เขื่อนแก่งกระจาน

พิกัด: 12°54′07″N 99°35′56″E / 12.902°N 99.599°E / 12.902; 99.599
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เขื่อนแก่งกระจาน
ชื่อทางการเขื่อนแก่งกระจาน
ที่ตั้งอำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี
วันที่เปิดพ.ศ. 2509
โครงสร้างและทางน้ำล้น
ความสูง58 เมตร
ความยาว760 เมตร
ความกว้าง (ที่ฐาน)8 เมตร
กั้นแม่น้ำเพชรบุรี
เรือของชาวบ้านจอดอยู่ริมทะเลสาบแก่งกระจานซึ่งเกิดจากการสร้างเขื่อนแก่งกระจาน

เขื่อนแก่งกระจาน เป็นเขื่อนดินขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย กั้นแม่น้ำเพชรบุรี ที่บริเวณเขาเจ้า และเขาไม้รวกประชิดกับ ตำบลแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี อยู่ทางด้านเหนือน้ำ ของเขื่อนเพชรขึ้นไปตามถนน 27 กิโลเมตร สันเขื่อนยาว 760 เมตร กว้าง 8 เมตร สูง 58 เมตร ระดับสันเขื่อน 106 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ฐานตอนที่กว้างที่สุด 250 เมตร สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2509 เป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ เหมาะสำหรับท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ

เขื่อนแก่งกระจาน อยู่ห่างจากตัวเมืองเพชรบุรี 53 กิโลเมตร และห่างจากอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน 3 กิโลเมตร เดินทางตามเส้นทางเดียวกับอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน

โรงไฟฟ้า[แก้]

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้พิจารณาติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่เขื่อนแก่งกระจาน โดยติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 1 เครื่อง ขนาดกำลังผลิต 19,000 กิโลวัตต์ ให้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยปีละ 70 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงโดยมีสายส่งไฟฟ้าจากเขื่อนแก่งกระจานไปยังสถานีไฟฟ้าแรงสูงชะอำ เป็นระยะทาง 40-41 กิโลเมตร เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อเดือน พฤศจิกายน 2514 แล้วเสร็จและผลิตไฟฟ้าไดั เมื่อเดือนสิงหาคม [1]

ประโยชน์[แก้]

เขื่อนแก่งกระจานเป็นเขื่อนอเนกประสงค์ ประโยชน์ที่ได้จากเขื่อนมีหลายประการ คือ

  • เขื่อนแก่งกระจานสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 19,000 กิโลวัตต์ ให้พลังงานเฉลี่ยประมาณ ปีละ 70 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง
  • สามารถขยายพื้นที่ชลประทานของ โครงการเพชรบุรี ซึ่งเดิมมีอยู่จำนวน 214,000 ไร่ เพิ่มเป็น 336,000 ไร่ และเพื่อการเกษตร การเพาะปลูกในฤดูแล้งได้ 174,000 ไร่ รวมทั้งยังช่วยแก้ไขปัญหา การขาดแคลนน้ำ เพื่อการอุปโภค บริโภค ตั้งแต่ปากอ่าวเพชรบุรี จนถึงหัวหินให้หมดไป และช่วยบรรเทาอุทกภัย ในทุ่งเพชรบุรีด้วย
  • เป็นแหล่งส่งเสริมการประมง
  • เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดเพชรบุรี

อ้างอิง[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

12°54′07″N 99°35′56″E / 12.902°N 99.599°E / 12.902; 99.599