อิสซาเบลลาแห่งบาวาเรีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อิสซาเบลลาแห่งบาวาเรีย

อิสซาเบลลาแห่งบาวาเรีย สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส
สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส
ประสูติราว ค.ศ. 1370
สิ้นพระชนม์24 กันยายน ค.ศ. 1435
ปารีส ประเทศฝรั่งเศส
จักรพรรดินีพระเจ้าชาร์ลที่ 6 แห่งฝรั่งเศส
อิสซาเบลลาแห่งบาวาเรีย สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส
พระบุตรอิสซาเบลลาแห่งวาลัวส์ สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ
โจนแห่งฝรั่งเศส
หลุยส์ มกุฎราชกุมารแห่งฝรั่งเศส
ฌอง มกุฎราชกุมารแห่งฝรั่งเศส
แคทเธอรินแห่งวาลัวส์ สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ
พระเจ้าชาร์ลที่ 7 แห่งฝรั่งเศส[1]
ราชวงศ์วาลัวส์
พระบิดาสตีเฟนที่ 3 ดยุคแห่งบาวาเรีย
พระมารดาทัดดิอา วิสคอนติ

อิสซาเบลลาแห่งบาวาเรีย สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส หรือ อิซาโบแห่งบาวาเรีย สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส (อังกฤษ: Isabeau of Bavaria หรือ Isabeau de Bavière หรือ Isabella of Bavaria-Ingolstadt) (ราว ค.ศ. 1370 - 24 กันยายน ค.ศ. 1435) อิสซาเบลลาแห่งบาวาเรียประสูติราว ค.ศ. 1370 ทรงเป็นบุตรีของสตีเฟนที่ 3 ดยุคแห่งบาวาเรีย และทัดดิอา (Taddea Visconti) ผู้มาจากตระกูลขุนนางวิสคอนติผู้ครองมิลาน อิสซาเบลลาแห่งบาวาเรียเป็นพระราชินีในพระเจ้าชาร์ลที่ 6 แห่งฝรั่งเศส หลังจากที่เสกสมรสเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1385 แล้วพระองค์ก็ทรงมีบทบาทสำคัญในทางการเมืองในปลายรัชสมัยอันมีวิกฤตการณ์ของพระสวามี อิสซาเบลลาแห่งบาวาเรียเป็นพระมารดาของพระเจ้าชาร์ลที่ 7 แห่งฝรั่งเศส และพระราชินีอังกฤษสองพระองค์ -- พระราชินีอิสซาเบลลาในพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษ และพระราชินีแคทเธอรินในพระเจ้าเฮนรีที่ 5 แห่งอังกฤษ


สายเลือดและการแต่งงาน[แก้]

อิซาบูแห่งบาวาเรียเสด็จพระราชสมภพในปี ค.ศ. 1370 ทรงเป็นบุตรสาวของสตีเฟนที่ 3 ดยุคแห่งบาวาเรียกับทัดเดอา วิสกอนตี ทรงถูกหมายตาให้เป็นเจ้าสาวของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 6 แห่งฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1385 พระองค์ถูกพาไปเจอกับพระเจ้าชาร์ลส์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1385 แม้บิดาของพระองค์จะไม่ยอมให้พระองค์เปลือยกายระหว่างการตรวจสอบร่างกายตามธรรมเนียมปฏิบัติ พระเจ้าชาร์ลส์ยินยอมแต่งงานกับพระองค์ ทั้งคู่แต่งงานกันในอีกสามวันต่อมา พระเจ้าชาร์ลส์มอบของขวัญมากมายให้พระองค์ในช่วงปีใหม่ปีแรกของทั้งคู่ ในตอนที่พระเจ้าชาร์ลส์เดินทางไปสู้รบกับชาวอังกฤษ ในตอนแรกอิซาบูอยู่ที่เครยล์กับบล็องช์ ดัชเชสแห่งออร์เลอ็อง ต่อมาทรงย้ายไปอยู่ที่ชาโตเดอแว็งซ็องส์


การราชาภิเษกและอาการป่วยของพระเจ้าชาร์ลส์[แก้]

ทรงได้รับการทำพิธีราชาภิเษกเป็นพระราชินีแห่งฝรั่งเศสในวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 1389 ที่นอเตรอดาม ซึ่งขณะนั้นทรงมีพระโอรสธิดาแล้วสองคน (สิ้นพระชนม์เร็วทั้งคู่) และกำลังตั้งครรภ์เจ็ดเดือน โดยพระโอรสธิดาในครรภ์คืออีซาแบลที่ต่อมากลายเป็นพระราชินีแห่งอังกฤษจากการเป็นพระมเหสีของพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 อิซาบูกับพระเจ้าชาร์ลส์มีพระโอรสธิดาด้วยกันทั้งสิ้น 12 คน หนึ่งในนั้นคืออนาคตพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส


จุลจิตรกรรมแสดงอาการช่วงแรกของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 6 ที่ทำร้ายอัศวินของพระองค์ในปี ค.ศ. 1392 จาพงศาวดารฟรัวส์ซาต์

ราวปี ค.ศ. 1392 พระสวามีของพระองค์เริ่มมีอาการเสียสติ ทรงเริ่มต้นด้วยการทำร้ายอัศวินในครัวเรือนของพระองค์และลงเอยด้วยการสังหารคนสี่คน หลังจากนั้นทรงอยู่ในอาการโคมาเป็นเวลา 4 วัน พระองค์กลับมาที่ราชสำนักโดยมีการจัดพิธีเฉลิมฉลองครั้งใหญ่ที่รู้จักกันในชื่อบัลเดส์อาร์ด็องต์ที่พระเจ้าชาร์ลส์เกือบเอาชีวิตไม่รอด นักเต้นสี่คนถูกเผาจนตายหลังเสื้อผ้าติดไฟจากคบเพลิง หลังเดือนมิถุนายนพระองค์มีอาการเสียสติยาวนานขึ้น อาการของพระองค์เลวร้ายลงตลอด 30 ปีต่อมาที่ทรงครองราชย์ พระองค์มักจำพระมเหสีไม่ได้และขอให้พระนางไปให้พ้นสายตาของพระองค์ ทำให้พระนางเสียใจมาก


พระของแซ็งต์เดอนีส์เขียนไว้ในพงศาวดารว่า

"สิ่งที่พระนางเสียใจที่สุดคือการได้เห็นว่ากษัตริย์รังเกียจพระนางเพียงใด ทรงกระซิบกับผู้อื่นว่า 'ผู้หญิงที่เกะกะสายตาข้าอยู่คนนี้คือใคร ดูซิว่านางต้องการอะไร แล้วทำให้นางเลิกรังควานและรบกวนข้าเสียที'"


พระองค์มักปกครองไม่ไหว ทำให้จำเป็นต้องมีผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน หลุยส์ ดยุคแห่งออร์เลอ็อง พระอนุชา และฌ็องผู้ไม่กลัวใคร ดยุคแห่งบูร์กอญ ลูกพี่ลูกน้องของทั้งคู่ ต่างต้องการเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ในช่วงเวลาสั้นๆ ที่สติดี พระเจ้าชาร์ลส์จัดการให้อิซาบูเป็น "ผู้พิทักษ์สูงสุดของโดแฟ็ง" จนกว่าโดแฟ็งจะมีพระชนมายุ 13 พรรษา พระองค์ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้พิทักษ์ร่วมของพระโอรสธิดาร่วมกับดยุคแห่งออร์เลอ็องและลุดวิจที่ 7 ดยุคแห่งบาวาเรีย พระเชษฐาของพระองค์เอง ทว่าอำนาจทั้งหมดในการสำเร็จราชการแผ่นดินอยู่ในมือของดยุคแห่งออร์เลอ็อง ข่าวลือเรื่องสัมพันธ์รักระหว่างอิซาบูกับดยุคแห่งออร์เลอ็องเริ่มแพร่กระจาย

การลอบสังหารดยุคแห่งออร์เลอ็องและเหตุการณ์หลังจากนั้น[แก้]

ค.ศ. 1407 สถานการณ์เลวร้ายลงเมื่อฌ็องผู้ไม่กลัวใครสั่งการให้ลอบสังหารดยุคแห่งออร์เลอ็อง พระองค์ถูกนักฆ่าที่จ้างมาแทงจนตาย ฌ็องผู้ไม่กลัวใครถูกเชื่อมโยงเข้ากับการลอบสังหารและถูกสั่งให้ออกไปจากปารีส อิซาบูเริ่มกังวลในความปลอดภัยของโดแฟ็งหลุยส์ พระโอรสของพระองค์ สนธิสัญญาสันติภาพชาร์ตร์ในปี ค.ศ. 1409 ทำให้ฌ็องผู้ไม่กลัวใครคืนดีกับดยุคแห่งออร์เลอ็องคนใหม่ต่อหน้าสาธารณชน อิซาบูมอบสิทธิ์ในการพิทักษ์โดแฟ็งให้แก่เขา ได้มีการจัดการแต่งงานแบบคลุมถุงชนเพื่อเอาใจชาวบูร์กอญสองคู่ คือ การแต่งงานระหว่างมิเชล พระธิดาของอิซาบู กับฟิลิปผู้ดีงาม บุตรชายของฌ็องผู้ไม่กลัวใคร และการแต่งงานระหว่างโดแฟ็งหลุยส์กับมาร์เกอรีต บุตรสาวของฌ็องผู้ไม่กลัวใคร


ปี ค.ศ. 1415 โดแฟ็งหลุยส์สิ้นพระชนม์อย่างกระทันหันด้วยวัย 18 พรรษา ฌ็องแห่งตูแรน พระโอรสคนรองของพระองค์กลายเป็นโดแฟ็งคนใหม่ ปี ค.ศ. 1406 ฌ็องแต่งงานกับยาโคบา เคานเตสแห่งแอโนต์ แต่ทั้งคู่ไม่มีบุตรด้วยกัน พระองค์สิ้นพระชนม์หลังเป็นโดแฟ็ง ทิ้งให้ยาโคบาเป็นม่ายตนอายุ 16 ปี โดแฟ็งคนต่อมาคือชาร์ลส์ พระโอรสคนที่ยังมีชีวิตอยู่คนสุดท้ายของอิซาบู อิซาบูถูกจองจำในทัวร์เป็นเวลาสั้นๆ แต่ก็หาทางเอาอิสรภาพกลับคืนมาได้ หลังเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแห่งฝรั่งเศสเพียงผู้เดียวในระยะสั้นๆ พระองค์ยกตำแหน่งให้ฌ็องผู้ไม่กลัวใครในปี ค.ศ. 1418 ทั้งคู่ร่วมกันล้มเลิกสภานิติบัญญัติและยึดอำนาจนครปารีส เป็นเหตุให้โดแฟ็งคนใหม่หนีไปจากเมือง สุดท้ายฌ็องผู้ไม่กลัวใครถูกโดแฟ็งลอบสังหาร พระเจ้าชาร์ลส์ตอบโต้ด้วยการตัดพระโอรสออกจากกองมรดก

สนธิสัญญาทรัวส์และบั้นปลายชีวิต[แก้]


จุลจิตรกรรมแสดงภาพขบวนแห่งพระศพของอิซาบูในแม่น้ำแซน จากพงศาวดารของมาร์เซียล โดแวญ

ปี ค.ศ. 1419 หลายพื้นที่ของนอร์ม็องดีถูกพระเจ้าเฮนรีที่ 5 แห่งอังกฤษยึด ทรงเรียกร้องให้ชาวเมืองถวายคำสัตย์ว่าจะจงรักภักดี เมื่อไม่มีทายาทในบัลลังก์อย่างเป็นทางการ อิซาบูจึงไม่มีทางเลือกอื่นจำต้องยอมลงนามในสนธิสัญญาทรัวส์ ค.ศ. 1420 ที่ระบุให้พระเจ้าชาร์ลส์เป็นกษัตริย์แห่งฝรั่งเศสต่อไป แต่ผู้สืบทอดตำแหน่งของพระองค์คือพระเจ้าเฮนรีที่ 5 ที่แต่งงานกับแคทเธอรีน พระธิดาของพระเจ้าชาร์ลส์ อิซาบูเป็นม่ายในปี ค.ศ. 1422 แต่พระเจ้าเฮนรีที่ 5 สิ้นพระชนม์ไวในปีเดียวกัน กษัตริย์คนใหม่ของฝรั่งเศสตามสนธิสัญญาทรัวส์จึงเป็นพระเจ้าเฮนรีที่ 6 พระโอรสวัยทารกของแคทเธอรีน


อิซาบูอาศัยอยู่ในปารีสที่อยู่ภายใต้การควบคุมของชาวอังกฤษ ทรงเกษียณตัวพร้อมกับแคทเธอรีนแห่งอาล็องซง ภรรยาคนที่สองของพี่ชาย ทรงสิ้นพระชนม์ในอูเตลแซ็งต์ปอลในปี ค.ศ. 1435 ชื่อเสียงของพระองค์แย่มาก แต่ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 พระองค์พ้นความผิดในหลายข้อกล่าวหา

อ้างอิง[แก้]

  1. Bonjourlafrance.net: France History - French History of the Valois Dynasty 1328-1589[1]

ดูเพิ่ม[แก้]