เจมส์ จูล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจมส์ จูล
เกิด24 ธันวาคม พ.ศ. 2361
อังกฤษ
เสียชีวิต11 ตุลาคม พ.ศ. 2432
อังกฤษ
สัญชาติชาวอังกฤษ
อาชีพนักฟิสิกส์
มีชื่อเสียงจากได้ถูกตั้งชื่อเป็นหน่วยพลังงานในระบบหน่วยเอสไอ

เจมส์ เพรสคอต จูล (อังกฤษ: James Prescott Joule) นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ เป็นผู้ค้นพบธรรมชาติของความร้อนและความสัมพันธ์กับพลังงานกล ซึ่งก่อให้เกิดหลักการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งนั่นก็คืออุณหพลศาสตร์ และเขายังได้ค้นพบความสัมพันธ์ของความต้านทานไฟฟ้าและความร้อนที่ปล่อยออกมา ซึ่งนั้นคือ กฎของจูล ต่อมาชื่อของเขาได้ถูกตั้งให้เป็นชื่อหน่วยของงานและพลังงาน ในระบบหน่วยเอสไอ

ประวัติชีวิต[แก้]

เจมส์ จูล เกิดที่เมืองแซลฟอร์ด ใกล้กับเมืองแมนเชสเตอร์ พ่อชื่อ เบนจามิน จูล ซึ่งร่ำรวยจากธุรกิจผลิตสุรา เจมส์ จูล ได้เรียนหนังสือที่บ้าน อายุ 16 ปี ได้ไปศึกษากับจอห์น ดาลตันในวิชาคณิตศาสตร์และเรขาคณิต แต่ศึกษาได้เพียงสองปี ดาลตันก็เจ็บป่วยจนต้องเลิกสอน จูลสนใจในวิชาไฟฟ้ามาก

ต่อมาเขาต้องรับช่วงกิจการของพ่อ แต่กิจการถูกขายไปเมื่อ พ.ศ. 2377

เจมส์ จูล ถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2432 อายุได้ 71 ปี

ผลงาน[แก้]

เมื่อ พ.ศ. 2390 จูลได้ทดลองเอาค้อนทุบปลายท่อนเหล็กแล้วลองจับดู จะรู้สึกว่าร้อน ทั้งนี้เป็นเพราะการเปลี่ยนรูปพลังงานจากพลังงานกลของแขนไปเป็นพลังงานความร้อนและพลังงานรูปอื่นๆ ซึ่งเขาได้ทดลองหลายครั้งจนค้นพบว่า สมมูลกลของความร้อน คือปริมาณงานที่สิ้นเปลืองไปในการทำให้เกิดความร้อน 1 หน่วยพอดี

อ้างอิง[แก้]