อำเภอเทพา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอเทพา
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Thepha
คำขวัญ: 
พระสามองค์คู่บ้าน ตระหง่านเกาะขาม หาดงามทรายขาว ข้าวแกงไก่ทอด รีสอร์ตเรียงราย
แผนที่จังหวัดสงขลา เน้นอำเภอเทพา
แผนที่จังหวัดสงขลา เน้นอำเภอเทพา
พิกัด: 6°49′42″N 100°57′54″E / 6.82833°N 100.96500°E / 6.82833; 100.96500
ประเทศ ไทย
จังหวัดสงขลา
พื้นที่
 • ทั้งหมด978 ตร.กม. (378 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด78,782 คน
 • ความหนาแน่น80.55 คน/ตร.กม. (208.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 90150
รหัสภูมิศาสตร์9005
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเทพา ถนนเกษตรขันธ์ ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา 90150
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทพา เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสงขลา และเป็นหนึ่งในสี่อำเภอจังหวัดสงขลาที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มพื้นที่ที่ยังมีเหตุการณ์ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย

ประวัติ[แก้]

ความเป็นมา ในสมัยโบราณ อำเภอเทพา มีฐานะเป็นเมืองเทพา จัดอยู่ในระดับ “เมืองจัตวา” และมีเมืองจะนะต่างเป็นเมืองจัตวา ขึ้นตรงต่อเมืองพัทลุง ทุกๆ ปี เจ้าเมืองจะต้องนำต้นไม้เงินต้นไม้ทองไปถวายเจ้าเมืองพัทลุงเป็นประจำ

ปี พ.ศ. 2339 ในรัชสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แห่งราชวงศ์จักรี ได้ทรงโปรดให้ยกเมืองเทพาและเมืองจะนะ ขึ้นกับเมืองสงขลา ซึ่งเป็นเมืองตรี

ปี พ.ศ. 2444 สมัยรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ปรับปรุงบ้านเมือง การปกครองหัวเมืองต่าง ๆ และได้ทรงจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น โดยแยกเมืองเทพาและเมืองจะนะออกจากเมืองสงขลา ตั้งขึ้นเป็นอำเภอเรียกว่า “อำเภอเทพา” (ไม่รวมอำเภอจะนะ) ขึ้นกับจังหวัดสงขลา โดยตั้งที่ว่าการอำเภอที่บ้านพระพุทธ ซึ่งเป็นปากแม่น้ำเทพา ไหลออกสู่ทะเลหลวงด้านตะวันออก(อ่าวไทย) เนื่องจากการคมนาคมทางบกยังไม่สะดวก ต้องอาศัยทางเรือเป็นส่วนใหญ่ จึงได้ยึดบ้านพระพุทธ หมู่ที่ 2 บ้านพระพุทธ ตำบลเทพา ปัจจุบันเป็นที่ตั้งอำเภอในสมัยนั้น

ปี พ.ศ. 2475 บ้านเมืองเจริญขึ้น การคมนาคมสะดวก มีรถไฟผ่านท้องที่อำเภอเทพา ทางราชการได้ย้ายที่ว่าการอำเภอเทพาจากบ้านพระพุทธ หมู่ที่ 2 ตำบลเทพา มาตั้งที่บ้านท่าพรุ หมู่ที่ 1 ตำบลเทพา ซึ่งใกล้กับสถานีรถไฟ “ท่าม่วง“ ต่อมาการรถไฟแห่งประเทศไทยได้เปลี่ยนชื่อสถานี ”ท่าม่วง” เป็น ”สถานีรถไฟเทพา” ให้ตรงกับคำว่า “อำเภอเทพา” ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเทพา ประมาณ 1 กิโลเมตร

ที่ว่าการอำเภอเทพา เดิมตัวอาคารก่อสร้างไม้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 กรมการปกครองได้อนุมัติเงินงบประมาณทำการก่อสร้างเป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้สองชั้น ตามแบบแปลนของกรมโยธาธิการ ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2516 และ ปี พ.ศ. 2548 กรมการปกครองได้อนุมัติเงินงบประมาณ เป็นเงิน 8,029,718.- บาท ทำการก่อสร้าง ตามแบบแปลนมาตรฐานกรมโยธาธิการ เลขที่ ม.18155[1]

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอเทพาตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอเทพาแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 7 ตำบล 67 หมู่บ้าน

1. เทพา (Thepha) 8 หมู่บ้าน
2. ปากบาง (Pak Bang) 8 หมู่บ้าน
3. เกาะสะบ้า (Ko Saba) 8 หมู่บ้าน
4. ลำไพล (Lam Phlai) 13 หมู่บ้าน
5. ท่าม่วง (Tha Muang) 14 หมู่บ้าน
6. วังใหญ่ (Wang Yai) 8 หมู่บ้าน
7. สะกอม (Sakom) 8 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอเทพาประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลเทพา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางส่วนของตำบลเทพา
  • เทศบาลตำบลลำไพล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลำไพลทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเทพา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเทพา (นอกเขตเทศบาลตำบลเทพา)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปากบาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากบางทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะบ้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะสะบ้าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าม่วง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าม่วงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวังใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังใหญ่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสะกอม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสะกอมทั้งตำบล

สถาบันอุดมศึกษา[แก้]

อำเภอเทพา มีสถาบันอุดมศึกษาตั้งอยู่ จำนวน 1 แห่ง คือ วิทยาลัยชุมชนสงขลา

เหตุการณ์สำคัญ[แก้]

เฮลิคอปเตอร์กองทัพบก เครื่องขัดข้องลงจอดฉุกเฉินบริเวณลำคลองบ้านบ่อน้ำส้ม หมู่ 4 ตำบลเทพา มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 10 ราย[2]

วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2566 นาย อดุลย์ คาน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าม่วงถูกฆาตกรรม[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-16. สืบค้นเมื่อ 2014-02-12.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2013-10-09.
  3. เร่งล่ามือยิง "นายกมิง" สงขลา ตำรวจตั้ง 3 ปมสังหาร