อเมริกันไอดอล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อเมริกันไอดอล
สร้างโดยไซมอน ฟูลเลอร์
กำกับโดย
  • แอนดรูว์ เชียร์ (2002)
  • บรูซ โกเวอร์ส (2002-2011)
  • เคน วอร์วิค (2005, 2007-2013)
  • จอห์น พริทเจทท์ (2006-2008, 2010)
  • เกร็ก เกลฟ์ลัน (2007-2013)
  • เชน เดรค (2008)
  • ไนเจล ลิธโกว์ (2008, 2012)
  • บิล เดอรอนด์ (2014, 2015)
  • หลุยส์ เจ. ฮอร์วิตซ์ (2014-)
  • รัสเซล นอร์แมน (2015)
  • กลิน เวสส์ (2015)
  • ฟิล์ เฮยส์(2015)
    [1]
เสนอโดย
ประเทศแหล่งกำเนิดสหรัฐอเมริกา
จำนวนฤดูกาล14
จำนวนตอน533
การผลิต
ผู้อำนวยการผลิต
  • เซซิล ฟรอท-คูทาซ
  • ไซมอน ฟูลเลอร์
  • ทริช ไคแนน[2]
  • ไนเจล ลิธโกว์ (2002–08, 2011–13)
  • เคน วอร์วิค (2002–13)
  • เปอร์ แบลงเคนส์ (2014)
  • เจสซี อิกยาโทวิค (2014)
  • อีแวน แพรกเนอร์ (2014)

[3]

ความยาวตอน30 นาที - 2 ชั่วโมง
ออกอากาศ
เครือข่ายฟ็อกซ์
ออกอากาศ11 มิถุนายน พ.ศ. 2545 –
ปัจจุบัน

อเมริกันไอดอล (American Idol) เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ ที่แข่งขันการร้องเพลง เริ่มซีซั่นแรกเมื่อ 11 มิถุนายน ค.ศ. 2002 โดยใช้ชื่อว่า American Idol: The Search for a Superstar ออกอากาศทางช่องฟอกซ์ โดยมีต้นแบบมาจากรายการป็อป ไอดอลทางฝั่งอังกฤษ เป็นรายการค้นหานักร้องวงการเพลงป็อปคนใหม่ทั่วอเมริกา โดยผู้ชมมีส่วนร่วมในการโหวดผู้เข้าแข่งขันที่ชื่นชอบ ผ่านทางโทรศัพท์พื้นฐาน หรือโทรศัพท์มือถือ ผู้เข้าแข่งขันที่ได้รับผลโหวตน้อยที่สุดหนึ่งคนจะตกรอบไป

ตั้งแต่ซีซั่นที่ 8 และ 9 คณะกรรมการสามารถใช้สิทธิ์ "เซฟ(Save)" เพื่อช่วยผู้เข้าแข่งขันคนที่ได้คะแนนน้อยที่สุด ไม่ให้ตกรอบ หากคณะกรรมการคิดว่า ผู้แข่งขันคนนั้นไม่สมควรตกรอบจากผลโหวต ในหนึ่งซีซั่นคณะกรรมการสามารถใช้สิทธิ์นี้ ได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น และเมื่อใช้สิทธิ์ในสัปดาห์ไหน ในสัปดาห์ต่อไปจะต้องมีคนตกรอบ 2 คน หากการแข่งขันดำเนินมาถึงรอบ 5 คนสุดท้าย และคณะกรรมการยังไม่ได้ใช้สิทธิ์ จะไม่สามารถใช้สิทธิ์นี้ได้จนจบซีซั่น

เทย์เลอร์ ฮิกส์ นักร้องหนุ่มวัย 29 จากเมืองเบอร์มิงแฮม รัฐแอละแบมา สามารถคว้าชัยบนเวทีล่าฝันอย่าง อเมริกันไอดอลครั้งที่ 5 ได้สำเร็จ โดยการได้รับเสียงโหวตมากกว่าคู่แข่งแสนสวยอย่าง "McPheever" แคเธอรีน แม็คฟี สาวสวยวัย 22 จากลอสแอนเจลิส ในการโหวตที่มีมาอย่างมหาศาลเป็นประวัติการณ์ถึง 63 ล้านเสียง จนไรอัน ซีเครสท์ พีธีกรของรายการกล่าวอย่างสะใจว่า "เป็นคะแนนเสียงของคนดูที่มากกว่าประธานาธิบดีคนไหนๆ ในประเทศนี้เคยได้รับมาเลยทีเดียว" รายการปีนี้ถือได้ว่ามีเรตติงดีที่สุดในรอบ 5 ปี โดยมีผู้ชมเฉลี่ยต่อสัปดาห์สูงถึง 30.3 ล้านคน มากกว่าฤดูกาลที่แล้วถึง 14 เปอร์เซ็นต์ นับเป็นตัวเลขที่งดงามสำหรับรายการที่ประสบความสำเร็จในระดับที่อยู่ตัวแล้ว ซึ่งยังไม่นับการเผยแพร่ซ้ำและการถ่ายทอดไปยังอีก 150 ประเทศทั่วโลก[4]

จอร์ดิน สปาร์คส (อายุ 17 ปี) เป็นผู้ชนะเลิศการประกวดอเมริกันไอดอลปี 2007 เธอก็ร้องเพลง This Is My Now เพลงที่ชนะการประกวด songwriting contest ซึ่งเป็นครั้งแรกที่รายการเปิดโอกาสให้แฟนเพลงแต่งเพลงเข้าประกวดทางเว็บไซต์ของรายการเพื่อนำไปใช้ในการประกวด[5]

และทาง FOX ได้ประกาศให้กับชาวอเมริกาไว้ ว่า American Idol Season 15 ในปี 2016 จะเป็นซีซั่นสุดท้ายของรายการนี้ ไรอัน ซีเครสยังรับหน้าที่เป็นพิธีกร ส่วนคณะกรรมการก็ชุดเชิมทั้ง แฮร์รี่ คอนนิกค์ จูเนียร์, คีธ เออร์บัน และเจนนิเฟอร์ โลเปซ ซึ่งในซีซั่น 15 จะเป็นการรวมความทรงจำครั้งก่อนตั้งแต่ผู้แข่งขันจนถึงกรรมการที่เคยสร้างนักร้องกันมา ถือว่าเป็นข่าวที่ทำให้ทั้งประเทศและผู้ชมทั่วโลกถึงกับช็อกกับรายการต้ยตำรับการเฟ้นหานักร้องเพลงยุคใหม่ ที่รายการยอดฮิตมา 8 ปีซ้อนจะต้องปิดตัวลง เนื่องจาก เรตติ้งผู้ชมดิ่งลงมาเยอะมากซึ่งในซีซั่น 14 ที่ผานมาในรอบ Finale ผู้ชมสูงสุดมีเพียงแค่ 10 ล้านคน จากที่เคยทำสถิติสูงสุดถึงง 36 ล้านคนในซีซั่น 8 เพราะเหตุนี้ทาง FOX Tv จึงประกาศถอดรายการออกจากโปรแกรมฉาย

การโหวต[แก้]

ผู้ชมสามารถโหวตให้ผู้แข่งขันที่ชื่นชอบ โดยระหว่างการแสดงของผู้แข่งขันแต่ละคน จะมีหมายเลขโทรศัพท์ประจำตัวแสดงที่หน้าจอ สายโทรศัพท์จะเปิดให้โหวต หลังจากจบรายการแต่ละตอนเป็นเวลา 2 ชั่วโมง

คณะกรรมการและพิธีกร[แก้]

คณะกรรมการ[แก้]

ตั้งแต่ซีซั่นที่ 1-7 มีคณะกรรมการ 3 คนคือ ไซมอน คาวเวลล์, พอลลา อับดุล และ แรนดี แจ็คสัน ทำหน้าที่คัดเลือกผู้เข้าแข่งขัน และวิจารณ์การแสดงบนเวที
ในซีซั่นที่ 8 ทางรายการได้เพิ่มคณะกรรมการเป็น 4 คน โดยกรรมการผู้ที่เพิ่มเข้ามาคือ คารา ดิโอกวาร์ดี้ นักแต่งเพลงชื่อดัง
ในซีซั่นที่ 9 เอลเลน เดอเจนเนอเรส พิธีกรทอล์คโชว์ชื่อดัง ตกลงรับเป็นกรรมการแทนที่พอลลา อับดุล ที่ลาออกจากคณะกรรมการ
วันที่ 11 มกราคม 2553 ไซมอน คาวเวลล์ ประกาศว่าจะออกจากรายการหลังจบซีซั่นที่ 9 เพื่อไปทำรายการ ดิเอ็กซ์แฟคเตอร์ ยูเอสเอ ซึ่งเป็นรายการประเภทเรียลลิตี้โชว์แข่งขันร้องเพลง ที่ตัวเขาเป็นผู้ผลิต
วันที่ 29 กรกฎาคม 2553 เอลเลน เดอเจนเนอเรส ประกาศว่าจะออกจากรายการเช่นกัน หลังจากเป็นกรรมการเพียงแค่ปีเดียว

กรรมการ ฤดูกาล
1
(2002)
2
(2003)
3
(2004)
4
(2005)
5
(2006)
6
(2007)
7
(2008)
8
(2009)
9
(2010)
10
(2011)
11
(2012)
12
(2013)
13
(2014)
14
(2015)
พอลลา อับดุล
ไซมอน คาวเวลล์
แรนดี แจ็คสัน
คารา ดิโอกวาร์ดี
เอลเลน เดอเจนเนอเรส
เจนนิเฟอร์ โลเปซ
สตีเวน ไทเลอร์
มารายห์ แครี
นิกกี มินาจ
คีธ เออร์บัน
แฮร์รี คอนนิค จูเนียร์
  กรรมการปัจจุบัน
  อดีตกรรมการ

พิธีกร[แก้]

ไรอัน ซีเครสท์ ทำหน้าที่พิธีกรตั้งแต่ซีซั่นแรกจนถึงปัจจุบัน ในเฉพาะซีซั่นที่ 1 เขาเป็นพิธีกรร่วม คู่กับไบรอัน ดังเคิลแมน

พิธีกร ฤดูกาล
1
(2002)
2
(2003)
3
(2004)
4
(2005)
5
(2006)
6
(2007)
7
(2008)
8
(2009)
9
(2010)
10
(2011)
11
(2012)
12
(2013)
13
(2014)
14
(2015)
ไบรอัน ดังเคิลแมน
ไรอัน ซีเครสท์
  พิธีกรปัจจุบัน
  อดีตพิธีกร

ผู้ชนะเลิศรายการอเมริกันไอดอล[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Louis J. Horvitz To Direct 'American Idol' This Season". Deadline. December 19, 2013.
  2. American Idol' Producer FremantleMedia Names New Entertainment President, Hollywood Reporter, 21 June 2012. Retrieved 2 October 2013.
  3. Nellie Andreeva (June 25, 2013). "'American Idol' Adds 2 Executive Producers". Deadline.
  4. "American Idol" ประกาศแล้ว หนุ่มป่วนคว้าชัย! เก็บถาวร 2012-12-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนโดย ผู้จัดการออนไลน์ 25 พฤษภาคม 2549 20:24 น.
  5. สาว 17 "จอร์ดิน สปาร์คส" คว้าแชมป์ American Idol เก็บถาวร 2007-07-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โดย ผู้จัดการออนไลน์ 24 พฤษภาคม 2550 17:18 น.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]