับที่คลุมตอนบน สถาปนิกของสิ่งก่อสร้างที่ใช้ในการยุทธการของอิตาลีออกแบบเชิงเทินที่เรียกว่า "เชิงเทินเกลป์และกิเบลลิเน" หรือ "เชิงเทินสวอลโลว์เทล" ที่เป็นปมรูปตัววีเหนือใบสอ ที่ดูคล้ายแตร ถ้าเป็นใบสอสี่เหลี่ยมธรรมดาก็เรียกว่า "เกลป์" ใบสอของมุสลิมและแอฟริกามักจะมีลักษณะกลม

เชิงเทินสร้างกันต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 13 แต่จุดประสงค์เปลี่ยนไปเป็นสิ่งตกแต่งกำแพงตอนบนมากกว่าที่ใช้เป็นสิ่งป้องกันหรือต่อสู้ทางยุทธการ การใช้เชิงเทินจึงกลายเป็นส่วนประกอบของสิ่งตกแต่งแต่เพียงอย่างเดียวในสถาปัตยกรรมยุโรปในสมัยสถาปัตยกรรมแบบเพอร์เพ็นดิคิวลาร์ (perpendicular style) ที่ไม่แต่จะปรากฏในลักษณะกำแพงบังแต่ยังปรากฏเป็นหยักตกแต่งหน้าต่าง, ขอบหลังคา หรือฉาก หรือรอบตอนบนของปล่องไฟแบบสถาปัตยกรรมทิวดอร์

การตกแต่งที่ใช้ส่วนที่เป็นใบสอก็อาจจะใช้บนกำแพงบังส่วนที่เหนือจากบัวที่วิวัฒนาการมาเป็นดอกจิกสี่กลีบ (quatrefoil) หรือรูปแบบที่เป็นธรรมดากว่านั้นที่ตกแต่งด้วยใบไม้ดอกไม้หรือโล่

อ้างอิง[แก้]

  • Balestracci, D. (1989). "I materiali da costruzione nel castello medievale". Archeologia Medievale (XVI): 227–242.
  • Luisi, R. (1996). Scudi di pietra, I castelli e l’arte della guerra tra Medioevo e Rinascimento. Bari.

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เชิงเทิน