อำเภอเมืองสมุทรปราการ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอเมืองสมุทรปราการ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Mueang Samut Prakan
ตลาดสดปากน้ำ
ตลาดสดปากน้ำ
แผนที่จังหวัดสมุทรปราการ เน้นอำเภอเมืองสมุทรปราการ
แผนที่จังหวัดสมุทรปราการ เน้นอำเภอเมืองสมุทรปราการ
พิกัด: 13°36′2″N 100°35′48″E / 13.60056°N 100.59667°E / 13.60056; 100.59667
ประเทศ ไทย
จังหวัดสมุทรปราการ
พื้นที่
 • ทั้งหมด190.557 ตร.กม. (73.574 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด541,170 คน
 • ความหนาแน่น2,839.94 คน/ตร.กม. (7,355.4 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 10270, 10280 (เฉพาะตำบลท้ายบ้าน ท้ายบ้านใหม่ บางปู บางปูใหม่ แพรกษา แพรกษาใหม่ และบางส่วนของปากน้ำ)
รหัสภูมิศาสตร์1101
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเมืองสมุทรปราการ ถนนสุทธิภิรมย์ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ 10270
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เมืองสมุทรปราการ เป็นอำเภอศูนย์กลางการปกครองของจังหวัดสมุทรปราการ ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาตรงข้ามกับอำเภอพระสมุทรเจดีย์ นอกจากเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดแล้ว อำเภอเมืองสมุทรปราการยังเป็นที่ตั้งของศาลเด็กและเยาวชน ห้องสมุดประชาชน และท่ารถโดยสารประจำทางสายต่าง ๆ รวมทั้งเป็นบริเวณที่จัดงานพระสมุทรเจดีย์ของทุกปี อำเภอนี้เป็นอำเภอที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศไทย

ประวัติศาสตร์[แก้]

  • ก่อนปี พ.ศ. 2470 ตั้งอำเภอเมืองสมุทรปราการ
  • วันที่ 21 สิงหาคม 2470 โอนพื้นที่ตำบลบางนา ตำบลสำโรงเหนือ ตำบลสำโรงใต้ ตำบลบางหญ้าแพรก ตำบลบางหัวเสือ ของอำเภอพระประแดง มาขึ้นกับอำเภอสมุทรปราการ[1]
  • วันที่ 11 ธันวาคม 2478 จัดตั้งเทศบาลเมืองสมุทรปราการ[2]
  • วันที่ 1 มกราคม 2486 จังหวัดสมุทรปราการ ได้ยุบลงเนื่องจากขณะนั้นในช่วง สงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อำเภอเมืองสมุทรปราการจึงย้ายไปขึ้นกับจังหวัดพระนคร และ เปลี่ยนชื่ออำเภอเป็น อำเภอสมุทรปราการ[3]
  • วันที่ 10 พฤษภาคม 2489 ตั้งจังหวัดสมุทรปราการ ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง[4]
  • วันที่ 25 กันยายน 2489 อำเภอสมุทรปราการเปลี่ยนชื่อกลับมาเป็น อำเภอเมืองสมุทรปราการ[5]
  • วันที่ 20 กันยายน 2505 ตั้งตำบลบางปูใหม่ แยกออกจากตำบลบางปู[6]
  • วันที่ 2 พฤศจิกายน 2505 เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองสมุทรปราการ[7]
  • วันที่ 28 มกราคม 2506 จัดตั้งสุขาภิบาลสำโรงเหนือในท้องที่บางส่วนของตำบลสำโรงเหนือ และ บางส่วนของตำบลบางเมือง[8]
  • วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2506 โอนพื้นที่หมู่ 1-5 (บางส่วน) ของตำบลบางเมือง หมู่ 4-5 (บางส่วน) และ หมู่ 7 (บางส่วน) ของตำบลบางด้วน หมู่ 1-3 (บางส่วน) หมู่ 4 (ทั้งหมู่) หมู่ 6 (บางส่วน) และ หมู่ 7 (ทั้งหมู่) ของตำบลท้ายบ้าน ให้ไปรวมกับตำบลปากน้ำ เนื่องจากได้ขยายอาณาเขตเทศบาลเมืองสมุทรปราการ[9]
  • วันที่ 2 สิงหาคม 2508 จัดตั้งสุขาภิบาลบางปูในท้องที่ตำบลบางปู ตำบลบางปูใหม่ และตำบลท้ายบ้าน[10]
  • วันที่ 15 กรกฎาคม 2522 ตั้งตำบลบ้านคลองสวน แยกออกจากตำบลนาเกลือ[11]
  • วันที่ 15 ธันวาคม 2527 แยกพื้นที่ตำบลปากคลองบางปลากด ตำบลในคลองบางปลากด ตำบลแหลมฟ้าผ่า ตำบลนาเกลือ และตำบลบ้านคลองสวน ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอพระสมุทรเจดีย์ ขึ้นกับอำเภอเมืองสมุทรปราการ[12]
  • วันที่ 1 สิงหาคม 2529 ตั้งตำบลบางเมืองใหม่ แยกออกจากตำบลบางเมือง[13]
  • วันที่ 1 กรกฎาคม 2533 ตั้งตำบลเทพารักษ์ แยกออกจากตำบลสำโรงเหนือ[14]
  • วันที่ 19 กรกฎาคม 2534 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอพระสมุทรเจดีย์ อำเภอเมืองสมุทรปราการ เป็น อำเภอพระสมุทรเจดีย์[15]
  • วันที่ 12 กรกฎาคม 2536 จัดตั้งสุขาภิบาลแพรกษาในท้องที่บางส่วนของตำบลแพรกษา[16]
  • วันที่ 18 กรกฎาคม 2537 จัดตั้งสุขาภิบาลด่านสำโรงในท้องที่บางส่วนของตำบลสำโรงเหนือ[17] และจัดตั้งสุขาภิบาลบางเมือง ในท้องที่บางส่วนของตำบลบางเมือง และตำบลสำโรงเหนือ[18]
  • วันที่ 1 สิงหาคม 2538 ตั้งตำบลท้ายบ้านใหม่ แยกออกจากตำบลท้ายบ้าน[19]
  • วันที่ 21 สิงหาคม 2538 ตั้งตำบลแพรกษาใหม่ แยกออกจากตำบลแพรกษา[20]
  • วันที่ 7 กันยายน 2538 จัดตั้งสุขาภิบาลสำโรงเหนือเป็นเทศบาลตำบลสำโรงเหนือ[21]
  • วันที่ 24 มีนาคม 2542 ยกฐานะเทศบาลเมืองสมุทรปราการเป็นเทศบาลนครสมุทรปราการ[22]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 จัดตั้งสุขาภิบาลบางเมือง สุขาภิบาลด่านสำโรง สุขาภิบาลบางปู และสุขาภิบาลแพรกษา เป็นเทศบาลตำบลบางเมือง เทศบาลตำบลด่านสำโรง เทศบาลตำบลบางปู และเทศบาลตำบลแพรกษาตามลำดับ

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอเมืองสมุทรปราการแบ่งเขตปกครองย่อยออกเป็น 13 ตำบล 95 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[23]
1. ปากน้ำ Pak Nam
47,962
2. สำโรงเหนือ Samrong Nuea
10
71,109
3. บางเมือง Bang Mueang
10
73,195
4. ท้ายบ้าน Thai Ban
7
24,161
5. บางปูใหม่ Bang Pu Mai
10
40,651
6. แพรกษา Phraekkasa
7
62,605
7. บางโปรง Bang Prong
4
10,271
8. บางปู Bang Pu
4
6,695
9. บางด้วน Bang Duan
8
7,702
10. บางเมืองใหม่ Bang Mueang Mai
11
49,138
11. เทพารักษ์ Thepharak
9
48,452
12. ท้ายบ้านใหม่ Thai Ban Mai
8
47,408
13. แพรกษาใหม่ Phraekkasa Mai
7
51,493

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

อำเภอเมืองสมุทรปราการประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 12 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลนครสมุทรปราการ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากน้ำทั้งตำบล
  • เทศบาลเมืองปากน้ำสมุทรปราการ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางเมือง เฉพาะหมู่ที่ 4, 6, 8–10 (เขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางเมืองเดิม)
  • เทศบาลเมืองแพรกษาใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแพรกษาใหม่ เฉพาะหมู่ที่ 1–4, 6–7 และบางส่วนของหมู่ที่ 5 (เขตองค์การบริหารส่วนตำบลแพรกษาใหม่เดิม)
  • เทศบาลเมืองแพรกษา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแพรกษา เฉพาะหมู่ที่ 1, 5 และบางส่วนของหมู่ที่ 2, 4, 6, 7 (เขตองค์การบริหารส่วนตำบลแพรกษาเดิม)
  • เทศบาลตำบลสำโรงเหนือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสำโรงเหนือ เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1, 2, 6–9; ตำบลบางเมืองใหม่ เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1 และตำบลเทพารักษ์ เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 4, 9 (นอกเขตเทศบาลตำบลบางเมืองและเขตเทศบาลตำบลเทพารักษ์)
  • เทศบาลตำบลด่านสำโรง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสำโรงเหนือ เฉพาะหมู่ที่ 3–5, 10 และบางส่วนของหมู่ที่ 1, 2, 6–9
  • เทศบาลตำบลบางเมือง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางเมือง เฉพาะหมู่ที่ 1–3, 5, 7; ตำบลบางเมืองใหม่ เฉพาะหมู่ที่ 2–11 และบางส่วนของหมู่ที่ 1 และตำบลเทพารักษ์ เฉพาะหมู่ที่ 3, 5, 7 และบางส่วนของหมู่ที่ 4 (นอกเขตเทศบาลตำบลเทพารักษ์)
  • เทศบาลตำบลแพรกษา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแพรกษา เฉพาะหมู่ที่ 3 และบางส่วนของหมู่ที่ 2, 4, 6, 7 และตำบลแพรกษาใหม่ เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 5 (นอกเขตเทศบาลเมืองแพรกษาใหม่)
  • เทศบาลตำบลบางปู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท้ายบ้าน ตำบลบางปูใหม่ ตำบลบางปู และตำบลท้ายบ้านใหม่ทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลเทพารักษ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเทพารักษ์ เฉพาะหมู่ที่ 1, 2, 6, 8 และบางส่วนของหมู่ที่ 9 (เขตองค์การบริหารส่วนตำบลเทพารักษ์เดิม)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางโปรง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางโปรงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางด้วน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางด้วนทั้งตำบล

การศึกษา[แก้]

ในอำเภอเมืองสมุทรปราการมีห้องสมุดประชาชนตั้งอยู่บริเวณตรงข้ามกับศาลากลางจังหวัด และพิพิธภัณฑ์สวาง พิพิธภัณฑ์นายเรือ มีโรงเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาลศึกษา จนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย

โรงเรียนในอำเภอ[แก้]

อาชีวะศึกษาในอำเภอ[แก้]

การคมนาคม[แก้]

อำเภอเมืองสมุทรปราการมีถนนสายหลัก ได้แก่

ถนนสายรอง ได้แก่

รถไฟฟ้า

การคมนาคมทางน้ำ ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา มีท่าเรือวิบูลย์ศรีบริการเรือข้ามฟากไปยังอำเภอพระสมุทรเจดีย์ ส่วนคลองที่สำคัญ ได้แก่ คลองสำโรง คลองบางปิ้ง คลองแพรกษา คลองขุด (เลียบถนนตำหรุ-บางพลี) และคลองชลประทาน (เลียบถนนสุขุมวิท)

อ้างอิง[แก้]

  1. [1]พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง แก้ไขเขตจังหวัดพระนคร ธนบุรี พระประแดง สมุทรปราการ และมีนบุรีในมณฑลกรุงเทพ ฯ กับธัญบุรี ในมณฑลอยุธยา
  2. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ พุทธศักราช 2478" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 52 (0 ก): 1735–1739. 10 ธันวาคม 2478.
  3. "พระราชกริสดีกาเปลี่ยนชื่ออำเพอบางแห่ง พุทธสักราช 2486" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 60 (3 ก): 103–105. 12 มกราคม 2486.
  4. "พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 63 (29 ก): 315–317. 9 พฤษภาคม 2489. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2010-05-15.
  5. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่ออำเภอบางแห่ง พ.ศ. 2489" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 63 (63 ก): 486–488. 24 กันยายน 2489. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2010-05-15.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ และอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (90 ง): 2080–2084. 2 ตุลาคม 2505.
  7. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2505" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (พิเศษ 98 ก): 44–47. 1 พฤศจิกายน 2505.
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (15 ง): 326–327. 12 กุมภาพันธ์ 2506.
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (20 ง): 497–498. 26 กุมภาพันธ์ 2506.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบางปู อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 82 (66 ง): 2116–2119. 17 สิงหาคม 2508.
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (128 ง): 2752–2754. 31 กรกฎาคม 2522.
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอพระสมุทรเจดีย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 102 (1 ง): 31. 1 มกราคม 2528. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2010-05-15.
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (218 ง): 6154–6161. 11 ธันวาคม 2529.
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ และอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (พิเศษ 174 ง): 17–24. 16 กันยายน 2533.
  15. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอทุ่งตะโก อำเภอพะโต๊ะ อำเภอเขาค้อ อำเภอน้ำหนาว อำเภอวังจันทร์ อำเภอนาด้วง อำเภอเต่างอย อำเภอสิงหนคร อำเภอพระสมุทรเจดีย์ และอำเภอลำดวน พ.ศ. 2534" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (107 ง): 29–32. 19 มิถุนายน 2534. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2010-05-17.
  16. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลแพรกษา อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (พิเศษ 116 ง): 33–24. 23 สิงหาคม 2536.
  17. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลด่านสำโรง อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (82 ง): 41–42. 13 ตุลาคม 2537.
  18. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบางเมือง อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (82 ง): 43–44. 13 ตุลาคม 2537.
  19. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบล ในท้องที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (พิเศษ 173 ง): 87–91. 12 กันยายน 2538.
  20. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบล ในท้องที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (90 ง): 27–32. 9 พฤศจิกายน 2538.
  21. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2538" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (32 ก): 10–13. 8 สิงหาคม 2538. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-12. สืบค้นเมื่อ 2010-05-16.
  22. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลนครสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2542" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (19 ก): 1–5. 23 มีนาคม 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-10. สืบค้นเมื่อ 2010-05-16.
  23. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]