เขาคิลิมันจาโร

พิกัด: 03°04′33″S 37°21′12″E / 3.07583°S 37.35333°E / -3.07583; 37.35333
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เขาคิลิมันจาโร
ยอดคีโบบนเขาคิลิมันจาโร
จุดสูงสุด
ความสูง
เหนือระดับน้ำทะเล
5,895 เมตร (19,341 ฟุต) [1][2]
ความสูง
ส่วนยื่นจากฐาน
5,885 เมตร (19,308 ฟุต) [3]
อันดับ 4[4]
พิกัด03°04′33″S 37°21′12″E / 3.07583°S 37.35333°E / -3.07583; 37.35333
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
เขาคิลิมันจาโรตั้งอยู่ในแทนซาเนีย
เขาคิลิมันจาโร
เขาคิลิมันจาโร
เขาคิลิมันจาโรในประเทศแทนซาเนีย
เขาคิลิมันจาโรตั้งอยู่ในแอฟริกา
เขาคิลิมันจาโร
เขาคิลิมันจาโร
เขาคิลิมันจาโร (แอฟริกา)
ที่ตั้งแคว้นคิลิมันจาโร ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศแทนซาเนีย
เทือกเขาหุบเขาริฟต์ตะวันออก
แผนที่ภูมิประเทศแผนที่โดยเวียโลคอฟสกี[5]
ข้อมูลทางธรณีวิทยา
อายุหิน3 ล้านปี
ประเภทภูเขากรวยภูเขาไฟสลับชั้น
การปะทุครั้งล่าสุดระหว่าง 150,000 และ 200,000 ปี
การพิชิต
พิชิตครั้งแรก6 ตุลาคม ค.ศ. 1889 โดยฮันส์ ไมเออร์ และลูทวิช พวร์ทเช็ลเลอร์
เส้นทางง่ายสุดเดินทางไกลด้วยเท้า

เขาคิลิมันจาโร (อังกฤษ: Mount Kilimanjaro) ชื่อภูเขามาจากภาษาสวาฮีลี หมายความว่า "ภูเขาที่ทอแสงแวววาว" เขาคิลิมันจาโรตั้งอยู่ในเขตประเทศแทนซาเนียใกล้พรมแดนประเทศเคนยา ลักษณะเป็นภูเขาไฟยอดเดี่ยวที่สูงที่สุดในโลก และเป็นเขาที่สูงที่สุดในทวีปแอฟริกาอีกด้วย มีความสูงกว่า 5,895 เมตร ตรงบริเวณยอดเขามียอดเขาด้วยกัน 5 ยอด เรียงตามลำดับความสูง คือ

  • ยอดคีโบ เป็นยอดที่สูงที่สุดในแอฟริกา มีความสูง 5,895 เมตร มีโพรงลึกเป็นรูปกรวยลึกถึง 113 เมตร (370 ฟุต) แนวลึกด้านตรง 122 เมตร (400 ฟุต) มีร่องรอยของการคุกกรุ่น ไม่หมดเชื้อยังคงมีควันปรากฏอยู่และมีกลิ่นกำมะถัน
  • ยอดมาเวนซี มีความสูง 5,353 เมตร อยู่ติดกับยอดคีโบ รูปกรวยของยอดมาเวนซี ได้ถูกตบแต่งให้เป็นขั้นเป็นหลืบชั้น สำหรับให้นักไต่เขาได้ฝึกความชำนาญ
  • ยอดชีรา มีความสูง 3,778 เมตร
  • ยอดกากา มีความสูง 458 เมตร
  • ยอดชี มีความสูง 78 เมตร

บริเวณฐานเขามีความยาวกว่า 100 กิโลเมตร และกว้างถึง 75 กิโลเมตร เป็นภูเขาไฟที่ดับแล้ว บริเวณยอดเขามีธารน้ำแข็งขนาดใหญ่ยาวกว่า 4,500 เมตร เป็นธารน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดในทวีปแอฟริกา และเป็นเพียงภูเขาไม่กี่ลูกในแอฟริกาที่มีธารน้ำแข็ง โดยเฉพาะภูเขาที่ใกล้กับเส้นศูนย์สูตรจะหาได้น้อยมากที่จะมีธารน้ำแข็งแบบเดียวกันนี้

เขาคิลิมันจาโรได้กำเนิดขึ้นเมื่อหลายล้านปีที่แล้ว โดยมีการคาดการณ์ว่าเคยเกิดระเบิดใหญ่ถึง 3 ครั้ง จึงทำให้มียอดเขา 3 ลูกดังที่กล่าวข้างต้น ถูกค้นพบครั้งแรกโดยโยฮันเนิส เรพมัน และโยฮัน ลูทวิช ครัพฟ์ หมอสอนศาสนาชาวเยอรมัน ในปี ค.ศ. 1848

คนไทยที่สามารถพิชิตเขาคิลิมันจาโรสำเร็จเป็นคนแรกคือ วิทิตนันท์ โรจนพานิช ส่วนหญิงไทยที่สามารถพิชิตเขาคิลิมันจาโรสำเร็จเป็นคนแรกคือ นภัสพร ชำนาญสิทธิ์ ซึ่งสามารถพิชิตได้เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2560[6]

เขตพืชพรรณ[แก้]

เขาคิลิมันจาโรมองบนท้องฟ้า
เขาคิลิมันจาโร มองจากอุทยานแห่งชาติอัมโบเซลลี

บริเวณที่ลาดเขาช่วงล่างเป็นที่อยู่ของสัตว์ป่าหลากหลายชนิดเช่น ช้าง แรด ควาย และแอนทิโลป ที่ระดับความสูงประมาณ 2,000 เมตรขึ้นไป เป็นป่าเขตอบอุ่น ที่ระดับความสูง 3,500 เมตรขึ้นไปจะพบพรรณพืชแบบทุ่งมัวร์มีมอสส์ขึ้นอยู่เป็นส่วนใหญ่ ถัดขึ้นไปเป็นพรรณพืชแบบป่าสน บนยอดเขาเป็นที่ว่างเปล่าเต็มไปด้วยหิมะ

ส่วนบริเวณที่ราบรอบตีนเขาเป็นที่อยู่อาศัยของเผ่ามาซายที่ทำอาชีพเลี้ยงวัว ควาย แพะ แกะ เพราะบริเวณรอบตีนเขามีทุ่งหญ้าที่อุดมสมบูรณ์ และมีการทำกสิกรรมเขตร้อน ปลูกกล้วย กาแฟ

อ้างอิง[แก้]

  • สำเนียง มณีกาญจน์ และสมบัติ จำปาเงิน. ท่องไปในโลกกว้างนำชมสิ่งมหัศจรรย์ของโลก. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2530.
  1. "Kilimanjaro National Park". Tanzania National Parks. Tanzania National Parks. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2012. สืบค้นเมื่อ 16 July 2015.
  2. "Kilimanjaro National Park". World Heritage List. UNESCO World Heritage Centre. สืบค้นเมื่อ 16 July 2015.
  3. "Kilimanjaro". Peakbagger.com. สืบค้นเมื่อ 16 August 2012.
  4. "World Peaks with 4000 meters of Prominence". Peakbagger.com. สืบค้นเมื่อ 8 November 2015.
  5. Kilimanjaro Map and tourist Guide (Map) (4th ed.). 1:75,000 with 1:20,000 and 1:30,000 insets. EWP Map Guides. การทำแผนที่โดย EWP. EWP. 2009. ISBN 0-906227-66-6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-17.
  6. https://thestandard.co/eem-napassaporn-conquer-7-peaks-from-7-continents/