อุดมเดช สีตบุตร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุดมเดช สีตบุตร
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
รัฐมนตรีว่าการประวิตร วงษ์สุวรรณ
ก่อนหน้ายุทธศักดิ์ ศศิประภา
ถัดไปชัยชาญ ช้างมงคล
สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 – 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
ผู้บัญชาการทหารบก
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 – 30 กันยายน พ.ศ. 2558
ก่อนหน้าพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ถัดไปพลเอก ธีรชัย นาควานิช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 สิงหาคม พ.ศ. 2498 (68 ปี)
คู่สมรสวิภาดา สีตบุตร
บุพการี
  • พลเอก เลิศรบ สีตบุตร (บิดา)
  • ประณีต สีตบุตร (มารดา)
ชื่อเล่นโด่ง
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัด กองทัพบกไทย
ประจำการพ.ศ. 2521–2558
ยศ พลเอก[1]

พลเอก อุดมเดช สีตบุตร ราชองครักษ์พิเศษ นายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์[2] อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม กรรมการในคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ในคณะรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา, อดีตสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อุปนายกสภาทหารผ่านศึกคนที่หนึ่ง[3] อดีตเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ,อดีตผู้บัญชาการทหารบก คนที่ 38, อดีตประธานสโมสรฟุตบอลอาร์มี่ ยูไนเต็ด[4] ประธานกรรมการ มูลนิธิอุทยานราชภักดิ์ ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร, อดีตประธานคณะกรรมการบริหารกิจการโทรทัศน์กองทัพบก, หัวหน้าศูนย์ติดตามสถานการณ์คณะรักษาความสงบแห่งชาติ[5]

ประวัติ[แก้]

พลเอก อุดมเดช สีตบุตร เกิดเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2498 ชื่อเล่น โด่ง; สื่อมวลชนนิยมเรียกว่า บิ๊กโด่งกรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของพลเอก เลิศรบ สีตบุตร อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ปี 2515 กับนางประณีต สีตบุตร เป็นบุตรชายคนสุดท้องของพี่น้อง 6 คน ดังนี้

1. นายชาญชัย สีตบุตร

2. พลอากาศเอก ไพศาล สีตบุตร

3. นางสาวอัญชลี สีตบุตร

4. นางฤดีรัตน์ สีตบุตร

5. นางศิรินทิพย์ สีตบุตร

6. พลเอก อุดมเดช สีตบุตร

ครอบครัว[แก้]

พลเอก อุดมเดช สีตบุตร สมรสกับ นางวิภาดา สีตบุตร กรรมการบริหาร บริษัท มาเลศฟู้ด จำกัด[6]มีบุตรธิดาด้วยกัน 2 คน คือ ร้อยโทหญิงจุฑาภัค สีตบุตร และ นักเรียนนายร้อย ภูวเดช สีตบุตร

การศึกษาและการอบรม[แก้]

จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนโรงเรียนเซนต์คาเบรียล จากนั้นเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 14 รุ่นเดียวกับ พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม , พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง ผู้บัญชาการทหารอากาศ , นาวาอากาศเอก วีระยุทธ ดิษยะศริน อดีตพระสวามีใน สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าฯกรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี และเข้ารับการศึกษาต่อเนื่องที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 25 รุ่นเดียวกับ พลเอกธีรชัย นาควานิช อดีตผู้บัญชาการทหารบก, พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, พลเอกประสูตร รัศมีแพทย์ อดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด

การรับราชการ[แก้]

  • พ.ศ. 2521 ผู้บังคับหมวดกองร้อยอาวุธเบา กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ฯ
  • พ.ศ. 2524 ผู้บังคับกองร้อยอาวุธเบา กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ฯ
  • พ.ศ. 2529 ฝอ.3 กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ฯ
  • พ.ศ. 2532 ผู้บังคับการกรมนักเรียนโรงเรียนเตรียมทหาร
  • พ.ศ. 2534 หัวหน้าฝ่ายกิจการพลเรือน กองพลที่ 1 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2540 รองผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2545 ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2547 รองผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์
  • พ.ศ. 2549 เสนาธิการกองทัพภาคที่ 1
  • พ.ศ. 2550 ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 11
  • พ.ศ. 2551 ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 9
  • พ.ศ. 2552 รองแม่ทัพภาคที่ 1
  • พ.ศ. 2553 แม่ทัพภาคที่ 1
  • พ.ศ. 2555 เสนาธิการทหารบก
  • พ.ศ. 2556 รองผู้บัญชาการทหารบก
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - 30 กันยายน พ.ศ. 2558 ผู้บัญชาการทหารบกคนที่ 38
  • 22 ตุลาคม พ.ศ. 2558[7]ราชองครักษ์พิเศษ

งานการเมือง[แก้]

พลเอก อุดมเดช สีตบุตร ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา[8] และเป็นเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติอีกหน้าที่หนึ่ง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

  •  มาเลเซีย :
    • พ.ศ. 2558 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์เกปาละวานัน อังกะตัน เตนเตรา ชั้นที่ 1[15]
  •  สิงคโปร์:
    • พ.ศ. 2559 - เหรียญปิงกัต จาซา เกมิลัง (เท็นเทรา)[16]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล หน้า 2 เล่ม 129 ตอนที่ 29 ข ราชกิจจานุเบกษา 19 กันยายน 2555
  2. นายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์
  3. กรรมการในคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ
  4. บิ๊กตู่สละเก้าอี้ปธ.อาร์มี่ ส่งต่อตำแหน่งให้ผบ.ทบ. คนใหม่
  5. หัวหน้าศูนย์ติดตามสถานการณ์คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
  6. เผยโฉมร้านมาเลศ'ภรรยาอุดมเดช' โชว์รายได้9.5ล.พนง.ยันเพิ่งเปิด2ปี-อาหารจานละ80ขึ้น
  7. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชองครักษ์พิเศษ, เล่ม 132 ตอนพิเศษ 267 ง 27 ตุลาคม 2558 หน้า 1-2
  8. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 32 ราย)
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็นกรณีพิเศษ, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๒, ๗ ตุลาคม ๒๕๕๗
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๖, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๕๕ ง หน้า ๒๖๖๐, ๕ เมษายน ๒๕๓๓
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๒๖ ง หน้า ๖๓๒๒, ๒๓ ธันวาคม ๒๕๒๙
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๖๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๘, ๑๐ เมษายน ๒๕๓๔
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๒๔, ๒๙ มกราคม ๒๕๔๒
  15. Agong confers 194 Darjah Kepahlawanan ATM awards
  16. Ministry of Defence Singapore. Royal Thai Army Chief Receives Prestigious Military Award. เมื่อ 12 กรกฎาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2566


ก่อนหน้า อุดมเดช สีตบุตร ถัดไป
ชัยชาญ ช้างมงคล
รักษาการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม (ครม.63)
(1 กันยายน พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน)
ตำแหน่ง
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ผู้บัญชาการทหารบก
(1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - 30 กันยายน พ.ศ. 2558)
พลเอก ธีรชัย นาควานิช
พลโท คณิต สาพิทักษ์
แม่ทัพภาคที่ 1
(1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 - 30 กันยายน พ.ศ. 2555)
พลโท ไพบูลย์ คุ้มฉายา