อุทยานแห่งชาติซาบาเงา

พิกัด: 2°33′S 113°50′E / 2.550°S 113.833°E / -2.550; 113.833
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุทยานแห่งชาติซาบาเงา
Sabangau River and surrounding peat swamp forests
ที่ตั้งจังหวัดกาลีมันตันกลาง, อินโดนีเซีย
พิกัด2°33′S 113°50′E / 2.550°S 113.833°E / -2.550; 113.833

อุทยานแห่งชาติซาบาเงา (อินโดนีเซีย: Taman Nasional Sebangau) เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ที่จังหวัดกาลีมันตันกลาง บนเกาะบอร์เนียวส่วนของประเทศอินโดนีเซีย ก่อตั้งในปี ค.ศ. 2004 มีเนื้อที่รวม 568,700 เฮกตาร์ (5,687 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,554,375 ไร่) ก่อนหน้านี้ระหว่างปี ค.ศ. 1980–1995 พื้นที่แห่งนี้เป็นพื้นที่สัมปทานป่าไม้ ภายหลังมีการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าจนทำให้พื้นที่ร้อยละ 85 ของอุทยานได้รับความเสียหาย ในปี ค.ศ. 2012 มีรายงานว่าพื้นที่น้อยกว่าร้อยละ 1 ได้รับการฟื้นฟู มีการประมาณการณ์ว่าต้องใช้เวลาหลายศตวรรษในการฟื้นฟูพื้นที่ป่าทั้งหมดให้เหมือนเดิม[1]

อุทยานแห่งชาติซาบาเงาตั้งอยู่กลางแม่น้ำซาบาเงา ซึ่งไหลผ่านป่าพรุซาบาเงา (Kelompok Hutan Kahayan) ที่อยู่ระหว่างแม่น้ำกาตีงันกับแม่น้ำกาฮายัน ภายในป่าพรุมีชั้นพีตหนาถึง 10–12 เมตร ด้านทิศตะวันออกของป่าถูกใช้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม แต่หลังจากโครงการเมกะไรซ์ (Mega Rice Project) ที่เปลี่ยนพื้นที่ป่าเป็นนาข้าวไม่ประสบความสำเร็จ พื้นที่ดังกล่าวก็ไม่ได้รับการปรับปรุงเพิ่มเติม[2][3] ส่วนป่าด้านทิศตะวันตกถูกประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติและพื้นที่วิจัยและปฏิบัติการแห่งชาติ จากการศึกษาพบว่าพื้นที่ส่วนนี้ยังคงมีความอุดมสมบูรณ์อยู่มาก[4]

อุทยานแห่งชาติซาบาเงาเป็นพื้นที่ที่มีอุรังอุตังอาศัยอยู่มากที่สุดในโลก[5] ในปี ค.ศ. 2003 พบว่ามีอุรังอุตังอาศัยอยู่ประมาณ 6,910 ตัวและมีชะนีมือดำอาศัยอยู่กว่า 10,000 ตัว แต่ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว[6] นอกจากนี้ยังพบนกหายากหลายชนิด เช่น นกเปล้าใหญ่ นกกระสาคอขาวปากแดง นกตะกรุม[7] ปัจจุบันมีการวางแผนในการเฝ้าสังเกตระบบนิเวศในป่าแห่งนี้ในระยะยาว[8][9]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Can Heavily Deforested Sebangau National Park Be Saved?". July 21, 2012.
  2. "orangutantrop.com: Sabangau Forest". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-15. สืบค้นเมื่อ 2015-11-20.
  3. Ecological Impact of the One Million Hectare Rice Project in Cantral Kalimantan, Indonesia, Using Remote Sensing and GIS. Boehm, H-D.V. and Siegert, F.
  4. "IMPLICATIONS OF GROUNDWATER LEVEL FLUCTUATIONS FOR A TROPICAL PEATLAND ECOSYSTEM IN SOUTHEAST ASIA" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-10-06. สืบค้นเมื่อ 2015-11-20.
  5. Indonesia's forest fires threaten a third of world's wild orangutans | The Guardian
  6. "Density and population estimate of gibbons (Hylobates albibarbis) in the Sabangau catchment, Central Kalimantan, Indonesia" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-11-20.
  7. "Birdlife.org Hutan Kahayan". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-03. สืบค้นเมื่อ 2015-11-20.
  8. "The Orangutan Tropical Peatland Research Project:Monitoring ape populations in the Sabangau Forest, Central Kalimantan, Indonesia". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-18. สืบค้นเมื่อ 2015-11-20.
  9. "THE IMPORTANCE OF ECOLOGICAL MONITORING FOR HABITAT MANAGEMENT - A CASE STUDY IN THE SABANGAU FOREST, CENTRAL KALIMANTAN, INDONESIA" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-27. สืบค้นเมื่อ 2015-11-20.