อ็องฌู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดัชชีอ็องฌู
Duché d'Anjou
1360 – 1482
Coat of arms of อ็องฌู
ตราอาร์ม
เมืองหลวงอ็องเฌ
การปกครอง
 • ประเภทดัชชี
พระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส 
• 1360–1380
ชาร์ลที่ 5
• 1461–1482
หลุยส์ที่ 11
ดยุคแห่งอ็องฌู 
• 1360–1384
หลุยส์ที่ 1 แห่งอ็องฌู
• 1480–1481
ชาลส์ที่ 4 แห่งอ็องฌู
ยุคทางประวัติศาสตร์สมัยกลาง
• เลื่อนขั้นจากเคาน์ตีเป็นดัชชี
1360
• ผนวกเข่ากับราชอาณาจักรฝรั่งเศส
1482
ก่อนหน้า
ถัดไป
เคาน์ตีอ็องฌู
ดัชชีอ็องฌู

อ็องฌู (ฝรั่งเศส: Anjou, ออกเสียง: [ɑ̃ʒu] ( ฟังเสียง); ละติน: Andegavia) เป็นอดีตอาณาจักรเคานต์ (ราว ค.ศ. 880), ดัชชี (ราว ค.ศ. 1360) และจังหวัดที่มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองอ็องเฌในบริเวณลุ่มแม่น้ำลัวร์ในประเทศฝรั่งเศสปัจจุบัน อาณาบริเวณของอาณาจักรใกล้เคียงกับจังหวัดแมเนลัวร์ในปัจจุบัน

เคานตีและดัชชีอ็องฌู[แก้]

ในยุคกัลโลโรมัน อ็องฌูคือ ชีวีตัส อันเดรกาเวนซีส ซึ่งต่อมากลายเป็นเคานตีอ็องฌู และตั้งแต่ปี ค.ศ. 1360 เป็นต้นมาได้กลายเป็นดัชชีอ็องฌู ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียง อ็องฌูมีเคานต์เป็นผู้บริหารปกครองในฐานะตัวแทนของกษัตริย์ฝรั่งเศส แต่แคว้นตกเป็นเป้าโจมตีของชาวไวกิงหรือชาวนอร์สที่ออกปล้นสะดมในคริสต์ศตวรรษที่ 9

เคานต์ตระกูลแรก[แก้]

ภายใต้การปกครองของหนึ่งในบุตรชายของรอแบต์ผู้แข็งแกร่ง อ็องฌูถูกมอบหมายให้อยู่ในการดูแลของอินเกลเกอร์ ซึ่งต่อมากลายเป็นผู้ก่อตั้งตระกูลแรกของอ็องฌู ฟุลค์ที่ 1 แดง บุตรชายของอินเกลเกอร์ นำเคานตีออกมาจากการปกครองของชาวนอร์มันและขยายอาณาเขตด้วยการยึดพื้นที่บางส่วนของตูแรน ฟุลค์เสียชีวิตในปี ค.ศ. 942 และภายใต้การปกครองของฟุลค์ที่ 2 ผู้ดีงาม ผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากฟุลค์ที่ 1 ความเสียหายที่เกิดจากการทำสงครามในยุคก่อนได้รับการฟื้นฟู จูฟฟรัวที่ 1 กรีสโกเนล สืบทอดตำแหน่งต่อจากฟุลค์ที่ 2 ในปี ค.ศ. 960 เริ่มมีการขยายอำนาจทางการเมือง จูฟฟรัวช่วยอูก กาเปต์แย่งชิงราชบัลลังก์ฝรั่งเศส แต่กลับเสียชีวิตไม่กี่เดือนหลังกษัตริย์คนใหม่ขึ้นครองราชย์

ฟุลค์ที่ 3 ดำ ผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากจูฟฟรัวคือบุคคลที่โดดเด่นที่สุดคนหนึ่งในยุคของตนและเป็นสมาชิกที่ทรงอำนาจที่สุดของตระกูล ซึ่งปกครองอ็องฌูตั้งแต่ปี ค.ศ. 987 ถึง ค.ศ. 1040 เขาได้ขับไล่เพื่อนบ้านที่รุกล้ำให้กลับออกไปนอกชายแดนอ็องฌูและสร้างปราสาทป้อมปราสาอทอันแข็งแกร่งขึ้นมาตามแนวชายอาณาเขตของตน จูฟฟรัวที่ 2 มาร์เตล บุตรชายของฟุลค์สืบสานการขยายอำนาจทางการเมืองที่บิดาของตนเริ่มต้นไว้ และผนวกแวร์ม็องดัวส์และส่วนหนึ่งของเมนเข้ากับอ็องฌู ด้วยจูฟฟรัวไม่มีบุตรชายทิ้งไว้ จูฟฟรัวที่ 3 เคราและฟุลค์ที่ 4 เลอ เรแช็ง หลานชาย (ลูกของพี่น้อง) ของเขาจึงแบ่งการสืบทอดตำแหน่งกัน ทว่าไม่นานก็หยิบอาวุธขึ้นมาสู้รบกัน ฟุลค์ปราบจูฟฟรัวได้ในปี ค.ศ. 1068 อย่างไรก็ดีเขาต้องสละพื้นที่ส่วนใหญ่ที่ฟุลค์ที่ 3 ดำได้มาเพื่อปกป้องที่ดินศักดินาของตนจากการอ้างสิทธิ์ของดยุคแห่งนอร์ม็องดี หลังการเสียชีวิตของฟุลค์ที่ 4 ในปี ค.ศ. 1109 ฟุลค์ที่ 5 หนุ่มน้อย บุตรชายของเขา พยายามเอาดินแดนที่เสียไปกลับคืนมา เขาจับจูฟฟรัว แพลนทาเจเนต บุตรชายของตนแต่งงานกับมาทิลดา พระธิดาของพระเจ้าเฮนรีที่ 1 แห่งอังกฤษ ซึ่งเป็นพระมเหสีม่ายของจักรพรรดิไฮน์ริชที่ 5

การแต่งงานกับมาทิลดาทำให้จูฟฟรัวที่ 5 แพลทาเจเนต สามารถอ้างสิทธิ์ในนอร์ม็องดีและอังกฤษ เขาใช้ชีวิตทั้งหมดไปกับการต่อสู้กับคู่แข่ง ในปี ค.ศ. 1151 จูฟฟรัวได้ทิ้งตำแหน่งเคานต์แห่งอ็องฌูและเมนและตำแหน่งดยุคแห่งนอร์ม็องดีไว้ให้บุตรชาย อองรีหรือเฮนรี (ต่อมาคือพระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษ) ซึ่งได้แต่งงานกับอาเลียนอร์แห่งอากีแตนหลังการแต่งงานกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศสของอาเลียนอร์ถูกประกาศให้เป็นโมฆะ จักรวรรดิแองโกล-อ็องฌูแว็งของราชวงศ์แพลนทาเจเนตถูกก่อตั้งขึ้น และครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่อังกฤษจนถึงเทือกเขาพีรินี ทว่าพระเจ้าฟิลิปที่ 2 อูกุสต์พิชิตอ็องฌูมาจากพระเจ้าจอห์นแห่งอังกฤษในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 ความพยายามของชาวอังกฤษที่จะเอาอ็องฌูกลับคืนมาล้มเหลวเมื่อพวกเขาพ่ายแพ้ที่ลาโรชูซ์มวนส์ในปี ค.ศ. 1214 อ็องฌูถูกยกให้เป็นของฝรั่งเศสอย่างเด็ดขาดตามสนธิสัญญาปารีสในปี ค.ศ. 1259

ตระกูลที่สอง[แก้]

ในปี ค.ศ. 1246 พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสมอบอ็องฌูเป็นที่ดินศักดินาให้ชาร์ลส์ พระอนุชา อนาคตกษัตริย์แห่งเนเปิลส์และซิซิลี ผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 คือพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 และผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 คือชาร์ลส์ที่ 3 แห่งวาลัวส์ พระชามาดา ซึ่งการปกครองของชาร์ลส์ทำให้สภาวะด้านการเงินและสังคมของประชาชนอ็องฌูพัฒนาขึ้นอย่างมาก บุตรชายของชาร์ลส์ที่ 3 แห่งวาลัวส์ได้กลายเป็นกษัตริย์แห่งฝรั่งเศสในชื่อพระเจ้าฟิลิปที่ 6 ในปี ค.ศ. 1328 จากนั้นจนถึงปี ค.ศ. 1351 อ็อฌูถูกรวมเข้ากับราชบัลลังก์ฝรั่งเศสอีกครั้ง

ตระกูลที่สาม[แก้]

พระเจ้าฌ็องที่ 2 แห่งฝรั่งเศสมอบตำแหน่งเคานต์แห่งอ็องฌูให้แก่หลุยส์ พระโอรส ในปี ค.ศ. 1351 จึงเป็นการเริ่มต้นตระกูลที่สามของอ็องฌูซึ่งถูกเลื่อนระดับให้เป็นดยุคในปี ค.ศ. 1360 ในยุคนี้กลุ่มทหารอังกฤษภายใต้การบัญชาการของเซอร์โรเบิร์ต นอลลิสได้เดินทางผ่านอ็องฌู และสร้างความเสียหายครั้งใหญ่ ต่อมาเจ้าชายอ็องฌูแว็งสนใจการพิชิตราชอาณาจักรเนเปิลส์มากกว่าการป้องกันดัชชีของตน เช่นเดียวกับหลุยส์ที่ 1 บิดาของตน พระเจ้าหลุยส์ที่ 2 แห่งเนเปิลส์ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่นอกอ็องฌู หลังหลุยส์สิ้นพระชนม์ โยลันดาแห่งอารากอน ภรรยาม่ายของพระเจ้าหลุยส์ พยายามอย่างหนักเพื่อปกป้องอ็องฌูจากการโจมตีของชาวอังกฤษ

ผู้ปกครองคนสุดท้ายของอ็องฌูคือพระเจ้าเรอเนที่ 1 แห่งเนเปิลส์ หลังพระองค์สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1480 อ็องฌูกลับไปเป็นของราชบัลลังก์ฝรั่งเศสเป็นครั้งสุดท้าย และนับแต่นั้นเป็นต้นมาชะตากรรมของอ็องฌูก็ถูกผูกติดกับชะตากรรมของราชอาณาจักรฝรั่งเศส

อ้างอิง[แก้]

บรรณานุกรม[แก้]

  • Baynes, T. S., บ.ก. (1878), "Anjou" , Encyclopædia Britannica, vol. 2 (9th ed.), New York: Charles Scribner's Sons, p. 58
  • Collins, Paul, The Birth of the West: Rome, Germany, France, and the Creation of Europe in the Tenth Century.

Attribution:

อ่านเพิ่ม[แก้]