เจ้าชายแห่งอัสตูเรียส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าหญิงแห่งอัสตูเรียส
ตราอาร์มประจำพระองค์
เลโอนอร์ เจ้าหญิงแห่งอัสตูเรียส
เจ้าหญิงแห่งอัสตูเรียสพระองค์ปัจจุบัน
สถาปนา17 กันยายน ค.ศ. 1388
องค์แรกเอนริเก เจ้าชายแห่งอัสตูเรียส
องค์ปัจจุบันเลโอนอร์ เจ้าหญิงแห่งอัสตูเรียส

เจ้าชายแห่งอัสตูเรียส (สเปน: Príncipe de Asturias; อัสตูเรียส: Príncipe d'Asturies) เป็นอิสริยยศของรัชทายาทในพระราชวงศ์สเปน ในกรณีที่รัชทายาทเป็นฝ่ายใน (สตรี) จะออกพระยศว่า เจ้าหญิงแห่งอัสตูเรียส (สเปน: Princesa de Asturias; อัสตูเรียส: Princesa d'Asturies)

ตำแหน่ง เจ้าชายแห่งอัสตูเรียส เป็นพระอิสริยยศทางประวัติศาสตร์ (ราชอิสริยยศทางการตามรัฐธรรมนูญแห่งสเปน พ.ศ. 2521) ที่พระมหากษัตริย์แห่งสเปนพระราชทานแก่รัชทายาทแห่งสเปน เฉกเช่นเดียวกับที่พระมหากษัตริย์แห่งกัสติยาพระราชทานแก่รัชทายาทในประวัติศาสตร์ พระอิสริยยศนี้ตามปกติพระมหากษัตริย์สามารถพระราชทานแก่ทายาทโดยสันนิษฐาน เช่น พระราชธิดา พระญาติ หรือรัชทายาทผู้สืบเชื้อสายผ่านทางพระราชมารดาของพระมหากษัตริย์ (แม้ไม่จำเป็นจะต้องพระราชทานให้) โดยที่ทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงไม่ควรจะได้รับพระราชทานอิสริยยศนี้ ซึ่งแตกต่างจากธรรมเนียมปฏิบัติในประเทศนอกคาบสมุทรไอบีเรีย

อิสริยยศอื่นที่เกี่ยวข้องกันและมีต้นกำเนิดมาจากราชอาณาจักรที่รวมกันเป็นสเปนปัจจุบันก็คือ

ผู้นำเผด็จการทหารฟรันซิสโก ฟรังโก แต่งตั้งฆวน การ์โลสแห่งบูร์บงในฐานะ ผู้สืบทอดอำนาจด้วยอิสริยยศพระมหากษัตริย์ แต่มอบอิสริยยศใหม่ที่มีชื่อว่า เจ้าชายแห่งสเปน ให้แทนที่จะเป็น เจ้าชายแห่งอัสตูเรียส

ยอดเขาปรินซิเปเดอัสตูเรียส (Príncipe de Asturias Peak) ในยอดเขาวินสันแมสซิฟ ทวีปแอนตาร์กติกา ก็ได้รับการตั้งชื่อตามพระอิสริยยศเจ้าชายแห่งอัสตูเรียส

ประวัติศาสตร์[แก้]

ธงพระอิสริยยศเจ้าชายแห่งอัสตูเรียส

ภายหลังการสวรรคตของพระเจ้าเปโดรที่แห่งกัสติยาในปี พ.ศ. 1912 ราชอาณาจักรกัสติยาตกอยู่ในภาวะสงครามกลางเมืองระหว่างสองฝ่ายอันได้แก่ ฝ่ายของผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์สายอังกฤษ จอห์น ดยุกแห่งแลงแคสเตอร์ กับฝ่ายของผู้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์สายตรัสตามารา เอนริเกที่ 2 แห่งกัสติยา และโอรสผู้มีนามว่า ฆวนที่ 1 แห่งกัสติยา ภายหลังสองทศวรรษแห่งความขัดแย้ง ทั้งสองฝ่ายต่างหันเข้าหากันและประนีประนอมผ่านการเสกสมรสของทายาทจากทั้งสองฝ่าย คือ เอนริเกที่ 3 แห่งกัสติยา กับแคเทอรินแห่งแลงคาสเตอร์ ในปี พ.ศ. 1931 ส่วนหนึ่งของข้อตกลงดังกล่าว (ความตกลงบายอน; Accord of Bayonne) ระบุให้สถาปนาอิสริยยศแก่คู่เสกสมรสใหม่ทั้งสอง อันเป็นจุดกำเนิดของเจ้าชายและเจ้าหญิงแห่งอัสตูเรียสพระองค์แรก ซึ่งยึดถือเอาแบบอย่างตามอิสริยยศ เจ้าชายแห่งเวลส์ ในราชอาณาจักรอังกฤษ อิสริยยศเจ้าชายแห่งอัสตูเรียสนี้จึงตกเป็นสิทธิ์อันชอบธรรมของรัชทายาทแห่งราชบัลลังก์กัสติยาอย่างเป็นทางการ

ในช่วงแรก อิสริยยศนี้ไม่ได้มีไว้เป็นเพียงบรรดาศักดิ์ หากแต่ยังมอบสิทธิราชบางประการแก่ผู้ทรงอิสริยยศนี้ เช่น สิทธิ์ในการครอบครองและปกครองราชรัฐอัสตูเรียสและเป็นผู้แทนองค์พระมหากษัตริย์ สิทธิ์ในการแต่งตั้งผู้พิพากษา นายกเทศมนตรี และอื่น ๆ ต่อมาสิทธิราชเหล่านี้ถูกเปลี่ยนแปลงโดยพระมหากษัตริย์คาทอลิกที่ทรงจำกัดราชอำนาจของอิสริยยศจนเกือบจะทำให้อิสริยยศนี้เป็นเพียงบรรดาศักดิ์ การตัดสินใจในครั้งนี้ถูกยอมรับและสืบทอดโดยเชื้อพระวงศ์ฮับส์บูร์กและเชื้อพระวงศ์บูร์บงเรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน

รายพระนาม[แก้]

พระฉายาลักษณ์ พระนาม รัชทายาทใน สถาปนา สิ้นสุดตำแหน่ง
ช่วงปี สาเหตุ
เอนริเกที่ 3 แห่งกัสติยา
(1379–1406)
พระเจ้าฆวนที่ 1
(พระราชบิดา)
1388 1390 สืบราชสมบัติเป็น พระเจ้าเอนริเกที่ 3
ฆวนแห่งกัสติยา
(1405–1454)
พระเจ้าเอนริเกที่ 3
(พระราชบิดา)
1405 1406 สืบราชสมบัติเป็น พระเจ้าฆวนที่ 2
เอนริเกแห่งกัสติยา
(1425–1474)
พระเจ้าฆวนที่ 2
(พระราชบิดา)
1425 1454 สืบราชสมบัติเป็น พระเจ้าเอนริเกที่ 4
อัลฟอนโซแห่งกัสติยา
(1453–1468)
พระเจ้าเอนริเกที่ 4
(พระเชษฐาต่างพระมารดา)
1465 1468 สวรรคต
ฆวนแห่งอารากอน
(1478–1497)
พระราชินีนาถอีซาเบลที่ 1
(พระราชมารดา)
1480 1497 สวรรคต
คาร์ลแห่งออสเตรีย
(1500–1558)
พระราชินีนาถฆัวนา
(พระราชมารดา)
1504 1516 สืบราชสมบัติเป็น จักรพรรดิคาร์ลที่ 1
เฟลิเปแห่งออสเตรีย
(1527–1598)
จักรพรรดิคาร์ลที่ 1
(พระราชบิดา)
พระราชินีนาถฆัวนา
(พระอัยยิกา)
1528 1556 สืบราชสมบัติเป็น พระเจ้าเฟลิเปที่ 2
การ์โลสแห่งออสเตรีย
(1545–1568)
พระเจ้าเฟลิเปที่ 2
(พระราชบิดา)
1560 1568 สวรรคต
เฟร์นันโดแห่งออสเตรีย
(1571–1578)
1573 1578 สวรรคต
ดีเอโกแห่งออสเตรีย
(1575–1582)
1580 1582 สวรรคต
เฟลิเปแห่งออสเตรีย
(1578–1621)
1584 1598 สืบราชสมบัติเป็น พระเจ้าเฟลิเปที่ 3
เฟลิเปแห่งออสเตรีย
(1605–1665)
พระเจ้าเฟลิเปที่ 3
(พระราชบิดา)
1608 1621 สืบราชสมบัติเป็น พระเจ้าเฟลิเปที่ 4
บัลตาซาร์ การ์โลสแห่งออสเตรีย
(1629–1646)
พระเจ้าเฟลิเปที่ 4
(พระราชบิดา)
1632 1646 สวรรคต
เฟลิเป โปรสเปโรแห่งออสเตรีย
(1657–1661)
1658 1661 สวรรคต
การ์โลสแห่งออสเตรีย
(1661–1700)
1661 1665 สืบราชสมบัติเป็น พระเจ้าการ์โลสที่ 2
ลุยส์แห่งสเปน
(1707–1724)
พระเจ้าเฟลิเปที่ 5
(พระราชบิดา)
1709 1724 สืบราชสมบัติเป็น พระเจ้าลุยส์ที่ 1
เฟร์นันโดแห่งสเปน
(1713–1759)
1724 1746 สืบราชสมบัติเป็น พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 6
การ์โลสแห่งสเปน
(1716–1788)
พระเจ้าการ์โลสที่ 3
(พระราชบิดา)
1760 1788 สืบราชสมบัติเป็น พระเจ้าการ์โลสที่ 4
เฟร์นันโดแห่งสเปน
(1784–1833)
พระเจ้าการ์โลสที่ 4
(พระราชบิดา)
1789 1808 สืบราชสมบัติเป็น พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 7
อัลฟอนโซแห่งสเปน
(1857–1885)
พระราชินีนาถอีซาเบลที่ 2
(พระราชมารดา)
1857 1868 พระราชมารดาถูกถอดจากราชสมบัติ
เอมานูเอเล ฟีลีแบร์โตแห่งซาวอย
(1869–1931)
พระเจ้าอามาเดโอที่ 1
(พระราชบิดา)
1871 1873 พระราชบิดาสละราชสมบัติ
มาริอา เด ลัส เมร์เซเดส
(1880–1904)
พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 12
(พระราชบิดา)
พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 13
(พระราชอนุชา)
1880
1886
1885
1904
ดำรงตำแหน่งเป็นว่าที่ราชินีก่อนการประสูติกาลของพระราชอนุชา
ภายหลังสวรรคตหลังประสูติกาลพระบุตร
อัลฟอนโซแห่งสเปน
(1907–1938)
พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 13
(พระราชบิดา)
1907 1933 สละสิทธิในการสืบราชสมบัติ
ฆวนแห่งสเปน
(1913–1993)
1933 1941 ใช้พระยศว่า "เคานต์แห่งบาร์เซโลนา"
พระราชบิดาของ พระเจ้าฆวน การ์โลสที่ 1
เฟลิเปแห่งสเปน
(1968–)
พระเจ้าฆวน การ์โลสที่ 1
(พระราชบิดา)
1977 2014 สืบราชสมบัติเป็น พระเจ้าเฟลิเปที่ 6
เลโอนอร์แห่งสเปน
(2005–)
พระเจ้าเฟลิเปที่ 6
(พระราชบิดา)
2014 ดำรงพระยศ

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]