เกาะปริ่มน้ำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เกาะเฮรอน , ออสเตรเลีย

เกาะปริ่มน้ำ เป็นเกาะเล็กที่มีทรายกองบนพื้นผิวของแนวปะการังสูงเหนือระดับน้ำทะเลเล็กน้อย สามารถเกิดขึ้นในบริเวณที่มีอากาศร้อนทั้งในมหาสมุทรแปซิฟิก, มหาสมุทรอินเดีย, มหาสมุทรแอตแลนติก (รวมทั้งในทะเลแคริบเบียนและแนวปะการังเกรตแบร์ริเออร์รีฟและเบลีซแบร์ริเออร์รีฟ)

การก่อตัวและส่วนประกอบ[แก้]

ทรายของเกาะปริ่มน้ำเมื่อส่องจากกล้องจุลทรรศน์

เกาะปริ่มน้ำเกิดขึ้นเมื่อกระแสน้ำมหาสมุทรนำพาตะกอนมาสะสมบริเวณแนวปะการังจากนั้นตะกอนก็จะค่อย ๆ สะสมและก่อตัวขึ้นบนผิวหน้าของแนวปะการัง[1][2] บางครั้งตะกอนเหล่านี้ก็จะเกิดขึ้นบริเวณที่มีลมพัดพานำตะกอนมาสะสม

ส่วนมากตะกอนบนเกาะจะเป็นตะกอนชนิดเดียวกัน ซึ่งอาจเป็นซากปะการัง หรือซากกระดูกสัตว์ที่มาจากรอบ ๆ เกาะ[3] หากเกาะนี้ส่วนมาประกอบด้วยทรายจะเรียกว่าคีย์แต่หากเกาะนั้นส่วนมากประกอบด้วยกรวดจะเรียกว่าโมตู (motu)

ตะกอนจะประกอบด้วยแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) ส่วนใหญ่อยู่ในรูปอะราโกไนต์ แคลไซต์ และแมกนีเซียมแคลไซต์ ซึ่งมาจากกะละปังหา สาหร่ายใบมะกรูด ปะการัง สัตว์จำพวกมอลลัสกา ฟอรามินิเฟอรา และยังมีตะกอนซิลิเกตจากซากฟองน้ำและอื่น ๆ[4][5][6][7] และเมื่อเวลาผ่านไปดินและพืชผักจะค่อย ๆ เกิดขึ้นบนผิวเกาะ รวมถึงจะค่อย ๆ มีปุ๋ยขี้นกสะสมตัวขึ้น

อ้างอิง[แก้]

  1. Hopley, D. (1981). "Sediment movement around a coral cay, Great Barrier Reef, Australia". Pacific Geology. 15: 17–36.
  2. Gourlay, M.R. (1988) "Coral cays: products of wave action and geological processes in a biogenic environment" pp. 497–502. In Choat, J.H. et al. (eds.) Proceedings of the 6th International Coral Reef Symposium: Vol. 2: Contributed Papers. Townsville, Australia.
  3. Hopley, D. (1982) The Geomorphology of the Great Barrier Reef – Quaternary Development of Coral Reefs. Wiley-Interscience Publication, John Wiley and Sons Ltd., New York, ISBN 0471045624.
  4. Chave, K. (1964) "Skeletal Durability and Preservation". In: J. Imbrie and N. Newell (Eds.), Approaches to Palaeoecology. John Wiley and Sons Inc., Sydney.
  5. Folk, R.; Robles, P. (1964). "Carbonate sands of Isla Perez, Alacran Reef Complex, Yucatan". Journal of Geology. 72 (3): 255–292. doi:10.1086/626986. JSTOR 30075161.
  6. Scoffin, T.P. (1987) Introduction to Carbonate Sediments and Rocks. Blackwell, Glasgow, ISBN 0216917891.
  7. Yamano, H., Miyajima, T. and Koike, I. (2000). "Importance of foraminifera for the formation and maintenance of a coral sand cay: Green Island, Australia". Coral Reefs. 19: 51. doi:10.1007/s003380050226.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)