เกมบอยอัดวานซ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เกมบอยอัดวานซ์
Nintendo-Game-Boy-Advance-Purple-FL
เครื่องเล่นเกมบอยอัดวานซ์สีคราม
ชื่อเรียกอื่นiQue Game Boy Advance (จีน)
ผู้พัฒนาNintendo R&D
ผู้ผลิตนินเท็นโด
ตระกูลเกมบอย[1]
ชนิดเครื่องเล่นเกมพกพา
รุ่นที่6
วางจำหน่าย
  • JP: 21 มีนาคม ค.ศ. 2001[3]
  • NA: 11 มิถุนายน ค.ศ. 2001[2]
  • EU: 22 มิถุนายน ค.ศ. 2001[4]
  • AU: 22 มิถุนายน ค.ศ. 2001[5]
ราคาเบื้องต้นUS$99.99[6]
หน่วยขาย81.51 ล้าน (ข้อมูลเมื่อ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2010 (2010 -06-30))[7]
สื่อ
พลังงานแบตเตอรี่ 2 ก้อน × AA
หน่วยประมวลผลARM7TDMI @ 16.78 MHz, Sharp LR35902 (8080-derived) @ 8.388 หรือ 4.194 MHz
หน่วยความจำ32 KB ข้างใน, 256 KB ข้างนอก, 96 KB VRAM
การแสดงผลTFT LCD, 240 × 160 พิกเซล, 40.8 × 61.2 มม.[8]
มิติ82 x 144.5 x 24.5 มม.
เกมขายที่ที่สุดPokémon Ruby and Sapphire, 16.22 ล้านตลับ[9]
Backward
compatibility
รุ่นก่อนหน้าเกมบอยคัลเลอร์[10]
รุ่นต่อไปนินเท็นโด DS

เกมบอยอัดวานซ์ (อังกฤษ: Gameboy Advance; ญี่ปุ่น: ゲームボーイアドバンスโรมาจิGēmu Bōi Adobansu) เป็นเครื่องเล่นเกมพกพา 32 บิตที่พัฒนา ผลิต และวางจำหน่ายโดยนินเท็นโดในฐานะรุ่นสืบทอดของเกมบอยคัลเลอร์ วางจำหน่ายครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 2001 ในทวีปอเมริกาเหนือในวันที่ 11 มิถุนายน ค.ศ. 2001 ในภูมิภาค PAL เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 2001 และในจีนแผ่นดินใหญ่ภายใต้ชื่อ iQue Game Boy Advance ในวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 2004 เกมบอยอัดวานซ์เป็นส่วนหนึ่งของยุคที่หกของเครื่องเล่นวิดีโอเกม

ณ เดือนมิถุนายน ค.ศ. 2010 มีการจำหน่ายเกมบอยอัดวานซ์ไป 81.51 ล้าหนน่วยทั่วโลก[7] นินเท็นโด DS เครื่องเล่นเกมรุ่นถัดมา ออกจำหน่ายในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2004[11]

ฮาร์ดแวร์[แก้]

  • ซีพียู: ใช้ซีพียูตระกูล ARM (ARM7TDMI) แบบ 32 บิต ที่ความเร็ว 16.8 MHz (สำหรับเล่นเกม ของ เกมบอยอัดวานซ์)

ใช้ซีพียูตระกูล Zilog Z-80 (สำหรับเล่นเกม ของ เกมบอย และ เกมบอยคัลเลอร์)

  • หน้าจอแอลซีดี 2.9 นิ้ว ความละเอียด 240×160 พิกเซล สนับสนุนสีแบบ 15 บิต (32,768 สี)
  • ตลับเกมแบบคาทริดจ์
  • ใช้ถ่านไฟฉายขนาด AA 2 ก้อน

รุ่นต่าง ๆ ของเกมบอยอัดวานซ์[แก้]

นอกจากเกมบอยอัดวานซ์รุ่นปกติแล้ว นินเทนโดยังวางจำหน่ายรุ่นปรับปรุงของเกมบอยอัดวานซ์อีก 2 รุ่น

เกมบอยอัดวานซ์ SP[แก้]

เกมบอยอัดวานซ์ SP

วางจำหน่ายเดือนมีนาคม ค.ศ. 2003 ชื่อ SP มาจากคำว่า "Special"

สิ่งที่เปลี่ยนแปลงคือเปลี่ยนมาใช้แบตเตอรี่แบบชาร์จได้ และเปลี่ยนดีไซน์มาเป็นแบบฝาพับ

เกมบอยไมโคร[แก้]

เกมบอยไมโคร

วางจำหน่ายเดือนกันยายน ค.ศ. 2005 เป็นเกมบอยขนาดย่อส่วน โดยยังคงคุณสมบัติของเกมบอยอัดวานซ์ไว้อย่างครบถ้วน แต่จะไม่สามารถเล่นตลับเก่าของ เกมบอย และ เกมบอยคัลเลอร์ ได้

คำตอบรับ[แก้]

ยอดขาย[แก้]

ทางนินเท็นโดหวังขายเกมบอยอัดวานซ์ให้ได้ 1.1 ล้านหน่วยตอนเปิดตัวในประเทศญี่ปุ่นภายในเดือนมีนาคม และยอดขายที่คาดหวังที่ 24 ล้านหน่วยก่อนสิ้น ค.ศ. 2001; นักวิเคราะห์การตลาดหลายคนเชื่อว่านี่เป็นเป้าหมายที่เป็นจริงได้เนื่องจากบริษัทขาดคู่แข่งที่สำคัญในตลาดวิดีโอเกมพกพา[12] ภายในสัปดาห์แรกหลังออกจำหน่ายในทวีปอเมริกาเหนือเมื่อเดือนมิถุนายน เกมบอยอัดวานซ์ขายได้ 500,000 หน่วย ทำให้เป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมที่ขายได้เร็วในสุดในสหรัฐในเวลานั้น ทำให้ทางนินเท็นโดสั่งเครื่องเล่นเกม 100,000 หน่วยเพื่อจัดส่งไปยังร้านค้าปลีก โดยหวังว่าจะจัดส่งอีกครึ่งล้านภายในสิ้นเดือนมิถุนายน[13] เกมบอยอัดวานซ์ยังเป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมที่ขายได้เร็วที่สุดในสหราชอาณาจักร โดยขายไปได้ 81,000 หน่วยในสัปดาห์แรก และทำลายสถิติของเพลย์สเตชัน 2 ที่ 20,000 หน่วย[14] ใน ค.ศ. 2004 มีการขายเครื่องเล่นวิดีโอเกมรุ่นนี้ในสหราชอาณาจักรมากกว่า 1 ล้านหน่วย[15]

ณ วันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2009 เกมชุดเกมบอยอัดวานซ์ขายได้ 81.51 ล้านหน่วยทั่วโลก แบ่งออกเป็น Game Boy Advance SP 43.57 ล้านหน่วย และ Game Boy Micro 2.42 ล้านหน่วย[16]

หลังหยุดการพัฒนาเกมบอยอัดวานซ์ ซอฟต์แวร์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดกลายเป็นเกมที่เน้นผู้เล่นเกมอายุน้อยเป็นส่วนใหญ่[17]

อ้างอิง[แก้]

  1. Ishihara; Morimoto. "Pokémon HeartGold Version & Pokémon SoulSilver Version". Iwata Asks (Interview: Transcript). สัมภาษณ์โดย Satoru Iwata. Nintendo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 24, 2022. สืบค้นเมื่อ September 25, 2022.
  2. Fielder, Lauren (May 16, 2001). "E3 2001: Nintendo unleashes GameCube software, a new Miyamoto game, and more". GameSpot. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 15, 2020. สืบค้นเมื่อ July 19, 2014.
  3. "Game Boy Advance: It's Finally Unveiled". IGN. August 23, 2000. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 25, 2014. สืบค้นเมื่อ July 19, 2014.
  4. Bramwell, Tom (March 21, 2001). "GBA Day: June 22nd". Eurogamer. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 28, 2020. สืบค้นเมื่อ July 19, 2014.
  5. "Hyper 094". August 6, 2001 – โดยทาง Internet Archive.
  6. "The Real Cost of Gaming: Inflation, Time, and Purchasing Power". 2013-10-15. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 15, 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-08-28.
  7. 7.0 7.1 "Consolidated Sales Transition by Region" (PDF). Nintendo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ April 27, 2016. สืบค้นเมื่อ November 18, 2016.
  8. "Technical data". Nintendo of Europe GmbH. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 17, 2023. สืบค้นเมื่อ May 24, 2017.
  9. Rose, Mike (October 15, 2013). "Pokemon X & Y sell 4M copies in first weekend". Gamasutra. Think Services. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 19, 2013. สืบค้นเมื่อ July 19, 2014.
  10. Umezu; Sugino; Konno. "Nintendo 3DS (Volume 2 – Nintendo 3DS Hardware Concept)". Iwata Asks (Interview: Transcript). สัมภาษณ์โดย Satoru Iwata. Nintendo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 29, 2012. สืบค้นเมื่อ March 7, 2011.
  11. Wilson, Zoë Ettinger, Matthew. "The most popular tech gadget from the year you were born". Insider. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 17, 2023. สืบค้นเมื่อ 2020-04-21.
  12. "Nintendo launched new GameBoy". BBC. March 21, 2001. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 6, 2017. สืบค้นเมื่อ December 6, 2017.
  13. Eng, Paul (June 21, 2001). "Game Boy Advance Breaks Sales Records". ABC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 6, 2017. สืบค้นเมื่อ December 5, 2017.
  14. Branwell, Tom (June 26, 2001). "Record-Breaking GameBoy Advance sales". Eurogamer. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 6, 2017. สืบค้นเมื่อ December 5, 2017.
  15. Fahey, Rob (January 27, 2009). "UK Game Boy Advance sales top 1 Million In 2004". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 9, 2017. สืบค้นเมื่อ December 8, 2017.
  16. "Consolidated Financial Highlights" (PDF). Nintendo Co., Ltd. April 26, 2007. p. 8. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-12. สืบค้นเมื่อ April 26, 2007.
  17. Kohler, Chris (January 18, 2009). "Top 10 Games of December 2008, By Platform". blog.wired.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 2, 2012. สืบค้นเมื่อ January 19, 2009.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]