เกวลญาณ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระอาทินาถบรรลุเกวลญาณ

เกวลญาณ (Kevala jñāna) หรือ ไกวัลย์ คือภาวะสัพพัญญู (omniscience - การตรัสรู้เข้าใจสรรพสิ่งทั้งหมดในจักรวาล) ในศาสนาเชน แปลหยาบ ๆ ว่า "การเข้าใจทั้งหมด"[1] หรือ ปัญญาสูงสุด[2]

เกวลญาณนั้นเชื่อกันว่าเป็นคุณภาพแท้จริงในวิญญาณทั้งปวง คุณภาพนี้จะถูกซ่อนในรูปของอนุภาคกรรม (karmic particles) ที่รายล้อมวิญญาณนั้น ๆ ทุกวิญญาณสามารถเข้าถึงเกวลญาณได้โดยการขจัดอนุภาคกรรมออกเสีย เอกสรรของเชนระบุถึงขั้นตอน 12 ขั้นเพื่อที่จะเข้าถึงเกวลญาณนี้ วิญญาณที่เข้าถึงเกวลญาณแล้วจะเรียกว่า "เกวลิน" (केवलिन्).[3] ศาสนิกชนเชนเชื่อว่า เกวลินต่าง ๆ เท่านั้น ที่จะเข้าใจสรรพสิ่งในจักรวาลในทุกมุมอง สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่ไม่เข้าสู่เกวลญาณจะเข้าใจได้เพียงแค่ความรู้บางส่วน บางมุม บางมิติ เท่านั้น[4]

นิกายทิคัมพรเชื่อว่าเกวลินจะไม่มีความรู้สึกหิวหรือกระหายเหลืออยู่อีก ในขณะที่นิกายเศวตามพรเชื่อว่าเกวลินยังมีความต้องการเหมือนกับมนุษย์ปุถุชนทั่วไป ทั้งสองนิกายเชื่อเหมือนกันว่าเกวลินสุดท้ายของอวสรรปิณี (จักรวาลนี้) ได้กำเนิดไปแล้ว คือ "ชัมพูสวามี" (Jambuswami) หนึ่งใน 11 สาวกสำคัญของตีรถังกรสุดท้าย "พระมหาวีระ"[5] และหลังจากนี้จะไม่มีสิ่งมีชีวิตใดสามารถเข้าถึงเกวลญาณได้อีก

อ้างอิง[แก้]

  1. Sharma 1991, p. 49
  2. Kumar 2001, p. 3
  3. Jaini 2000, p. 51
  4. Jaini 1998, p. 91
  5. Shah 2004, p. 39

บรรณานุกรม[แก้]

  • Jain, Vijay K (2016-01-01). Ācārya Samantabhadra's Aptamimamsa (Devāgamastotra). Vikalp printers. ISBN 9788190363983.
  • Dundas, Paul (2002), The Jains, Routledge, ISBN 978-0-415-26605-5
  • Flügel, Peter (2006), Studies in Jaina History and Culture: Disputes and Dialogues, Taylor & Francis, ISBN 978-0-203-00853-9
  • Glasenapp, Helmuth Von (1999), Jainism: An Indian Religion of Salvation, Delhi: Motilal Banarsidass, ISBN 81-208-1376-6
  • Jaini, Padmanabh (1998), The Jaina Path of Purification, New Delhi: Motilal Banarsidass, p. 91, ISBN 81-208-1578-5
  • Jaini, Padmanabh S (2000), Collected Papers On Jaina Studies, Motilal Banarsidass, ISBN 978-81-208-1691-6
  • Jaini, Padmanabh S. (2001), Collected Papers On Buddhist Studies, Motilal Banarsidass, ISBN 978-81-208-1776-0
  • Kumar, Sehdev (2001), Jain Temples of Rajasthan, Abhinav Publications, ISBN 978-81-7017-348-9
  • Shah, Natubhai (2004), Jainism: The World of Conquerors, vol. 1, Motilal Banarsidass, ISBN 978-1-898723-30-1
  • Sharma, Candradhar (1991), A critical survey of Indian philosophy, Motilal Banarsidass, ISBN 978-81-208-0365-7