เจมส์ ดับเบิลยู. ร็อดเจอร์ส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เจมส์ ดับเบิลยู. ร็อดเจอร์ส (ค.ศ. 1911 - 30 มีนาคม ค.ศ. 1960) เป็นชาวอเมริกันที่ถูกตัดสินประหารชีวิตโดยทางการรัฐยูทาห์ในข้อหาฆาตกรรมคนงานเหมือง ชาร์ลส์ เมอร์รีฟิลด์ ใน ค.ศ. 1957[1] เขาได้กล่าวคำสุดท้ายก่อนหน้าการประหารชีวิตใน ค.ศ. 1960 โดยร้องขอเสื้อเกราะกันกระสุน[2] การประหารด้วยทีมยิงของเขานับเป็นการประหารด้วยวิธีดังกล่าวครั้งสุดท้ายในสหรัฐอเมริกาก่อนจะถูกยับยั้งโดยศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกา[3]

เบื้องหลัง[แก้]

ร็อดเจอร์สเกิดในปี ค.ศ. 1911[4] เป็นบุตรคนแรกในพี่น้องสิบเอ็ดคน เมื่ออายุได้ 12 ปี เขาได้หลบหนีออกจากบ้าน ที่ซึ่งบิดาได้บีบบังคับให้ลูกของตนทำงาน เมื่ออายุได้ 16 ปี เขาได้เข้าร่วมในปฏิบัติการค้าของเถื่อนและได้รับบาดเจ็บที่ขาจากกระสุนปืนกล[5] ต่อมา ร็อดเจอร์ได้เข้าไปมีส่วนพัวพันในการโจรกรรมอาวุธ[1] และใช้เวลามากกว่ายี่สิบปีในการคุมขังในเรือนจำหลายแห่ง[5]

ฆาตกรรม[แก้]

ร็อดเจอร์สได้งานทำเป็นคนงานก่อสร้างที่เหมืองยูเรเนียมรัทเทิลสเน็กใกล้กับลาซาล รัฐยูทาห์[1][5] เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน ค.ศ. 1957 เจมส์ ดับเบิลยู. ร็อดเจอร์สได้ยิงและสังหารคนงานเหมือง ชาร์ลส์ เมอร์รีฟิลด์ ระหว่างที่ทั้งสองทุ่มเถียงกันในเรื่องที่ว่าต้องทำอย่างไรจึงจะหยอดน้ำมันใส่เครื่องมือสำหรับตักให้เหมาะสม[1] ร็อดเจอร์สอ้างว่าเขาได้รับการคุกคามหลายครั้งและคิดว่าเมอร์รีฟิลด์กำลังจะ "ตีเขาให้ได้รับบาดเจ็บ" ร็อดเจอร์สกล่าวว่าเขาได้ "ท้าทายเมอร์รีฟิลด์ด้วยปืน" ก่อนจะลั่นกระสุนใส่เมื่อเมอร์รีฟิลด์โจมตีเขาด้วยประแจขนาดใหญ่[5]

การพิจารณาคดี[แก้]

ร็อดเจอร์สได้รับแจ้งข้อหาฆาตกรรมที่สำนักงานศาลเคาน์ตีในมอนติคาโล รัฐยูทาห์[6] ร็อดเจอร์สอ้างว่าเขากำลังป่วยด้วยโรคซิฟิลิส และให้การว่า "กระทำความผิดในขณะวิกลจริต"[5] ระหว่างการพิจารณาคดี ร็อดเจอร์สยืนยันว่าเขาได้สังหารเมอร์รีฟิลด์ในการป้องกันตัว[7] จนกระทั่งได้รับการตัดสินว่าถูกประหารชีวิต ร็อดเจอร์สได้รับสิทธิ์ให้เลือกว่าจะถูกประหารชีวิตด้วยทีมยิงหรือถูกแขวนคอ ซึ่งร็อดเจอร์สเลือกที่จะถูกยิง[8] ร็อดเจอร์สกล่าวว่าเขาไม่รู้สึกกังวล เนื่องจากเขาจะเสียชีวิตด้วยโรคซิฟิลิสก่อนหน้าการประหารชีวิต อย่างไรก็ตาม ผลการตรวจโรคซิฟิลิสปรากฏว่าไม่ได้ผลเป็นบวกในการทดสอบทางการแพทย์[5] ร็อดเจอร์สยื่นอุทธรณ์สามครั้ง[7] โดยครั้งหนึ่งต่อศาลสูงสุดรัฐยูทาห์[6] แต่คำร้องอุทธรณ์ทั้งหมดได้รับการปฏิเสธ[7]

การประหารชีวิต[แก้]

ร็อดเจอร์สได้ถูกส่งตัวไปยังห้องคุมขังนักโทษประหารชีวิตที่เรือนจำรัฐยูทาห์ ที่ซึ่งเขาได้รับการพิจารณาว่าเป็นนักโทษต้นแบบและเขียนถึง "ความรู้สึกขอบคุณอย่างลึกซึ้งที่สุดสำหรับความช่วยเหลือทั้งหลายและความเมตตา" ระหว่างสองปีที่ถูกคุมขัง[9] ในตอนเช้าวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 1960 ร็อดเจอร์สได้ถูกส่งตัวไปยังสถานที่ประหารห่างจากเรือนจำประมาณ 1.6 กิโลเมตร พร้อมกับนายอำเภอซานฮวนเคาน์ตี เซธ ไรต์ และอนุศาสนาจารย์ประจำเรือนจำ เมื่อถามถึงคำสุดท้ายของเขา ร็อดเจอร์สได้ยืนกรานว่าเขาบริสุทธิ์และกล่าวอีกว่า "ผมได้แจ้งคำร้องขอสุดท้ายของผมแล้ว ... เสื้อเกราะกันกระสุนไง"[10] เขาที่อยู่ในชุดผ้าฝ้ายหยาบจึงได้รับเสนอเสื้อโค้ด ซึ่งเขากล่าวว่า "ไม่ต้องห่วง ผมกำลังจะไปในที่ซึ่งมันจะอบอุ่นในไม่ช้า" ร็อดเจอร์สถูกรัดติดกับเก้าอี้ไม้ในเต็นท์ผ้าใบปิดสูง 6.1 เมตร[10] ตั้งอยู่ห่างจากทีมยิงประมาณ 7 เมตร หนึ่งในนักแม่นปืนห้านายได้รับไรเฟิล .30-30 ที่มีกระสุนเปล่า[2] เพื่อที่ว่าจะไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าได้ยิงกระสุนปลิดชีวิตไป[8] ร็อดเจอร์สถูกประหารชีวิตเมื่อเวลา 6.16 น.[10] ขณะดวงอาทิตย์กำลังขึ้น[2]

หลังการประหารชีวิต มารดาของร็อดเจอร์สได้ขอนำศพไปประกอบพิธีศพ[9] ร็อดเจอร์สเป็นคนสุดท้ายในสหรัฐอเมริกาที่ถูกประหารชีวิตด้วยทีมยิงจนกระทั่งแกรี กิลมอร์ ในอีกมากกว่า 17 ปีต่อมา[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "Slayer Shot By Firing Squad". The Milwaukee Sentinel. United Press International. March 31, 1960. p. 3. สืบค้นเมื่อ October 28, 2010.[ลิงก์เสีย]
  2. 2.0 2.1 2.2 "National Affairs". Newsweek. Vol. 61 no. 1. January 7, 1963. p. 34. สืบค้นเมื่อ December 19, 2010. Usually, by choice, the doomed man is strapped into a scarred old chair facing the firing-squad enclosure 23 feet away. His head is hooded, and a white cloth heart, trimmed in red, is pinned to his chest. Precisely at sunup, five .30-30 rifles-one loaded with a blank—do the job. Utah's unique tradition has its own gallows humor. Just before he was shot in 1960 for killing a uranium miner, James W. Rodgers made a last request: a bulletproof vest.
  3. 3.0 3.1 Beecham, Bill (November 11, 1976). "Convicted Killer Gets His Wish: Firing Squad Monday". The Telegraph (Nashua). Associated Press. p. 22. สืบค้นเมื่อ October 28, 2010.
  4. Conrad, Barnaby (1961). Famous Last Words. Doubleday. p. 172. สืบค้นเมื่อ December 19, 2010.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 Gillespie, L. Kay (1997). The Unforgiven: Utah's Executed Men. Signature Books. pp. 142–143. สืบค้นเมื่อ December 19, 2010.
  6. 6.0 6.1 The State of Utah v. James W. Rodgers. Vol. 8 Utah 2d 156 (1958). Supreme Court of Utah. September 23, 1958. สืบค้นเมื่อ December 19, 2010.
  7. 7.0 7.1 7.2 "Doomed Killer Jokes At Death". Spartanburg Herald-Journal. Associated Press. March 31, 1960. p. 1. สืบค้นเมื่อ December 19, 2010.
  8. 8.0 8.1 Elder, Robert K. (2010). Last Words of the Executed. University of Chicago Press. p. 123. สืบค้นเมื่อ December 19, 2010. When asked if he had any last request: Why yes, a bulletproof vest! James Rodgers, convicted of murder, Utah. Executed March 30, 1960 Under Utah's "double choice" law, Rodgers could be either hanged or shot for killing a coworker at a uranium mining camp. He chose the firing squad, the thirty-seventh man to do so in Utah. When the sentence was carried out, four of the five riflemen fired into his heart, with one using a blank cartridge. This ceremonial practice was to ensure that each of the riflemen could believe he might have not delivered a fatal shot. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthor= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  9. 9.0 9.1 Gillespie (1997). The Unforgiven. p. 144.
  10. 10.0 10.1 10.2 "Grim Jokes Are Tossed Before Death". The Spokesman-Review. Associated Press. March 31, 1960. p. 19. สืบค้นเมื่อ October 29, 2010.