เจ้าหญิงอัชราฟ ปาห์ลาวี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าหญิงอัชราฟ ปาห์ลาวี
เจ้าหญิงแห่งอิหร่าน
ประสูติ26 ตุลาคม พ.ศ. 2462
เตหะราน ประเทศอิหร่าน
สิ้นพระชนม์7 มกราคม พ.ศ. 2559 (96 ปี)
นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
พระสวามีอาลี กอวัม
(2480–2485; หย่า)
อะห์มัด ชาฟิก
(2487–2502; หย่า)
เมห์ดี บูเชห์รี
(2503–2559; สิ้นพระชนม์)
พระบุตรชาห์ราม ปาห์ลาวี-นียา
ชาห์ริยาร์ ชาฟิก
อาซาเดห์ ชาฟิก
ราชวงศ์ปาห์ลาวี
พระราชบิดาเรซา ชาห์ ปาห์ลาวี
พระราชมารดาตาจญ์ อัล-โมลูก อัยรุมลู

เจ้าหญิงอัชราฟ ปาห์ลาวี (เปอร์เซีย: اشرف پهلوی Ashraf Pahlavī; 26 ตุลาคม พ.ศ. 2462 — 7 มกราคม พ.ศ. 2559) เป็นพระราชธิดาในพระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี กับสมเด็จพระราชินีตาจญ์ อัล-โมลูก และเป็นพระขนิษฐาฝาแฝดของพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี ชาห์องค์สุดท้ายแห่งอิหร่าน

พระประวัติ[แก้]

เจ้าหญิงอัชราฟ และพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเชษฐาฝาแฝด

เจ้าหญิงอัชราฟ ปาห์ลาวี เป็นพระราชธิดาในพระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี กับสมเด็จพระราชินีตาจ อัล-โมลูก ประสูติเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2462 ณ กรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน มีพระเชษฐภคินีคือเจ้าหญิงชามส์ พระเชษฐาฝาแฝดคือชาห์โมฮัมหมัด เรซา และพระอนุชาคือเจ้าชายอาลี เรซา

โดยภายหลังพระเชษฐาฝาแฝดของพระองค์ได้เถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นชาห์แห่งอิหร่านและชาห์พระองค์สุดท้ายของอิหร่าน นอกจากนี้เจ้าหญิงอัชราฟสามารถรับสั่ง ภาษาเปอร์เซีย ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศสได้

เสกสมรส[แก้]

เจ้าหญิงอัชราฟ ทรงเสกสมรสทั้งหมด 3 ครั้ง โดยครั้งแรก เจ้าหญิงอัชราฟได้เสกสมรสกับกับอาลี กอวัม ชาวชีราส ประเทศอิหร่าน ทั้งคู่มีโอรส 1 องค์ คือ ชาห์ราม กอวัม แต่เจ้าหญิงได้ทรงหย่า พระโอรสของเจ้าหญิงจึงใช้พระราชสกุลปาห์ลาวี-นียา [1]

ต่อมาเจ้าหญิงได้เสกสมรสอีกครั้งกับอะหมัด ชาฟิก ชาวอียิปต์ โดยทั้งคู่มีพระบุตร 2 พระองค์ คือ ชาห์ริยาร์ ชาฟิก และอาซาเดห์ ชาฟิก และท้ายที่สุด เจ้าหญิงก็เสกสมรสกับเมห์ดี บูเชห์รี แต่ไม่มีพระบุตร อย่างไรก็ตามเจ้าหญิงอัชราฟยังประทับลี้ภัยในนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ส่วนเมห์ดี บูเชห์รีนั้น พำนักอยู่ในปารีส ประเทศฝรั่งเศส ทั้งคู่จึงมิค่อยได้มีโอกาสได้พบกัน

ในปี 2523 จูดี เคลเมสรุด (Judy Klemesrud) นักหนังสือพิมพ์จากหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ ได้มาสัมภาษณ์เจ้าหญิงอัชราฟ เจ้าหญิงตรัสว่า "ฉันไม่ใช่แม่ที่ดี เพราะในชีวิตของฉัน ฉันไม่เคยทำให้ลูก ๆ มีความสุขเลย"[2]

สิ้นพระชนม์[แก้]

เจ้าหญิงอัชราฟสิ้นพระชนม์ที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2559 สิริพระชันษา 96 ปี[3] ทั้งนี้รอเบิร์ต เอฟ. อาร์เมา (Robert F. Armao) ที่ปรึกษาส่วนพระองค์ ให้การว่าสาเหตุแห่งการสิ้นพระชนม์คือ "ความชราภาพ" และกล่าวว่า เจ้าหญิงสิ้นพระชนม์อย่างสงบในลักษณะบรรทม ณ พระตำหนักแห่งหนึ่งในยุโรปและไม่บ่งว่าเป็นประเทศใด โดยให้เหตุผลด้านความปลอดภัยในครอบครัวของพระองค์[4]

งานพระนิพนธ์[แก้]

เจ้าหญิงอัชราฟ ปาห์ลาวี มีพระปรีชาสามารถในด้านการนิพนธ์หนังสือ โดยเจ้าหญิงได้นิพนธ์หนังสือไว้ 3 เล่ม โดย 2 เล่มแรก ตีพิมพ์ที่ประเทศอังกฤษ และอีก 1 เล่ม ตีพิมพ์ที่ประเทศฝรั่งเศส คือ

  • Faces in a Mirror: Memoirs from Exile ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2523
  • Jamais Resignee ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2524
  • Time for Truth ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2538

อ้างอิง[แก้]

  1. Ashraf Pahlavi Institute for Iranian Contemporaly Histolical Studies
  2. "Deposed Shah's Sister, in Heavily Guarded Luxury, Tells of Her Life-in-Exile :Security Guards With Dog 'Comfortable' Financial Situation. ", Ibid
  3. "Persian Princess Ashraf Pahlavi passes away in New York". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-11. สืบค้นเมื่อ 2016-01-09.
  4. Stack, Liam (2016-01-08). "Ashraf Pahlavi, Sister of Iran's Last Shah, Dies at 96". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2016-01-08.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]